การสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาการ

 


คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาหลายรูปแบบ ดังนี้

1) นักศึกษาบัณฑิตศึกษาช่วยสอน
คณะวิทยาศาสตร์ได้สนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาช่วยสอนโดยมีการสนับสนุนใน 2 ประเภท คือ การสนับสนุนโดยค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง และการสนับสนุนในลักษณะการให้ทุนการศึกษา โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2544-กันยายน 2545 ได้สนับสนุนประเภทให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง จำนวน 1,118,970 บาท และสนับสนุนประเภททุนการศึกษา จำนวน 120,000 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1,238,970 บาท มีรายละเอียดดังนี้

1.1 การสนับสนุนประเภทประเภทให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง

ภาควิชา
ภาคการศึกษาที่ 2/2544
ภาคการศึกษาที่ 1/2545
รวม

คณิตศาสตร์

42,660

59,580

102,240

เคมี

93,420

288,090

381,510

ชีววิทยา

73,980

106,650

180,630

ธรณีวิทยา

32,670

29,970

62,640

ฟิสิกส์

146,520

10,800

157,320

สถิติ

32,760

129,150

161,910

วิทยาการคอมพิวเตอร์

39,420

33,300

72,720

รวม
461,430
657,540
1,118,970

1.2 การสนับสนุนประเภททุนการศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มให้การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาในลักษณะการให้ทุนการศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2545 โดยการให้ทุน ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเต็มเวลา (Full Time) และแบบไม่เต็มเวลา (Part Time)
ในภาคการศึกษาที่ 1/2545 ได้สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาช่วยสอนประเภทเต็มเวลา (Full Time) จำนวน 5 ราย จาก 5 ภาควิชา (คณิตศาสตร์, เคมี, ชีววิทยา, สถิติ, ฟิสิกส์) โดยสนับสนุนรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 120,000 บาท

2) โครงการพัฒนาวิชาการบัณฑิตศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา โดยในช่วงตุลาคม 2544 - กันยายน 2545 ได้ให้การสนับสนุน ดังนี้

ภาคการศึกษา 2/2544 จำนวน 3 โครงการ เป็นเงิน 38,259 บาท ดังนี้

ภาควิชา/สาขาวิชา
ชื่อโครงการ

ชีววิทยา

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ในการนำเสนอผลงานวิจัย

วิทยาการคอมพิวเตอร์

การสัมมนาในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

โครงการเสริมความรู้ในการสร้างแบบจำลองเพื่อติดตามคุณภาพอากาศในเขตเมือง


ภาคการศึกษา 1/2545 จำนวน 9 โครงการ เป็นเงิน 97,960 บาท ดังนี้

ภาควิชา/สาขาวิชา
ชื่อโครงการ

คณิตศาสตร์

1. การสืบค้นข้อมูลวิชาการทางคณิตศาสตร์ผ่านระบบ Internet

ชีววิทยา

2. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการนำเสนอผลงานวิจัย

ธรณีวิทยา

3. ทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับงานด้านธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์

สถิติ

5. การพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่ชุมชน

ฟิสิกส์

6. การพัฒนาความรู้และทักษะการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการวัดและการควบคุมเบื้องต้น

วิทยาการคอมพิวเตอร์

7. การสัมมนาในระดับบัณฑิตศึกษา

เคมีอุตสาหกรรม

8. การสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สาขาเคมีอุตสาหกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

9. การใช้ GIS และแบบจำลองเพื่อการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม


3) การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาไปเสนอผลงานวิชาการ ฝึกอบรม ดูงาน ทำวิจัยระยะสั้น
คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายสมทบในการไปเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาไปเสนอผลงานทั้งสิ้น จำนวน 122 คน รวมเป็นเงิน 903,453.- บาท (ในประเทศ 97 คน เป็นเงิน 242,993.- บาท และต่างประเทศ 25 คน เป็นเงิน 660,460.- บาท)
นอกจากนี้ ยังได้จัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายสมทบให้แก่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับสถาบันต่างประเทศ โดยในปีที่ผ่านมาสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายสมทบในการทำวิจัยระยะสั้น ณ ประเทศอังกฤษ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ของนักศึกษาระดับโทและปริญญาเอก จำนวน 8 คน เป็นเงิน 235,000.- บาท
(รายละเอียดดูในภาคผนวกที่ 19)