1. ชื่อหน่วยวิจัย : หน่วยวิจัยเซรามิกอุตสาหกรรม
Industrial Ceramic Research Unit
ภาควิชา เคมีอุตสาหกรรม
2. ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย นาย ศักดิพล เทียนเสม

3. สมาชิก
1. นาย กาญจนะ แก้วกำเนิด
2. นาย อภินนท์ นันทิยา
3. นางสาว เกศรินทร์ พิมรักษา

4. หลักการและเหตุผล
ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือมีแหล่งวัตถุดิบสำคัญต่ออุตสาหกรรมเซรามิกมากมาย จึงทำให้มีโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกตั้งแต่ขนาดเล็กประเภทผลิตในครัวเรือน ชุมชน จนถึงโรงงานขนาดใหญ่ระดับอุตสาหกรรมเพื่อเน้นการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอย่างเป็นระบบ โรงงานเซรามิกเหล่านี้สามารถผลิตสินค้าทั้งเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไสู่ตลาดต่างประเทศ นำเงินเข้าสู่ประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมระดับต้นๆ ได้ แต่ลักษณะการดำเนินการอุตสาหกรรมเหล่านั้น ยังขาดองค์ความรู้และความเข้าใจที่แท้จริงในการจัดการวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ รวมไปถึงการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตอีกด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาและการสูญเสียในกระบวนการผลิตอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งโรงงานทุกขนาดยังไม่มีส่วนงานของการออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ ผลผลิตที่ได้จึงยังไม่สามารถเข้าสู่ระดับของการกำหนดตลาดได้ กลุ่มวิจัยจึงประสงค์จะจัดตั้งหน่วยวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในแง่ของวัสดุและการควบคุมกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง เพื่อให้ทราบถึงหลักการในเชิงทฤษฎีและกระบวนการในเชิงปฏิบัติ ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเซรามิก ทั้งในประเด็นของการแก้ไขปัญหาในโรงงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเพื่อเป็นสร้างแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในอนาคต รวมถึงการพัฒนาวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่เพื่อให้สามารถกำหนดตลาดและสามารถนำเงินเข้าสู่ประเทศได้มากขึ้นในอนาคตอีกด้วย

5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
5.1 บริการวิชาการแก่บุคคลหรือองค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกในพื้นที่ภาคเหนือ
5.2 พัฒนาองค์ความรู้ในแง่ของวัสดุ การจัดการวัตถุดิบ และการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต
5.3 ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวัสดุ การจัดการวัตถุดิบ และการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย
5.4 เผยแพร่ผลงานวิจัยที่สำเร็จสู่ชุมชน
5.5 มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือวารสารสมาคมวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับภายในประเทศหรือในระดับสากล อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง
5.6 สนับสนุนการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรีและวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่
6.1 เครื่อง Differential Thermal Analyzer (DTA)
6.2 เครื่อง Thermogravimetric Analyzer (TGA)
6.3 เครื่องวัดขนาดอนุภาค (Particle size Analyzer)
6.4 เตาเผาอุณหภูมิสูง
6.5 เครื่องย่อยและเครื่องบด
6.6 เครื่อง Spray Dryer
6.7 เครื่องอัดขึ้นรูประบบไฮดรอริก
6.8 เครื่องวัดความหนืด (Brookfield Viscometer)
6.9 เครื่องวัดพื้นที่ผิว (BET)
6.10 เครื่องทดสอบความแข็งร็อกเวลส์
6.11 เครื่อง Dilatometer
6.12 pH meter
6.13 เครื่องวัดความชื้น

7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา
หน่วยวิจัยอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง จึงยังไม่มีผลงานที่จะเผยแพร่

8. แผนดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่างๆ ในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการสนับสนุน
8.1 Dental Porcelain from raw materials in Thailand
8.2 HAP for artificial bone
8.3 Chemical Porcelain for Laboratory
8.4 Hard Porcelain for Technical ceramic
8.5 Soft Porcelain for Tableware from raw materials in Thailand
8.6 การศึกษาสมบัติทางคอลลอยด์ กระแสวิทยา (rheology)
8.7 การศึกษาสมบัติเชิงกลของ alumina-silicon carbide composite
8.8 การศึกษากลไก liquid phase sintering ของอลูมินาและซิลิกอนคาร์ไบด์
8.9 การผลิตวัสดุก่อสร้างจากของเหลือใช้ในท้องถิ่น