1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ต่อมไร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤติกรรม

Endocrinology and Behavioral Biology Research Laboratory

ภาควิชา : ชีววิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

1. ผศ.ดร.ทิพวรรณ สิงห์ไตรภพ

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

2. อาจารย์บุญเกตุ ฟองแก้ว

3. อาจารย์ระวิวรรณ ลาชโรจน์

4. รศ.สมศักดิ์ วนิชาชีวะ

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ระบบสรีรวิทยาภายในร่างกาย สามารถทำงานได้โดยอาศัยการประสานงานติดต่อและควบคุมโดยระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หรือฮอร์โมนนั่นเอง นอกจากนั้น การทำงานของฮอร์โมนยัง ควบคุมไปถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม และการเจริญของสัตว์ ในปัจจุบันงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนในสัตว์จะเป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านปศุสัตว์และการเกษตร ยิ่งไปกว่านั้นผลจากการทดลองในสัตว์จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์อีกด้วย ดังนั้นห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤติกรรมนี้จึงจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการแขนงนี้ และงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ห้องปฏิบัติการนี้ เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในการทำวิจัยทางสรีรวิทยา ของอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา และเพื่อเป็นการกระตุ้นและพัฒนาการทำวิจัยของบุคคลากรในภาควิชา ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. เพื่อผลิตผลงานวิจัยทางด้านต่อมไรร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤติกรรมที่มีคุณภาพ

2. เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของงานวิจัยทางต่อมไร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤติกรรม

3. เพื่อเป็นหน่วยประสานงานการวิจัยทางสรีรวิทยาของอาจารย์และนักศึกษา ตลอดจนการติดต่อขอความร่วมมือช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างประเทศ

แนวทางการดำเนินการ

1. ออกสำรวจหน่วยวิจัยหรือห้องปฏิบัติการวิจัย รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ทางต่อมไร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤิตกรรม เช่น ที่คณะแพทยศาสตร์ คณะเกษตร ของมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อนำมาสู่การจัดตั้งและพัฒนาห้องวิจัย

2. จัดหาเงินทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤติกรรม เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์

3. จัดหาทุนสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

4. ส่งเสริมงานวิจัยค้นคว้าทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤติกรรมของอาจารย์นักวิจัย และนักศึกษา

5. ร่วมดำเนินงานวิจัยกับหน่วยวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสรีรวิทยาและพฤติกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

6. เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่คือ

1. การศึกษาสัณฐานวิทยาและลักษณะทางสรีรวิทยาของหนอนเยื่อไผ่ (Study of Morphological and Physiological Characteristics of the Bamboo Borer, Omphisa sp.)

2. การศึกษาผลของเหล้าดองสมุนไพรที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ในหนูเพศผู้

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. Microscope

9. Deep freezer

2. Micropipette

10. Balance measurement

3. Pipette aids

11. Water-bath

4. Centrifuge

12. Refrigerator

5. pH meter

13. Homoginizer

6. Incubator

14. Glasswares

7. Hot plate & stirrer

15. Plasticwares

8. Vortex mixer

16. Chemicals

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

ห้องปฏิบัติการนี้ ได้เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 โดยได้รับบริจาคเครื่องมือพื้นฐานจากกองทุนฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นจำนวนเงิน 264,500.- บาท (รายการเครื่องมือ 2-9) และเครื่องมือบางชนิดก็ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาชีววิทยา (รายการเครื่องมือ 10-12) และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2538 ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนฮิตาชิอีกเป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ.2538-2539) โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการร่วมระหว่างนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยยามากุจิ ประเทศญี่ปุ่น ชื่อโครงการวิจัยคือ การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของหนอนเยื่อไผ่ ซึ่งได้แบ่งงานวิจัยออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

1. การศึกษาลักษณะภายนอกและภายในของหนอนเยื่อไผ่

2. การวิเคราะห์หาปริมาณสารอาหารในหนอนเยื่อไผ่

3. การวิเคราะห์หาชนิดของ amino acid ในหนอนเยื่อไผ่

4. การศึกษาชนิดของ hemocytes ใน hemolymph ของหนอนเยื่อไผ่

5. การตรวจหาระดับของ juvenile hormones และ ecdysone ของหนอนเยื่อไผ่ในระยะตัวหนอนและดักแด้

6. การศึกษาผลของ ecdysone และ juvenile hormone ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของหนอนเยื่อไผ่

ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่าน งานวิจัยส่วนที่ได้ทำไปแล้วคือ การศึกษาลักษณะภายนอกและภายในของหนอนเยื่อไผ่ และการวิเคราะห์หาปริมาณสารอาหารในหนอนเยื่อไผ่ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ส่วนงานวิจัยที่กำลังทำอยู่อย่างต่อเนื่องคือ การเก็บ hemolymph จากหนอนเยื่อไผ่ในระยะตัวหนอนและดักแด้ ซึ่งเก็บได้เป็นเวลา 8 เดือนแล้ว และกำลังติดต่อกับทางห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัย Kanazawa ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปตรวจหาระดับฮอร์โมน ส่วนงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ขณะนี้คือ การวิเคราะห์หาชนิดของ amino acid ในหนอนเยื่อไผ่ และการศึกษาชนิดของ hemocytes ใน hemolymph ของหนอนเยื่อไผ่ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสำรวจเครื่องมืออุปกรณ์และสารเคมีที่ต้องใช้ เชื่อว่าสามารถทำเสร็จได้ภายใน 2-3 เดือน และงานอีกส่วนหนึ่งที่คาดว่าจะทำในกลางปีนี้คือ การศึกษาผลของ ecdysone และ juvenile hormone ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของหนอนเยื่อไผ่

งานวิจัยอีกหัวข้อหนึ่งคือ การศึกษาผลของเหล้าดองสมุนไพรที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ในหนูเพศผู้ นั้น ได้เริ่มมีการวางแผนการทดลองหาวิธีการที่เหมาะสมไปแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี และรู้แนวทางแก้ไขการทดลอง ซึ่งคาดว่าจะมีการทำวิจัยอีกครั้งหนึ่งเมื่อแก้ไขจุดบกพร่องได้แล้ว

สำหรับผลที่ได้จากการทดลองของทั้ง 2 หัวข้อ ยังอยู่ในช่วงการวิเคราะห์ข้อมูล และเรียบเรียง คาดว่าจะสามารถตีพิมพ์ได้เมื่อได้ข้อมูลมากเพียงพอ ดังนั้นจึงขอแนบรายงานผลการทดลองจากงานวิจัยทั้ง 2 ส่วนมาด้วย

/ /การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย