1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ธรณีวิทยาแหล่งน้ำ

Geology of Water Resources

ภาควิชา : ธรณีวิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

(1) รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พอ อาสนจินดา

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

(2) ศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ ระมิงค์วงศ์

(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฟองสวาท สุวคนธ์ สิงหราชวราพันธ์

(4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิ อุตตโม

(5) อาจารย์ ดร.พิษณุ วงศ์พรชัย

(6) นางมยุรี พรหมพุทธา

(7) Mr William G. Prewett

1

3. หลักการและเหตุผล

ห้องปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแหล่งน้ำ ภาควิชาธรณีวิทยา จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับการศึกษาวิจัยแหล่งน้ำธรรมชาติในเชิงปริมาณและคุณภาพ หรือในแง่มุมทางอุทกธรณีวิทยาและอุทกธรณีเคมี ห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ยังจะเป็นกำลังส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัยน้ำคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยความร่วมมือของ 4 ภาควิชาในคณะวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และธรณีวิทยา

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

วัตถุประสงค์ของห้องปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแหล่งน้ำมีด้วยกัน 3 ข้อใหญ่ๆ :-

1. ศึกษาวิจัยสภาพธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา และอุทกธรณีเคมีของแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป

2. ศึกษาวิจัยมลภาวะของแหล่งน้ำผิวดิน/ใต้ดิน และแนวทางป้องกันแก้ใข และ

3. ศึกษาวิจัยแหล่งน้ำพุร้อน ทั้งในด้านแหล่งพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ

โดยมีเป้าหมายในระยะแรก (พ.ศ.2539-2541) มุ่งเน้นไปที่การเก็บข้อมูลโดยการสำรวจทางธรณีวิทยา และธรณีเคมีเพื่อประโยชน์ในการจัดการและการควบคุมมลพิษในแหล่งน้ำธรรมชาติ บริเวณแอ่งเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง

5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่

1. ธรณีเคมีและสภาพอุทกธรณีวิทยาของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในภาคเหนือ

โครงการวิจัย :

(1.) Investigation of the hydrology of the Fang geothermal system by isotope and geochemical tools.

(2.) Regional database (Thailand, Indonesia, Philippines and China) on geothermal waters.

(3.) Interlaboratory comparison (Thailand, Indonesia, Philippines and China).

ทุนสนับสนุน : จาก IAEA, Vienna ระยะเวลาทำการวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี (1997-99)

2. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ชุ่มน้ำในบริเวณแอ่งเชียงใหม่

โครงการวิจัย :

(1.) การสำรวจสถานภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญบริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน.

(2.) ความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญบริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน.

ทุนสนับสนุน : จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (งบประมาณ 2540) โครงการละ 70,000 บาทระยะเวลาทำการวิจัย 1 ปี

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

- Atomic Absorption Spectrophotometer (Perkin Elmer, Mod. 2380)

- UV-Visible Spectrophotometer (ATI Unicam, Mod. SP 500 Series 2)

- pH/Ion/Conductivity Meter (Fisher Scientific, Mod. 50)

- Turbidimeter Series 965

- HPLC

- เครื่องแก้วต่างๆ เช่น บิวเรต, ปิเปต, ขวดรูปชมพู่, บิกเกอร์ เป็นต้น

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ ในวารสารของสมาคมวิชาชีพหรือวารสารทางวิชาการซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับของวงการวิชาการระดับนานาชาติ

1. Asnachinda, P., 1998. Hydrogeochemistry of the Chiang Mai Basin, Northern Thailand. J. Southeast Asian Earth Sci., Vol. 15. No. 2-3, p.317-326. (in press).

2. Prewett, W.G., and Promputha, M., 1997. A convenient calibrant for silicon determination. Analytica Chimica Acta 339(3), p. 297-302

7.2 ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ ในวารสารของสมาคมวิชาชีพหรือวารสารทางวิชาการซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับของวงการวิชาการระดับชาติ

1. Asnachinda, P., 1996. Geochemical Characterization of the Natural Waters of Chiang Mai Basin Using Principal Component Analysis. J. Sci. Fac., 23(1), Chiang Mai University, p. 33-38.

7.3 ผลงานที่เสนอในที่ประชุมระดับนานาชาติ

1. Asnachinda, P., Ramingwong, T., and Lertsrimongkol, S., 1997. Cold Water Inflow in Shallow Geothermal Systems of Northern Thailand. Presented at IAEA Regional Group Training on “Isotope Geochemistry for the Exploitation of Geothermal Energy Resources” Palinpinon and Leyte Geothermal Fields, 26 May- 6 June 1997, Philippines.

7.4 ผลงานเสนอในที่ประชุมระดับชาติ

1. พงษ์พอ อาสนจินดา, 2540. ปัญหาและแนวโน้มการปนเปื้อนของสารมลพิษในน้ำบาดาลของลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. การสัมมนาเรื่อง การปนเปื้อนของสารอันตรายในน้ำบาดาล ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร, 20-21 มกราคม 2540.

2. พงษ์พอ อาสนจินดา, 2540. น้ำใต้ดินของแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน : ปัญหาการปนเปื้อนและการพัฒนาที่ยั่งยืน. การบรรยายพิเศษเสนอต่อที่ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่ 19-21 ตุลาคม 2540.

3. Asncachinda, P. 1997. Water Quality Mapping. A special lecture given to “Regional Training Course on Nuclear Analytical and related techniques in Water Quality Monitoring” organized by the IAEA and Chemistry Dept., Chiang mai University, 3-21 November 1997.

4. Asnachinda, P. 1997. Water Problems in Chiang Mai Districts. Presented at “International Workshop on Environmental Risk Assessment, Technology and Management” organized by Chiang Mai University and University of Saarland, Germany at Amari Rincome Hotel, 15-19 December 1997.

/ /การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย