1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย การติดตามตรวจสอบมลภาวะ
Pollution Monitoring Research Laboratory
ภาควิชา เคมี
2. ชื่อผู้ประสานงาน อ.ดร. สมพร จันทระ

3. สมาชิก
1. อ.ดร. อุไร เต็งเจริญกุล
2. อ.ดร. วนารักษ์ ไซพันธ์แก้ว
3. อ.ดร. ทินกร เตียนสิงห์

4. หลักการและเหตุผล
สภาวะแวดล้อมในปัจจุบันโดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เลวร้ายลงไปเมื่อเทียบกับอดีต ปัญหามลภาวะต่าง ๆ ทั้งมลภาวะทางน้ำ อากาศ และอื่น ๆ มีสาเหตุมาจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว การบุกรุกพื้นที่ป่า หรือพื้นที่ริมแม่น้ำ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่คำนึงถึงการทดแทน การเผาขยะในฤดูแล้ง การจราจรที่หนาแน่น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการติดตามตรวจสอบมลภาวะเหล่านี้ โดยการวิเคราะห์ชนิด และปริมาณของมลสารต่าง ๆ เช่น สารอินทรีย์ก่อมะเร็ง สารกรดในอากาศ สารพิษที่ปนเปื้อนในน้ำ ทั้งจากที่เกิดเองโดยธรรมชาติและการสังเคราะห์ เช่น โลหะหนัก สารกำจัดศัตรูพืช และสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ได้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและผลักดันให้เกิดมาตรการเพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ต่อไป
นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการผลิตบัณฑิต รวมถึงการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และนำเสนอในที่ประชุมวิชาการต่าง ๆ ด้วย

5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
1) เพื่อวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของมลสารในสิ่งแวดล้อม
2) เพื่อติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของมลสารต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม
3) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม
4) ผลิตผลงานวิจัย เพื่อตีพิมพ์และนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
5) สร้างความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการวิจัย / นักวิจัย
6) บูรณาการกิจกรรมวิจัยรวมกับการเรียนการสอน โดยการให้นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ (บัณฑิต 2 คน มหาบัณฑิต 2 - 3 คน)
เป้าหมาย
1.) ทราบชนิดและปริมาณของมลสารที่สนใจในสิ่งแวดล้อม
2.) ทราบถึงสภาพมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3.) ลดความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากมลสารดังกล่าว
4.) ผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์และนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
5.) เกิดความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการวิจัย
6.) เกิดการบูรณาการกิจกรรมวิจัยร่วมกับการเรียนการสอน

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่
6.1 อุปกรณ์เก็บตัวอย่างน้ำ 6.6 GC
6.2 เครื่องเก็บอากาศขนาดเล็ก (minivolume air sampler) 6.7 Ultrasonicator
6.3 Spectrophotometer 6.8 Extraction denice
6.4 IC 6.9 pH meter
6.5 HPLC 6.10 Conductometer

7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2545 - 2546)

7.1 ผลงานที่เสนอในที่ประชุมวิชาการ
  1) Nutniyom, P., Vijaranakorn, T. and Chantara S., 2003. Optimization of microcystins extraction and monitoring of toxins in water samples from Mae Kuang Udomtara Reservoir, Chiang Mai Province. Abstract of International Conference on Water Resources Management for Safe Drinking Water, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai.
2) Vijaranakorn, T., Nutniyom, P. and Chantara S., 2003. Distribution of Microcystis aeroginosa K?tz and water quality in Mae Kuang Udomtara Reservoir, Chiang Mai Province. Abstract of International Conference on Water Resources Management for Safe Drinking Water, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai.
3) Subsri, P. and Saipunkaew, W., 2002., Mango tree bark as bioindicator for air pollution monitoring in Chiang Mai City, Chiang Mai Journal of Science, Vol. 29 (3) : 182 - 188.
7.2 โครงการวิจัยที่ได้รับทุน
ชื่อโครงการ
หน่วยงานที่ให้ทุน
งบประมาณที่ได้รับ
ปีที่ได้รับ
การติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
กรมควบคุมมลพิษ
421,080 บาท
พ.ศ. 2546
โครงการศึกษา สภาพปัญหาของแม่น้ำปิงกับภาวะสุขภาพของชุมชน
สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข
(สวรส.)
364,100 บาท
พ.ศ.2545

8. แผนดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่าง ๆ ในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการสนับสนุน

กิจกรรม
เดือน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
1. งานวิจัยโครงการการตกสะสมของกรดฯ
2. งานวิจัยโครงการ HIA ปิง
3. บูรณาการกิจกรรมวิจัยร่วมกับการเรียนการสอน
4. นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
5. ให้บริการวิชาการ