การบริการวิชาการชุมชน                             

โครงการค่ายโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.)
ในปีการศึกษา 2545 มีนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่าย 1 และค่าย 2 และไปสอบแข่งขันเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ เพื่อเข้าค่าย 3 ณ สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 4 คน คือ
1. นางสาวเป็นหญิง โรจนกุล จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี 2544
2. นายวริทธิ์ หวังซื่อกุล จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี 2544
3. นายวัฒนชัย จำปาทอง จากโรงเรียนพิริยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาเคมี เมื่อปี 2545
4. นายสถาปนวัฒน์ สิทธิหาญ จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขเคมี เมื่อปี 2544
5. นายปรเมษฐ์ วินิจจะกูล จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขา ชีววิทยา เมื่อปี 2544
6. นายศุภกร จันเลน จากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เข้าค่าย มช. สาขาฟิสิกส์ เมื่อปี 2545
7. นายอรรพล แซ่ล้อ จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาฟิสิกส์ เมื่อปี 2545
สำหรับในปีการศึกษา 2546 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับรับสมัครนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อสมัครสอบคัดเลือกเข้าค่ายสาขาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ และรับสมัครนักเรียนระดับมัธยมศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อสอบคัดเลือกเข้าค่ายสาขาคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยรับสมัครระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2546 โดยมีผู้สมัครสอบคัดเลือกทั้งหมด 1,860 คน จาก 68 โรงเรียน และสอบแข่งขัน ณ โรงเรียนเครือข่ายประจำจังหวัด ในวันที่ 7 กันยายน 2546โดยมีนักเรียนที่ผ่านคัดเลือกเข้าค่าย 1 จำนวน 193 คน จาก 25 โรงเรียน และนักเรียนได้เข้าค่าย 1 เมื่อวันที่ 4-20 ตุลาคม 2546 โดยในค่าย 1 ปีการศึกษา 2546 ได้มีการขยายความร่วมมือทางวิชาการไปให้โรงเรียนเครือข่าย ในการเป็นศูนย์การจัดค่าย 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง จัดค่ายสาขาคณิตศาสตร์ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย จัดค่ายสาขาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน จัดค่ายสาขาเคมี และโรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ จัดค่ายสาขาฟิสิกส์
หลังจากนั้นจะได้คัดเลือกนักเรียนจากค่าย 1 เพื่อเข้าค่าย 2 สาขาวิชาละประมาณ 20 คน ยกเว้นสาขาฟิสิกส์รับจำนวน 35 คน ทั้งนี้เพราะจะมีนักเรียนจากค่าย 2 สาขาฟิสิกส์จำนวน 10 คน จะได้รับการคัดเลือกไปเข้าค่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์ต่อ ในช่วงเดือนเมษายน 2547 และนักเรียนจะเข้าค่าย 2 ณ คณะวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 6-22 มีนาคม 2546
สืบเนื่องจากปีการศึกษา 2545 คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้จัดโครงการนำร่องค่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก ดังนั้นในปีการศึกษา 2546 จึงได้มีการจัดค่ายสาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์เพิ่มขึ้นอีก 1 สาขา ซึ่งจะมี 2 ระดับคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รับสมัครพร้อมกับสาขาอื่นๆ แต่รับสมัครนักเรียนจากภาคเหนือทั้งหมด โดยมีผู้สมัครสอบทั้งหมด 789 คน จาก 46 โรงเรียน และคัดเลือกเพื่อเข้าค่าย 1 เพียง 35 คน จาก 14 โรงเรียน ซึ่งได้มาเข้าค่ายที่คณะวิทยาศาสตร์ระหว่างวันที่ 6-16 ตุลาคม 2546 หลังจากสิ้นค่าย 1 จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าค่าย 2 จำนวน 20 คน โดยจะเข้าค่ายในช่วงวันที่ 14-23 มีนาคม 2547 สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อนักเรียนเข้าค่าย 2 สาขาฟิสิกส์แล้ว จะสอบคัดเลือกให้เข้าค่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จากศูนย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศูนย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์ละ 10 คน เพื่อเข้าค่ายสาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ รวมจำนวน 20 คน
นอกจากนั้นในปีการศึกษา 2546 นายศรัณย์ อาฮูยา นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติ สาขาคณิตศาสตร์ ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 7-19 กรกฎาคม 2546 โดยนายศรัณย์ อาฮูยา ได้รับเกียรติคุณประกาศ จากการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการดังกล่าว

โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับโรงเรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ รวม 24 สถาบันทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแสดงถึงความเข้าใจและร่วมมือกันในการดำเนินงานตามโครงการร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียน โดยคณะวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545
สำหรับในปีงบประมาณ 2546 เป็นปีที่ 2 ของโครงการ ซึ่งได้ดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวปีงบประมาณ 2545 คือได้กำหนดเป้าหมายการทำงานให้สอดคล้องกับโครงการว่าด้วยความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียนไว้ 2 แนวทาง คือการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมสำหรับผู้เรียน โดยจะรับโรงเรียนเข้าร่วมในโครงการในปีแรกอย่างน้อย 4 โรงเรียน เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 2 โรงเรียน และโรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 โรงเรียน และจะขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นในปีต่อไป สำหรับอีกแนวทางหนึ่งคือจะดำเนินการจัดฝึกอบรมครูเพื่อเพิ่มศักยภาพของครู และให้ได้หลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยการดำเนินการทั้งสองแนวทางนั้น จะให้มีควบคู่กันไปตลอดโครงการและในปีการศึกษา 2546 มีการดำเนินงาน ดังนี้

1. สำหรับโรงเรียนแกนนำในโครงการปี 2546 มี 9 โรงเรียนคือ
1) โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
2) โรงเรียนคณฑีพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
3) โรงเรียนแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
4) โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
5) โรงเรียนวัดคูยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
6) โรงเรียนชุมชนบ้านคณฑี (ประสิทธิ์อุปถัมภ์)
7) โรงเรียนบ้านกาดเขมวังส์ อำเภอบ้านกาด จังหวัดเชียงใหม่
8) โรงเรียนห้วยน้ำจาง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
9) โรงเรียนบ้านเหล่าเป้า กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

2. กิจกรรมที่ดำเนินการ

ส่วนที่ 1 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทางคณะวิทยาศาสตร์ ได้มอบหมายให้ รศ.สมัย ยอดอินทร์ เป็นประธานคณะทำงานฯ โดยมีตัวแทนจากภาควิชาร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อดำเนินการ 2 ชุด คือ คณะทำงานโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน และคณะทำงานโครงการร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียน ฝ่ายหลักสูตร สามารถสรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วดังนี้

ช่วงเวลา

กิจกรรม

1. 28 พย.-1 ธ.ค 45

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนสังวาลย์วิทยา โดยในการจัดค่ายดังกล่าว ได้มีนักเรียนและครูจากโรงเรียนมกุฎเมือง จังหวัดระยอง เข้าร่วมการจัดค่ายด้วย

2. 1-2 เม.ย. 46

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำ Benchmark วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของ 4 มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคเหนือ” ผู้เข้าร่วมประชุมนวน 80 คน ประกอบด้วย คณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ที่สอนกระบวนวิชาพื้นฐานระดับปริญญาตรี จากภาควิชาต่างๆ ของทั้ง 4 มหาวิทยาลัยคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและมหาวิทยาลัยแม่โจ้

3. 3-5 พ.ค. 46

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำ Benchmark และ Strand map วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับโรงเรียนในเขตภาคเหนือ” ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 246 คน ประกอบด้วย คณาจารย์จาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครูจากโรงเรียนแกนนำ ในความดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ผู้แทนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศึกษานิเทศก์จากกรมสามัญศึกษา ผู้แทนจากกรม วิชาการ

4. 26-30 เม.ย. 46

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ ตำบลหว้ากอ อำเภอหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

5. 15-18 พ.ค. 46

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

6. 19-21 พ.ค. 46

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม

7. 12-15 ก.ค. 46

การจัดกิจกรรม Day Camp ณ โรงเรียนแม่แจ่ม และโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม

8. 25-27 ก.ค. 46

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนบ้านกาดเขมวังส์ โรงเรียนห้วยน้ำจาง และโรงเรียนบ้านเหล่าเป้า

9. 3-5 ต.ค. 46

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนบ้านทรายมูล

10. 11-18 ต.ค. 46

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล ณ โรงเรียนมกุฏเมืองราชวิทยาลัย

11. 30 ต.ค. – 2 พ.ย. 46

การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนเวียงเจดีย์

12. 14-16 พ.ย. 46 การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคมและโรงเรียนเวียงตาล
13. การเยี่ยมโรงเรียนระหว่างปี คณะทำงานได้ไปเยี่ยมโรงเรียนแกนนำและโรงเรียนแนวร่วม เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำหลักสูตรและกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ โดยเฉลี่ยโรงเรียนละ 1 ครั้งต่อเดือน


ส่วนที่ 2 การดำเนินการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของครูและนักเรียน สามารถสรุปกิจกรรมได้ดังนี้

ที่

โครงการ

1.

ภาควิชาธรณีวิทยา จัดกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง ทรัพยากรน้ำบาดาล-การอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1” วันที่ 14-15 ธันวาคม 2546

2.

ภาควิชาคณิตศาสตร์และภาควิชาสถิติ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง “คณิตศาสตร์และสถิติกับวิถีชุมชน” วันที่ 17-21 มีนาคม 2546

3.

คณะกรรมการฝ่ายประกวดโครงการวิทยาศาสตร์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง” วันที่ 10-11 เมษายน 2546

4.

ภาควิชาธรณีวิทยา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการธรณีศาสตร์ เรื่อง “ธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีสำหรับครูในระดับมัธยมศึกษา” จัดวันที่ 5-9 พฤษภาคม 2546

5.

ภาควิชาธรณีวิทยาจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเรื่อง “การให้ความรู้พื้นฐานทางด้านน้ำดาลแก่นักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา” จัดระหว่างปี 2546

6.

ภาควิชาฟิสิกส์ จัดโครงการอบรมครู เรื่อง “การจัดการเรียนการสอนดาราศาสตร์และอวกาศ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา” วันที่ 2-12 มีนาคม 2546

7.

คณะกรรมการ สอวน.ภูมิภาค จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเตรียมความพร้อมของวิทยากรค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1 ปีการศึกษา 2546” วันที่ 9 สิงหาคม 2546

8.

คณะกรรมการฝ่ายประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ จัดโครงการ “การเสนอผลงานทางวิชาการโครงงานวิทยาศาสตร์ ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2546” วันที่ 18 สิงหาคม 2546

9.

ภาควิชาเทคโนลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการการฝึกอบรมปฏิบัติการ เรื่อง “การบูรณาการ ICT ไปใช้ในการเรียนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในภาคเหนือตอนบน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” วันที่ 3-5 กันยายน