1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

หอพรรณไม้และฐานข้อมูลของพืชพรรณ

(Herbarium and Flora Database

ภาควิชา: ชีววิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

1. รศ. ดร. วิไลวรรณ อนุสารสุนทร

2. Mr. J.F. Maxwell

3. Dr. Stephen Elliott

4. นางปราณี ปาลี

5. นายเกริก ผักกาด

3. หลักการและเหตุผล

ภาควิชาชีววิทยา นอกจากจะให้บริการทางด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นแหล่งศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนบนอีกด้วย ปัจจุบันนี้ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้และงานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งพรรณพืช (flora) ของบริเวณต่าง ๆ มากพอที่จะให้บริการและเผยแพร่ความรู้ไปยังนักวิชาการและชุมชนที่สนใจที่จะค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมในแนวประยุกต์ได้ สมาชิกที่ทำงานเกี่ยวข้องกับห้องพิพิธภัณฑ์ได้ให้บริการของพิพิธภัณฑ์พืชแก่บุคคลภายนอกที่เข้ามาขอใช้บริการในการให้คำปรึกษา ตลอดจนช่วยบ่งชนิด (identify) พรรณพืชอยู่เสมอมา และจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้บริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้มาขอใช้บริการได้แก่ อาจารย์จากคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของกรมป่าไม้ นักวิจัยจากต่างประเทศ ตลอดจนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สมาชิกผู้ร่วมงานมีความเห็นว่าสมควรจะจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อให้มีการเก็บตัวอย่างพืชเพิ่มขึ้น มีการวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างเหล่านี้ เพื่อจะได้เป็นแหล่งวิชาการทางด้านพรรณพืชของคณะต่อไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. เพื่อทำการวิเคราะห์พรรณไม้ตามวิธีทางพฤกษอนุกรมวิธาน

2. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาพรรณไม้แห้ง

3. เพื่อให้บริการแก่ชุมชนเกี่ยวกับแหล่งพืชพรรณ และในการบ่งชนิดขอพรรณไม้

4. เพื่อให้บริการในการเก็บตัวอย่างพรรณไม้ ซึ่งจะใช้ในการวิจัยขั้นประยุกต์แก่หน่วยงานอื่น ๆ ที่ได้ขอมา

5. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่

- ได้รับการสนับสนุนเงินวิจัยประจำปีงบประมาณ 2539 จากคณะวิทยาศาสตร์ โครงการสำรวจการกระจายและวิเคราะห์ความหลากหลายของพันธุ์พืช ณ. อุทยานแจ้ช้อน

- ได้รับการสนับสนุนเงินวิจัยจาก โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) เรื่อง สำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้มีท่อและการกระจายของพรรณไม้ทางภูมิศาสตร์ ณ. อุทยานแห่งชาติดอยหลวง จ.เชียงราย

6. อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว

6.1 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง

6.2 เครื่องมือใช้ในการอัดแห้งของพืช

6.3 ตู้อบพืชขนาดใหญ่

6.4 ตำราพรรณไม้ต่าง ๆ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรูปวิธานในการบ่งชนิดของพืช

6.5 สารเคมีที่จะรักษาสภาพตัวอย่างพืชแห้ง

6.6 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน (ประจำปีการศึกษา 2539)

7.1 งานเกี่ยวกับพรรณไม้

7.1.1 การเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ปี 2539 เก็บตัวอย่างจำนวน 2,000 ตัวอย่าง

7.1.2 การให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยที่มาสอบถามเกี่ยวกับพรรณไม้ 26 ครั้ง

7.2 ผลงานตีพิมพ์

Elliott, S., V. Anusarnsunthorn, N. Garwood and D. Blakesley, 1995. Research need for restoring the forest of Thailand. Nat Hist. Bull. Siam Soc. 43:179-184.

Elliott, S. and J.F. Maxwell. Doi Suthep-Pui National Park, Thailand. Centres of Plants Diversity, Vol 2. S.D. Davis, V.H. Heywood and A.C. Hamilton eds. WWF/IUCN, WCU; 210-214.

Maxwell, J.F. 1994. Botanical Notes on the Flora of Northern Thailand, 4 Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 42(2): 259-262.

Maxwell, J.F, S. Elliott, P. Palee and V. Anusarnsunthorn, 1995. The vegetation of Doi Khuntan National Park, Lamphun-Lampang Provinces, Thailand. Nat Hist Bull. Siam. Soc. 43(2) 185-206.

Maxwell, J.F, 1996. Botanical Notes of the Flora of Northern Thailand, 5 Nat Hist. Bull. Siam Soc. 44(1), 11-22.

Maxwell, J.F. 1996. Vegetation of the Mae Soi Conservation Area, Chom Tong District, Chiang Mai Province,Thailand. Tigerpaper (FAO) 23:1, 22-27

Maxwell, J.F, S. Elliott, P. Palee and V. Anusarnsunthorn, 1997. The vegetation of Jae Sawn National Park, Lamphun Province, Thailand. Nat Hist Bull. Siam. Soc. 45(1) in press

/ /การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย