1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ห้องปฏิบัติการงานวิจัยน้ำด้านชีวภาพ

Aquatic Biology Research Lab

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

1. อาจารย์ฉมาภรณ์ นิวาศะบุตร

รักษาการผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

2. รองศาสตราจารย์ สมร คลื่นสุวรรณ

3. รองศาสตราจารย์วันชัย สนธิไชย

4. อาจารย์ ดร.อำนาจ โรจนไพบูลย์

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุวดี พีรพรพิศาล

6. อาจารย์ ดร.พรทิพย์ จันทรมงคล

7. อาจารย์วีระศักดิ์ รุ่งเรืองวงศ์

8. นายสาคร พรหมขัติแก้ว

9. นายธนู มะระยงค์

10. นายสุทัศน์ สุภาษี

11. นายประพัฒน์ เผ่าพัฒน์

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ลุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทยทั้งในภาคเหนือและภาคกลางมีต้นกำเนิดมาจากต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน และลุ่มน้ำที่สำคัญอื่น ๆ ปัจจุบันความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้ขยายจากตัวเมืองลงสู่ชนบทซึ่งใกล้ต้นน้ำลำธารเข้าทุกที นอกจากนั้นการเกษตรก็มีแนวโน้มของการใช้ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากขึ้น ผลกระทบเหล่านี้มีผลต่อคุณภาพของลุ่มน้ำที่กล่าวมาแล้วโดยตรง การตระหนักและติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พึงให้ความสนใจอย่างจริงจัง

คณะวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานกลางคือโครงการศูนย์วิจัยน้ำขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการทำงานวิจัยด้านน้ำซึ่งเป็นสหสาขาวิชา ทำงานวิจัยทั้งทางด้านการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องน้ำทางลุ่มน้ำบริเวณภาคเหนือ กับทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ทำงานวิจัยดังกล่าว เนื่องจากเป็นสหสาขาวิชา ทั้งทางด้านเคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยาที่จะศึกษางานทางด้านน้ำร่วมกัน ดังนั้นแต่ละภาควิชาจึงมีห้องปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ภาควิชานั้น ๆ ศึกษาอยู่ ห้องปฏิบัติการงานวิจัยน้ำด้านชีวภาพ จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานรองรับงานวิจัย ด้านน้ำที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาชีววิทยา

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำด้านชีวภาพ และการตรวจสอบปัจจัยสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยกลุ่มสิ่งมีชีวิตเป้าหมาย 4 กลุ่มคือ แบคทีเรีย แพลงตอน เบนทอส และปาราสิต

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

5.1 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของแม่น้ำปิง และกวงใน พ.ศ.2539 (Water Quality Monitoring of Ping and Kuang Rivers in 1996) ภายใต้ความร่วมมือทางการ กับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2539 งบประมาณ 250,000.-บาท

5.2 การศึกษาคุณภาพน้ำ และการกระจายของแพลงตอนพืชในลุ่มน้ำบางแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อ่างแก้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ห้วยตึงเฒ่า อำเภอแม่ริม หนองบัว อำเภอดอยสะเก็ด และลุ่มน้ำเล็กๆ บางแห่ง

5.3 โครงการ Umbrella project ร่วมกับโปรแกรม ERAศึกษาคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพของลุ่มน้ำบางแห่งในภาคเหนือตอนบน ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกับรัฐบาลของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน อยู่ในระหว่างการพิจารณาทุน

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

6.1 เครื่องมือวัดสภาพแวดล้อมในสนาม

- Altimeter

- Oxygen meter

- pH meter

- Conducitvity meter

- Total Dissolved Solid (TDS) meter

- Light meter

- Water thermometer

- Secchi disk

- Spectrophotometer ชุดสนาม

6.2 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างน้ำและสิ่งมีชีวิตในสนาม

- เรือยาง

- Water sampler

- Surber's sampler

- Grab

- Water net

- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ, ขวดหรือกล่องเก็บ specimen ถุงพลาสติก

- Plankton net

6.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ

- Refrigirator

- Incubator

- Autoclave

- Balance

- Stereomicroscope

- Compound microscope

- Inverted microscope

- Ion Selective Electrode Analyser. (ISE)

6.4 วัสดุเครื่องแก้วและสารเคมี

- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ, ขวดเก็บ spacimen ถุงพลาสติก

- เครื่องแก้ว - Flask

- Beaker

- Plate

- Measuring Cylinder

- Durham tube

- Sample tube

etc.

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 โครงการวิจัยที่ได้รับทุน ในช่วงปีงบประมาณ 2538-2539

7.1.1 ชื่อโครงการ "การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของแม่ปิงและกวง ใน พ.ศ.2538""Water Quality Monitoring of Ping and Kuang Rivers in 1996"

แหล่งทุน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2538งบประมาณที่ได้รับ 250,000.-บาท

7.2 ผลงานที่เสนอในการประชุมหรือเผยแพร่ในวารสารต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงปี 2538

1. ยุวดี พีรพรพิศาล และสาคร พรหมขัติแก้ว. 2537. คุณภาพน้ำและการกระจายของแพลงตอนพืชในอ่างเก็บน้ำ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ. ศูนย์วิจัยน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

2. ชลินดา อริยเดช, ยุวดี พีรพรพิศาล และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2538. คุณภาพน้ำในแนวลึกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยบูรพา.

3. สมร คลื่นสุวรรณ, สมโชดก ชาครียรัตน์, เปรมวดี อนิรุทธิ์ธนานนท์ และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2538. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องบางประการในน้ำเสียก่อนและหลังบำบัดของโรคกำจัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2537. รายงานการประชุมสัมมนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยบูรพา.

4. พงษ์พอ อาสนจินดา, วันชัย สนธิไชย และ สกุณณี บวรสมบัติ. 2539. อิทธิพลของจุลินทรีย์บางชนิดต่อปริมาณไนเตรตในน้ำบาดาลระดับตื้น ที่บ้านนากบ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. International Symposium : Geology and Environment. 28 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2539 ณ โรงแรมภูคำ จังหวัดเชียงใหม่.

5. สุทัศน์ สุภาษี, นิเวศน์ ศรีล้อม และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2538. การประเมินคุณภาพน้ำทางเคมี ฟิสิกส์ของลำน้ำปิง ณ หลังไหลรวมกับคลองแม่ข่า 3 กิโลเมตร. ายงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยบูรพา.

6. สุทัศน์ สุภาษี, วิชาญ ศิริพันธ์ และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2538. การศึกษาคุณภาพน้ำ ณ หนือฝายน้ำล้นของลำน้ำปิง ก่อนไหลลงสู่จังหวัดลำพูน. รายงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยบูรพา.

7. สาคร พรหมขัติแก้ว และ สุนทร จอมมาวรรณ. 2538. การศึกษาคุณภาพน้ำทางด้านเคมี และฟิสิกส์ก่อนผ่านย่านชุมชนจากคลองระบายน้ำเสีย (คลองแม่ข่า) ไหลมาบรรจบน้ำแม่ปิง. รายงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยบูรพา.

8. นิเวศน์ ศรีล้อม, เสงี่ยม ทองบุญ และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2538. การศึกษาคุณภาพน้ำทางด้านเคมีและฟิสิกส์ของคลองแม่ข่าก่อนไหลออกสู่ลำน้ำแม่ปิง. รายงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยบูรพา.

9. Chantaramongkol, P., Malicky, H. and Promkutkaew, S. 1995. Present Statusof Biodiversity and istribution of Trichoptera on Doi Suthep-Pui National Park Northern Thailand. Poster in 21 th STT Conference,Chonburi, Thailand.

10. Chantraramongkol, P. and H. Malicky. 1995. Drei neve asiatische Hydromanicus (Trichoptera: ydropsychidae)(Arbeiten uber Thailandische Kocherfliegen, Nr.17) Ent. Z. (Essen)105:5,p 92-96.

11. Malicky, H. and P. Chantaramongkol. 1993.The altitudinal distribution of Trichoptera Species in Mae Klang Catchment on Doi Inthanon. Northern Thailand:Stream zonation and cool-and warm-adapted groups (Studies on Caddisflies of Thailand No.16)Rev. Hydrobiol.Trop. 26(4) : 279-291.

การเสนอผลงานในการประชุมทั้งในและต่างประเทศ

1. Pongpor Asnachinda, Wanchai Sonthichai and Sakunnee Borvonsombut.1996. Microbial activities and nitratecontent in shallowgroundwater at Ban Nakob, Amphoe Chom Thong, Chiang Mai province. InternationalSymposium:Geology and Environment. Phucome Hotel, Chiang Mai.Thailand.

2. Chantaramongkol, P.1995. Sixty Nine NewSpecies of Trichoptera from Doi Suthep-Pui National Park Northern Thailand.8 thInternational Symposium on Trichoptera at Minnesota USA.

 7.3 ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยอื่น ๆ

7.3.1 ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจหา MPN ของ Total coliform bacteria โดยผ่านหน่วยวิจัยแบคทีเรีย ซึ่งมีนายวันชัย สนธิไชย เป็นผู้ดำเนินการจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

7.3.1.1 ตรวจหา coliform bacteria และ fecal coliform bacyeria ให้กับกองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกเดือนเดือนละประมาณ 5-10 ตัวอย่าง (เพื่อทราบถึงคุณภาพน้ำของห้องอาหารในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

7.3.1.2 ตรวจสอบคุณภาพน้ำทางด้านแบคทีเรียของน้ำบ่อ และน้ำดื่มให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ประมาณ 2-5 ตัวอย่างต่อเดือน

7.3.2 ร่วมมือกับ Institute of Botany, Innsbruck University ประเทศออสเตรีย โดยทำการวิจัยร่วมเกี่ยวกับเรื่อง คุณภาพน้ำและการใช้แพลงตอนพืชเป็นดัชนี โดยมีนางยุวดี พีรพรพิศาล เป็นผู้ดำเนินการวิจัย

/ / / การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย