นักวิจัยคณะวิทย์ มช. นำทีมศึกษาลักษณะเฉพาะทางเคมีและทางกลของชิ้นโมเสกกระจกเกรียบทางเลือก สำหรับการบูรณะงานโมเสกในศตวรรษที่ 18 ถึง 19 (ประเทศไทย)
นักวิจัยคณะวิทย์ มช. นำทีมศึกษาลักษณะเฉพาะทางเคมีและทางกลของชิ้นโมเสกกระจกเกรียบทางเลือก สำหรับการบูรณะงานโมเสกในศตวรรษที่ 18 ถึง 19 (ประเทศไทย)

      ทีมนักวิจัย นำโดย รศ.ดร.กมลพรรณ เพ็งพัด ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับนักวิจัยจากหลากหลายสถาบัน และช่างผู้ผลิตชิ้นโมเสกกระจกเกรียบทางเลือก ได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ "Chemical and Mechanical Characterization of the Alternative Kriab-Mirror Tesserae for Restoration of 18th to 19th-Century Mosaics (Thailand)" เพื่อหาลักษณะเฉพาะทางเคมีและเชิงกลของชิ้นโมเสกกระจกเกรียบทางเลือกสำหรับการบูรณะงานโมเสกของศตวรรษที่ 18 ถึง 19 (ประเทศไทย)
 
โดยในกระบวนการวิจัย นักวิจัยได้ทำการหาลักษณะเฉพาะทางเคมีและทางกลของกระจกเกรียบโบราณตัวอย่าง ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากกลุ่มงานช่างปิดทองประดับกระจกและช่างสนะไทย กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร โดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ เพื่อศึกษาเฟสของโลหะที่ใช้เคลือบกและเทคนิคจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอน เพื่อหาองค์ประกอบทางเคมีของโลหะที่ใช้เคลือบ และองค์ประกอบทางเคมีของแก้วบางที่ใช้ทำกระจกโบราณ รวมถึงการศึกษาโครงสร้างจุลภาคบริเวณรอยต่อระหว่างโลหะและแก้วบาง
 
สำหรับกระบวนการผลิตกระจกเกรียบทางเลือกนั้น นักวิจัยได้เริ่มจากการผลิตแก้วบางด้วยวิธีดัดแปรมาจากการหล่อเทปและเคลือบโลหะตอนร้อน เพื่อทำเงา ณ โรงงานผลิตกระจกเกรียบรชต ชาญเชี่ยว จากนั้นทำการทดสอบความต้านทานแรงเฉือนของการยึดติดกันระหว่างแก้วและโลหะของกระจกเกรียบทางเลือกที่ผลิตได้ด้วยวิธีการทดสอบแบบเฉือนเดี่ยวดัดแปรจากมาตรฐาน ASTM D1002-99 พร้อมทั้งวัดค่าสี L* a* และ b* ตามมาตรฐาน CIE-Lab และร้อยละการสะท้อนของกระจกเกรียบโบราณและกระจกเกรียบทางเลือกด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ Konica Minolta CM-3500D โดยใช้แสงกลางวัน CIE-D55 และแผ่นปรับเทียบสีขาวมาตรฐาน CR-A43 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการวัดค่าสี ส่วนตัวมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงสำหรับการวัดค่าร้อยละการสะท้อนแสงนั้น จะใช้กระจกเงินทางการค้า และความต้านทานต่อสภาพอากาศจะวิเคราะห์ผ่านเครื่อง QUV โดยการจำลองสภาวะอากาศให้วัสดุเสื่อมสภาพลง
 
ผลการศึกษา ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะทั้งของกระจกเกรียบแบบโบราณและแบบทางเลือก โดยสามารถทราบถึงสูตรของแก้วบางและโลหะที่ประกอบเป็นชิ้นโมเสกกระจกเกรียบโบราณ ที่พบในประเทศไทยตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ... อ่านบทความฉบับเต็ม พร้อมภาพประกอบได้ที่ >> https://cmu.ac.th/th


วันที่ : 27 ต.ค. 2023