1. ชื่อหน่วยวิจัย

หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี

Astronomical Photometry Research Unit

ภาควิชา : ฟิสิกส์

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

(1) นายบุญรักษา สุนทรธรรม

ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

(2) นายสุมิตร นิภารักษ์

(3) มล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์

(4) นายมาโนช นาคสาทา

(5) นายวิม เหนือเพ็ง

(6) น.ส.นวลวรรณ สงวนศักดิ์

(7) นายณรงค์ เปมะวิภาต

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งหอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2520 โดยมีอุปกรณ์หลักคือ กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าาาศูนย์กลาง 16 นิ้ว (40 เซนติเมตร) ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ ได้พยายามพัฒนาเทคนิคและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้กล้องดูดาวดังกล่าวในการวิจัยได้ งานวิจัยที่ได้ดำเนินไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบันนั้น มี 2 ลักษณะ คือ งานวิจัยของคณาจารย์ในกลุ่มดาราศาสตร์ โดยขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ในการวิจัย และงานวิจัยของนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

งานวิจัยหลักที่ดำเนินการในขณะนี้ก็คือ การใช้ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ร่วมกับกล้องดูดาว ในการวิเคราะห์คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ดาวคู่ กระจุกดาว ดาวหาง สารที่อยู่ระหว่างดาว เป็นต้น งานวิจัยทางด้านโฟโตเมตรีนี้ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มีการจัดหากล้องดูดาวขนาดต่าง ๆ เครื่องวัดที่ทันสมัย ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม สัญญาณและเก็บข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคทันสมัย มาใช้ในการวิจัยทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดตั้งหน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ทำให้เห็นทิศทางของงานวิจัยในแขนงดาราศาสตร์ ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอันที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์แขนงนี้ การสนับสนุนให้หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพของคณะวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ทางกลุ่มดาราศาสตร์มีความต้องการอย่างยิ่ง

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ที่มีทักษะความชำนาญทางด้านการใช้เทคนิคทางโฟโตเมตรี ในการศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดทั้งการร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้งานดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ

5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่

งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่ การใช้เทคนิคทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยมุ่งเน้น ดาวคู่อุปราคา (Eclipsing Binaries) ซึ่งจะศึกษาลักษณะทางกายภาพ กราฟแสง องค์ประกอบวงโคจรของดาวคู่เหล่านี้ และขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำความร่วมมือกับกลุ่มวิจัยจาก Yunnan Observatory ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยดาวคู่ดังกล่าวนี้ กลุ่มดาราศาสตร์ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและ State Science and Technology Comission of China ให้มีโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างหอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ Beijing Astronomical Observatory โดยมุ่งเน้นการใช้เทคนิคทางโฟโตเมตรีและสเปกโทรสโคปี เพื่อศึกษาระบบดาวคู่ RS CVn

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว

2. กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดชมิดท์-คาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้ว และ 8 นิ้ว

3. ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ของบริษัท Thorn EMI Co. Ltd. พร้อม ระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน U, B, V

4. ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบโซลิดสเตทของบริษัท Optec Inc. พร้อมระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน U, B, V, R, I

5. ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมและบันทึกสัญญาณจากระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์

6. ระบบ CCD ที่ใช้ในการควบคุมระบบติดตามดาวและถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าโดยคอมพิวเตอร์

-Photometrics

-Compuscope

7. ระบบการติดต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

1. โครงการวิจัยและการดำเนินการ

ผลงานวิจัยอันเนื่องมาจากความร่วมมือทางด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ Yunnan Observatory ได้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางดาราศาสตร์ Third Pacific Rim Conference on Recent Developments on Binary Star Research ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสมาคมดาราศาสตร์ไทย และ Universit of Nebraska ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม 2538 - 2 พฤศจิกายน 2538 นอกจากนี้ผลงานวิจัยอันเนื่องจากความร่วมมือทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ ยังได้รับตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ Astronomy and Astropphysics ในเดือน พ.ศ.2539

นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Yunnan Observatory ยังได้ต่อสัญญาความร่วมมือทางงานวิจัยด้านดาราศาสตร์เป็นระยะที่ 2 (พ.ศ.2539-2543) โดยจะเน้นการวิจัยร่วมในหัวข้อ "Re-search on the Oscillations of Contact Binaries" ซึ่งในปี พ.ศ.2540 ได้สังเกตการณ์ระบบดาวคู่ GR Tau ไว้แล้ว และกำลังร่วมกันพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งวางแผนดำเนินการเพื่อการตีพิมพ์และเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติต่อไป

สำหรับงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ Beijing Astronomical Observatory ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ National Natural Science Foundation of China เรื่อง "Photometric and Spectroscopic Research on RS Cvn Binary Systems with Starspots" ระหว่างปี พ.ศ.2537-2539 ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในการประชุม "UN/ESA Workshop on Basic Space Science" ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ในเดือนมกราคม พ.ศ.2539 และขณะนี้คณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและ National Natural Science Foundation of China ต่อำป

ในระหว่างปี พ.ศ.2539-2540 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์ได้สังเกตการณ์ โดยใช้เทคนิคทางซีซีดี โฟโตเมตรี ในช่วงความยาวคลื่น B และ V เพื่อบันทึกความสว่างและการเปลี่ยนตำแหน่งและโครงสร้างของดาวหางเฮล- บอพพ์ (Hale-Bopp Comet) ในช่วงต่อไป จะได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

2. การดูงาน ฝึกอบรม หรือเสนอผลงานวิจัย ระหว่างปี พ.ศ.2539-2540

2.1 นายบุญรักษา สุนทรธรรม ประชุมเชิงปฎิบัติการด้านดาราศาสตร์ "UN/ESA Workshop on Basic Space Science from Small Telescope to Space Missions"และเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "International Cooperation in RS Cvn Binary System Research" ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2539 : โดยทุนองค์การสหประชาชาติและองค์การอวกาศยุโรป

2.2 นายบุญรักษา สุนทรธรรม นายสุมิตร นิภารักษ์ ม.ล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์ นายวิม เหนือเพ็ง นายณรงค์ มะวิภาต ไปดูงานและเจรจาโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้

(ก) Beijing Astronomical Observatory เมืองปักกิ่ง

(ข) Purple Mountain Observatory เมืองนานกิง

(ค) Nanjing Astronomical Instruments Research Center เมืองนานกิง

(ง) Shanghai Observatory เมืองเซี่ยงไฮ้

(จ) Yunnan Observatory เมืองคุนหมิง

ระหว่างวันที่ 2-16 พฤษภาคม 2539 โดยทุนกรมวิเทศสหการ และ State Science and Technology of China

2.3 น.ส.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ (ด้วยทุนผู้จัดประชุม) และนายบุญรักษา สุนทรธรรม (ด้วยทุน International Astronomical Union) เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ "The Seventh Asian-Pacific Regional Meeting of the IAU" โดย น.ส.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ เสนอผลงานวิจัยเรื่อง "The Distribution of Thermal and Non-thermal Radio Continuum Emission in the Galactic Disk" และนายบุญรักษา สุนทรธรรม เสนอบทความทางวิชาการเรื่อง "Astronomy in Thailand : A Historical Perspective" ณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ระหว่างวัรนที่ 18-24 สิงหาคม 2539

2.4 นายบุญรักษา สุนทรธรรม เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "The Mini Workshop of Astronomy Popularization : Activities in Observations and Popularization" และบรรยายบทความทางวิชาการ เรื่อง "Astronomy Popularization in Thailand" ณ เมืองโอคายามา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2539 โดยทุนของ Besei Astronomical Observatory ประเทศญี่ปุ่น

3. ผลงานที่เสนอหรือเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงปี 2535-2540

1. สุมิตร นิภารักษ์ และคณะ,"การศึกษาบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ โดยเทคนิคทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี", การประชุม วทท.18, ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ตุลาคม 2535

2. บุญรักษา สุนทรธรรม และมาโนช นาคสาทา, "การวิเคราะห์อุณหภูมิของดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัมช่วงถ่ายในแถบขบวนหลัก โดยเทคนิคทางโฟโตเมตรี", การประชุม วทท.18 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ตุลาคม 2535

3. SOONTHORNTHUM, B., "Aspects of Stellar Photometry in Thailand", IAU Colloquium 136: Stellar Photometry, Trinity College Dublin, IRELAND, 4-7 August 1992.

4. บุญรักษา สุนทรธรรม, สุมิตร นิภารักษ์, อนิวรรต สุขสวัสดิ์, มาโนช นาคสาทา และ วิม เหนือเพ็ง, "การวิเคราะห์สภาวะทางกายภาพของบรรยากาศดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิผิวต่ำ โดยเทคนิคทางโฟโตเมตรีในแถบอินฟราเรด", การประชุม วทท 19, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ตุลาคม 2536

5. สุมิตร นิภารักษ์, อนิวรรต สุขสวัสดิ์, มาโนช นาคสาทา, วิม เหนือเพ็ง และ บุญรักษา สุนทรธรรม, "การวิเคราะห์โชติมาตรปรากฏของดาวคู่ที่มองเห็นได้บางดวงในช่วงความยาวคลื่น วี อาร์ ไอ", การปรุม วทท 19,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ตุลาคม 2536

6. ระวี ภาวิไล, ขาว เหมือนวงศ์, บุญรักษา สุนทรธรรม, บรรยายสัมมนา, "สุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย 24 ตุลาคม 2538 "การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20, 19-21 ตุลาคม 2537, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7. สุมิตร นิภารักษ์, บุญรักษา สุนทรธรรม, หลิว ชิงเหยา, ยัง ยูหลาน, กู้ เชียงห่าว, อนิวรรต สุขสวัสดิ์, วิม เหนือเพ็ง, มาโนช นาคสาทา, 2537, "พารามิเตอร์ทางโฟโตเมตรีของดาวคู่อุปราคาแบบใกล้ชิด บี แอล-อี อาร์ ไอ" การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20, 19-21 ตุลาคม 2537,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8. Qingyao Liu, Soonthornthum, B., Shenghong Gu, Yulan Yang, Niparugs, S., Sooksawat, A., Naksata, M. and Bi Wang, "BL ERIDANI : An Unstable W UMa System with Spotted Components : Third Pacific Rim Conference on Recent Developments on Binary Stars Research, Chiang Mai, Thailand, October 26-November 2, 1995.

9. Soonthornthum, B., "Astronomy in Thailand : Third Pacific Rim Conference on Recent Developments on Binary Stars Research, Chiang Mai, Thailand, October 26- November 2, 1995.

10. N. Sanguansak and J.L. Osborne, "The Distribution Models of Thermal and Non-Thermal Radio Continuum Emission in the Galactic Disk", Journal of the Korean Astronomical Society, 29 : S169-S170, 1996.

11. B. Soonthornthum, "Astronomy Popularization in Thailand", Proceedings of the Second Mini-Workshop : Activities in Popularization and Observations, Besei Astronomical Observatory, pp 3-12, August 1996.

12. Qingyao Liu, B. Soonthornthum, Yulan Yang, Shenghong Gu, S. Niparugs, M.L. Aniwat Sooksawat, Bi Wang and m. Naksata, "BL Eridani : An Unstable W Ursae Majoris system with spotted components" , Astron. Astrophys. Suppl. Ser 118, 453-459 (1996.)

13. B. Soonthornthum, "International Cooperation in RS Cvn Binary System Research", UN/ESA Workshop on Basic Space Science, Colombo, Sri Lanka (1996.)

4. อื่นๆ

หน่วยวิจัยดาราศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามหอดูดาวของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า "หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2539 และทรงเสด็จฯ เปิดป้ายหอดูดาวและตรวจโครงการก่อนสร้างกล้องดูดาวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 นิ้ว ณ หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ซึ่งชื่อหอดูดาวจะได้รับการบันทึกในทำเนียบหอดูดาวสากลจาก International Astronomical Union ต่อไป

///การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย