การบริการวิชาการแก่สังคม

   


การบริการวิชาการแก่ชุมชนถือว่าเป็นพันธกิจที่สำคัญประการหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ ที่จะต้องนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาถ่ายทอดสู่ชุมชน ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ นอกจากนี้ การบริการวิชาการแก่ชุมชนหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายทอดองค์ความรู้หรือบริการวิชาการสู่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ก็สามารถสร้างรายได้ให้แก่คณะวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งการสร้างรายได้จากการบริการวิชาการแก่ชุมชนนับว่าเป็นนโยบายที่สำคัญของคณะวิทยาศาสตร์ในด้านการพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต
คณะวิทยาศาสตร์ให้บริการวิชาการแก่สังคมหลายรูปแบบ (ดูภาคผนวกที่ 16) ได้แก่
(1) การถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- หลักสูตรการอบรมระยะสั้น
- วิทยากรรับเชิญ
- สิ่งตีพิมพ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(2) การบริการด้านเทคนิค
- การให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค
- การให้บริการระดับอาชีพ
(3) การเผยแพร่ผลงานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
- การจัดแสดงนิทรรศการ
- การจัดประชุมระดับชาติ และนานาชาติ
- การจัดสัมมนา
คณะวิทยาศาสตร์ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกหลายหน่วยงาน อาทิ โครงการอบรมครูร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โครงการค่ายโอลิมปิกวิชาการร่วมกับมูลนิธิ สอวน. โครงการความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น

สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สวท-มช) ได้เริ่มดำเนินการมาตั้ง แต่ปี 2543 โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ บริหารงานโดยผู้อำนวยการสถานบริการวิทยาศาสตร์ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และเพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการให้บริการไปใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์ในทุก ๆ ด้าน
ผลการดำเนินงานในปี 2547 มีดังนี้
1. การบริการด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ โดย สวท-มช.ได้รับการสนับสนุนด้านครุภัณฑ์จากคณะวิทยาศาสตร์ สำหรับให้บริการแก่องค์กรของภาครัฐและเอกชนในการตรวจสอบ วิเคราะห์ แกผู้ที่มาใช้บริการในปี 2547 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 434 ครั้ง
2. งานนวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ.2547 ได้ทำการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และงานวิจัยทของผู้ที่มาใช้บริการ
3. นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ได้ขอจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจากรมทรัพย์สินทางปัญญาดังนี
3.1. อนุสิทธิบัตร ที่ได้ประกาศแล้ว มีจำนวน 1 เรื่อง คือ เรื่อง "การเตรียมสีย้อมโครโมโซมจากสารสกัดข้าวเหนียวดำ" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัทยา กาวีวงศ์ และนางสาววิไล ชัยสมภาร
3.2. งานจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ เรื่อง “กรรมวิธีการทำครีมสมุนไพรจากสารสกัดใบพลูเพื่อแก้ลมพิษ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม และ นางสาวณัฐกฤตา พงศ์สกุล
4. งานเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ ได้ให้บริการแก่องค์กรของภาครัฐและเอกชนทั้งในภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
5. ศูนย์บริการวิจัยจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอน ได้ให้บริการกับนักศึกษา คณาจารย์ ประชาชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ.2547 จำนวน 707 ราย
6. งานจัดประชุม อบม สัมมนา สำหรับบุคลากร และผู้สนใจทั่วไป ในปี พ.ศ.2547 จำนวน 14 ครั้ง


การจัดทำวารสารและจุลสาร

คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ CHIANG MAI JOURNAL OF SCIENCE เป็นวารสารที่มีกำหนดพิมพ์ทุก 6 เดือน จัดเป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยได้รับการบรรจุไว้ในฐานข้อมูล Chemical Abstracts จึงกล่าวได้ว่า วารสารนี้เป็นเวทีหนึ่งของนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดพิมพ์จุลสาร "วิทยาสาร" เป็นประจำทุก 2 เดือน เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่ชุมชน โดยจัดส่งให้แก่โรงเรียนต่างๆ ในเขตภาคเหนือ และส่วนราชการ นอกจากนี้ ยังได้บรรจุจุลสารดังกล่าวลงใน web site ของคณะวิทยาศาสตร์ www.science.cmu.ac.th