1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ห้องปฏิบัติการวิจัยฟังไจ

Fungal Research Laboratory

ภาควิชา : ชีววิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

( 1 ) อาจารย์ ดร.อุราภรณ์ สอาดสุด

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

( 2 ) รศ.ดร.สายสมร ลำยอง

( 3 ) ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ จาติเสถียร

( 4 ) ผศ.อภิญญา ผลิโกมล

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดังนั้น ผลผลิต เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว ฯลฯ จึงมีอยู่มากและมีราคาถูก การนำวัตถุดิบเหล่านี้มาแปรให้เป็นผลผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญ ประชาชนมีรายได้มากขึ้นช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น วัตถุดิบเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนได้ก็ต้องอาศัยจุลินทรีย์และเทคโนโลยีทางชีวภาพเข้าช่วย จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นี้ส่วนหนึ่งเป็นฟังไจ ฟังไจเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วย เห็ด รา ยีสต์ จากวิทยาการปัจจุบัน ช่วยให้เราทราบว่า ฟังไจหลายชนิดมีความสัมพันธ์กับคน สัตว์ และพืชชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ของประชากรในสังคม ยีสต์ เป็นฟังไจเซลล์เดี่ยวที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมหลายอย่างเช่น การผลิตแอลกอฮอล์และการทำขนมปัง ฯลฯ ฟังไจที่เป็นเส้นสายที่เรียกว่าเชื้อรา หลายชนิดมีความสำคัญในการผลิตเอนไซม์ กรดอินทรีย์ และสารปฎิชีวนะ รวมทั้งเกี่ยวข้องในการผลิตอาหารปรุงรส เช่น การทำเต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว และอาหารหมักพื้นเมือง เป็นต้น ราหลายชนิดทำให้สิ่งของเสียหาย ตลอดจนเป็นสาเหตุของโรคในคน สัตว์ และพืช พบว่าส่วนใหญ่ของพืชที่เป็นโรคจะมีสาเหตุมาจากเชื้อรา ทำให้เกิดความเสียหายมาก ฟังไจที่มีการสร้างฟรุตติงบอดีที่มีขนาดใหญ่ เช่น เห็ดต่าง ๆ หลายชนิดเป็นเห็ดกินได้ รสอร่อย ราคาแพง ทางภาคเหนือมีเห็ดเผาะหรือเห็ดถอบที่มีรสอร่อย และยังไม่พบรายงานว่าสามารถเพาะเลี้ยงให้เป็นดอกได้ในอาหารสังเคราะห์ เห็ดหลายชนิดเป็นสมุนไพรที่ เชื่อกันว่ารักษาโรคบางอย่าง หรือใช้เป็นยาอายุวัฒนะ เช่น เห็ดหลินจือ หรือเห็ดหมื่นปี ฟังไจบางชนิดอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น อยู่ร่วมกับสาหร่ายเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ไลเคนส์ ซึ่งปัจจุบันพบว่าเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะแวดล้อมว่ามีมลพิษมากน้อยเพียงใด มีประโยชน์ในทางนิเวศน์วิทยา ฟังไจที่อยู่กับรากพืชเรียกว่า ไมคอไรซา มีทั้งชนิดที่เป็นเชื้อรา และเป็นดอกเห็ด สามารถช่วยให้พืชมีความเจริญเติบโตได้ดี มีความต้านทานโรคพืช ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชที่ไม่มีไมคอไรซา การศึกษาไมคอไรซาจะมีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะในเรื่องการปลูกป่า และการเพิ่มผลผลิตของเศรษฐกิจ

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

( 1 ) เพื่อรวบรวมกลุ่มบุคลากรที่สนใจเกี่ยวกับฟังไจให้มาทำวิจัยร่วมกัน

( 2 ) เพื่อศึกษา รวบรวมและเก็บรักษาฟังไจที่มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

( 3 ) เพื่อพัฒนาการนำฟังไจที่มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไปใช้ให้เกิดผลจริง

( 4 ) เพื่อหาทางควบคุมฟังไจที่ทำให้เกิดความเสียหาย

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

1. การผลิตกรดอินทรีย์ เอนไซม์และสารปฏิชีวนะจากฟังใจ และหาแนวทางการนำฟังไจมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

2. การสำรวจเห็ดรา และ การเก็บรวบรวมและการเก็บรักษาเชื้อเห็ดรา

3. การสกัดสารต้านเชื้อเห็ดราจากสมุนไพร

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. UV visible spectrophotometer

2. HPLC

3. Incubators

4. Autoclave

5. Water bath

6. Low temperature centifuge

7. pH meter

8. Lyophilizer

9. transfer chamber

10. Lamina flow

11. microwave oven

12. stomacher

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 การเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ

7.1.1 Charoenpiwatpong, P.and A. Plikomol.1996. Effects of vesicular arbuscular mycorrhizae on growth and yield of marigold (Tagetes erecta 49) In the third Asia-Pacific Conference Agricultural Biotechnology. 10-15 November 1996. Prachuap Khirikhan, Thailand.

7.1.2 Jatisatienr, C.and K. Tragoolpua. 1996. Effect of the extract from eight species of medicinal plants on growth of selected plant pathogenic molds and dermatophyte. International Symposium Breeding Research on Medicinal and Aromatic Plants. June 30-July 4,1996. Quedlingberg, Germany.

7.1.3 Koomnok, C., D. Tongkao and A. Plikomol. 1996. Optimal conditions for a -mannosidase production from mold isolate AD-35 on solid culture. In Biotechnology : prospects for the future . 14-15 November 1996. Prachuap Khirikhan, Thailand.

7.1.4 Lamyong, S. and K. Srisarakam. 1996. Effect of vesicular - arbuscular mycorrhiza on growth and resistance to Rhizoctonia fragariae of strawbery. In the third Asia - Pacific Conference Agricultural Biotechnology. 10-15 November 1996. Prachuap Khirikhan, Thailand.

7.1.5 Sardsud, V.,C. Sittigul , S. Promin, U. Sardsud and P.chantrasri.1997. Endophytic fungi in longan. In End - of - Project Workshop Disease control and Storage Life Extension in Fruit (ACIAR Project 9313 and 9105). 22-23 May 1997. Chiang Mai. Thailand.

7.1.6 Sardsud, V.,C. Sittigul , S. Promin, U. Sardsud and P.chantrasri.1997. Longan Diseases. In End - of - Project Workshop Disease control and Storage Life Extension in Fruit (ACIAR Project 9313 and 9105). 22-23 May 1997. Chiang Mai. Thailand.

7.1.7 Sardsud, V.,C. Sittigul , S. Promin, U. Sardsud and P.chantrasri.1997. Biological control of longan diseases. In End - of - Project Workshop Disease control and Storage Life Extension in Fruit (ACIAR Project 9313 and 9105). 22-23 May 1997. Chiang Mai. Thailand.

7.2 ความร่วมมือในการทำวิจัยระหว่างประเทศ

7.2.1 ร่วมทำวิจัยเรื่อง โรคของผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว กับนักวิจัยหลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประเทศออสเตรเลีย ได้รับทุน สนับสนุนจากโครงการวิจัย ACIAR ผ่านคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิ้นสุดโครงการ 1997)

7.2.2 ร่วมทำวิจัยกับมหาวิทยาลัย Nottthingham ในโครงการเลือกฟังไจที่ผลิตเอนไซม์ไคติเนส เพื่อใช้ประโยชน์จากเปลือกกุ้ง ปู รับทุนสนับสนุนจาก EC ผ่านมหาวิทยาลัยสุรนารี (ปี 1995 - 1997)

/ /การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย