1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ความหลากหลายทางชีวภาพในภาคเหนือของประเทศไทย

Biodiversity in Northern Thailand

ภาควิชา : ชีววิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

( 1 ) นายนิรทธิ์ ลีตะสุวรรณ

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

( 2 ) นายปริทรรศน์ ไตรสนธิ

( 3 ) นางสาวจิระประภา รังสิยานนท์

( 4 ) นางชูศรี ไตรสนธิ

( 5 ) นางสาวปริศนา จริยวิทยาวัฒน์

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพกำลังเป็นที่สนใจอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ต้องมีการค้นหาวัตถุดิบใหม่ ๆ จากสิ่งมีชีวิตและจากธรรมชาติมาใช้ในอุตสาหกรรม ในอีกทางหนึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งจะว่าเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีทั้งพืชและสัตว์นานาชนิดจำนวนมาก การสำรวจและการศึกษาความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ” ของประเทศไทย จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการวิจัยในด้านต่าง ๆทั้งเพื่อการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์หรือเพื่อการอนุรักษ์ ตลอดจนเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสมดุลของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม คณะผู้วิจัยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้และกำลังดำเนินการวิจัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จึงมีความสนใจที่จะทำการวิจัยให้ครอบคุมทั้งพืชและสัตว์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นความหลากหลายทางชีวภาพของภาคเหนือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อศึกษาและรวบรวมจำนวนชนิดของสัตว์และพืชที่มีอยู่ในระบบนิเวศแบบต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

5. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1.อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างพืชและสัตว์

2.กล้องถ่ายรูปพร้อมเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล

3.เครื่องบันทึกเสียง

4.กล้องจุลทรรศน์

5.กล้องจุลทรรศน์สามมิติ

6.กล้องวิดีทรรศน์

6. งานวิจัยที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา

1. Joomwong, A. and N. Sitasuwan. 1990. Responsiveness to size and colour of food fo grey-headed parakeet (Psittacula finschii) Poster in 16th STT Conference.Bangkok. Thailand.

2. Kanbunjong, S. and N. Sitasuwan.1993. Social behavior of goral (Naemohaedus goral) in captivity. 14th Sem. On Thai Wildlife,Bangkok Thailand. Poster in 18th STT Conference.Bangkok. Thailand.

3. Kittiobhakorn, S. and N. Sitasuwan.1992. Learning ability test of the large billed crow (Corvus macrorhynchos). Poster in 18th STT Conference.Bangkok. Thailand.

4. Sitasuwan, N.1991. Ethological Research in the Zoo : Cooperation between Chiang Mai Zoo and the Department of Biology, Chiang Mai University, 4th Conference of SEA. ZOO, Chiang Mai, Thailand

5. Sitasuwan, N., K. Khounha, C.Promtoa and S. Sitthipiboon. 1991.Comparison of social behaviours among Deers, genus Cervus, in Captivity, J.of Wildlife in Thailand vol 1 No. 1 : 21-26

6. Sitisuwan, N.,K.Teesungnern, C. Srirat, W.Kobfan, J. Rungsiyanon. C.Trisonthi, P.Trisonthi and K. Sanwong,1993, Effect of captive condition on behavior of elephant. 14th Sem. On Thai Wildlife, Bangkok. Thailand.

7. Sreesarakham, K, and Sitasuwan.1994. Vocal Communication and Responsiveness to Sound Models of Different Frequencies of the Macaca spp. 15th Sem. On Thai Wildlife, Bangkok, Thailand.

8. Trisonthi, C.and K. Rerkasem.1994. Biodiversity in Swidden Areas of Northern Thailand. SAUN and Program on Enviornment East-West Center Workshop. Kunming and Xishuangbanna China.

9. Sitasuwan, N. (1996) Nature Conservation in Thailand. 3rd International Conferencs on Environment Pollution, 15-19 April 1996. Budapest, Hungary.

10. จิรพันธ์ ศรีรัตน์ และนริทธิ์ ลีตะสุวรรณ (2538) ระดับโมติเวชันของความก้าวร้าวและความขัดแย้งของช้าง. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 21,ชลบุรี

11. ชูศรี ไตรสนธิ , ปริทรรศน์ ไตรสนธิ, อิ่นคำ คำสายใย และปิยวรรณ วินิจชัยนันท์ (2538) พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่, การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 , ชลบุรี

12. พัฒนา ธนากร และนริทธิ์ ลีตะสุวรรณ (2538) การสื่อสารด้วยเสียงของนกวงศ์นกเอี้ยง. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21.ชลบุรี

13. วราภรณ์ กอบฝั้น และนริทธิ์ ลีตะสุวรรณ (2538) พฤติกรรมเปรียบเทียบระหว่างควาญช้างกะเหรี่ยงและควาญช้างไทย. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21, ชลบุรี

14. สุรกานต์ พยัคฆบุตร และนริทธิ์ ลีตะสุวรรณ (2539) การสื่อสารด้วยเสียงของนกวงศ์นกปรอดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22. กรุงเทพ ฯ

15. ขวัญจิต ทองเพ็ชร และนริทธิ์ ลีตะสุวรรณ (2539) พฤติกรรมของนกเป็ดแดง Dendrocygna javanica. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22, กรุงเทพฯ

16. กรรณิการ์ ศรีสารคาม และนริทธิ์ ลีตะสุวรรณ (1995) การสื่อสารด้วยเสียงและการตอบสนองต่อโมเดลเสียงที่ระดับความถี่ต่างกับของลิงสกุล Macaca. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 4 (1) หน้า 19-25.

17. ประทุม ยอดคำปัน และนริทธิ์ ลีตะสุวรรณ (1996) พฤติกรรมนกกระจอกบ้าน. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 5 (ระหว่างการพิมพ์)

/ / การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย