1. ชื่อห้องปฏิบัติการ หอพรรณไม้และฐานข้อมูลของพืชพรรณ
Herbarium and Flora Database
ภาควิชา ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. รศ. ดร. วิไลวรรณ อนุสารสุนทร (scboi012@chiangmai.ac.th) ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
2. Mr. J.F. Maxwell (scopplrn@chiangmai.ac.th) สมาชิก
3. Dr. Stephen Elliott (aquarius99@hotmail.com) สมาชิก
4. นางปราณี ปาลี (ppalee@hotmail.com) สมาชิก
5. นายเกริก ผักกาด (g4265301@cm.edu) สมาชิก
6. นางสาววังวร สังฆเมธาวี (swangworn@hotmail.com) สมาชิก
7. นางสุรีย์พร เจรียงประเสริฐ (s_vipoosunti@yahoo.com) สมาชิก
8. นางสาวรุ่งทิวา สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล
ภาควิชาชีววิทยา นอกจากจะให้บริการทางด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นแหล่งศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนบนอีกด้วย ปัจจุบันนี้ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้และงานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งพรรณพืช (flora) ของบริเวณต่าง ๆ มากพอที่จะให้บริการและเผยแพร่ความรู้ไปยังนักวิชาการและชุมชนที่สนใจที่จะค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมในแนวประยุกต์ได้ สมาชิกที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหอพรรณไม้ได้ให้บริการแก่บุคคลภายนอกที่เข้ามาขอใช้บริการในการให้คำปรึกษา ตลอดจนช่วยบ่งบอกชนิด (identify) พรรณพืชเสมอมา และจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้บริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้มาขอใช้บริการได้แก่ นักวิจัยเกี่ยวกับพรรณไม้ บุคลากรจากองค์กรเอกชน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สมาชิกผู้ร่วมงานมีความเห็นว่าสมควรจะจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อให้มีการเก็บตัวอย่างพืชเพิ่มขึ้น มีการวิจัยเกี่ยวกับตัวอย่างเหล่านี้ เพื่อจะได้เป็นแหล่งวิชาการทางด้านพรรณพืชของคณะต่อไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเก็บพรรณไม้แห้งในภาคเหนือ
2. เพื่อทำการวิเคราะห์พรรณไม้ตามวิธีทางพฤกษอนุกรมวิธาน
3. เพื่อสร้างฐานข้อมูลของตัวอย่างพรรณไม้
4. เพื่อให้บริการแก่ชุมชนเกี่ยวกับแหล่งพืชพรรณ และในการบ่งชนิดของพรรณไม้

5. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 เก็บและบันทึกข้อมูลของพรรณไม้ในบริเวณภาคเหนือตอนบน
5.2 เก็บตัวอย่างและศึกษาอนุกรมวิธานของ ไลเคน วงศ์ Pertusariaceae ของประเทศไทย
5.3 ศึกษาพรรณไม้บางสกุลในวงศ์ Gesneriaceae ของประเทศไทย

6. อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว
6.1 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง
6.2 เครื่องมือใช้ในการอัดแห้งของพืช
6.3 ตู้อบขนาดใหญ่
6.4 ตำราพรรณไม้ต่าง ๆ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรูปวิธานในการบ่งชนิดของพืช
6.5 สารเคมีที่จะรักษาสภาพตัวอย่างพืชแห้ง
6.6 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 งานเกี่ยวกับพรรณไม้
7.1.1 การเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ปี 2545 เก็บตัวอย่างจำนวน 1,900 ตัวอย่าง
7.1.2 งานวิจัย "ศึกษาพรรณไม้บางสกุลในวงศ์ Gesneriaceae ของประเทศไทย" ได้รับทุนสนับสนุน จากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
7.1.3 งานวิจัย "อนุกรมวิธาน และนิเวศวิทยาของไลเคนวงศ์ Pertusariaceae ในประเทศไทย" ได้รับทุนสนับสนุน จากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
7.1.4 การให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ และนักเรียนจากค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์
7.2 ผลงานตีพิมพ์
Maxwell, J.F., S. Elliott, and V. Anusarnsunthorn, 1997. The vegetation of Jae Sawn National Park, Lampang Province, Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 45(1): 71-97.
Maxwell, J.F.1998. Upland Vegetation of Doi Chiang Dao Wildlife Sancturary, Chiang Mai Province, Thailand. Tigerpaper 25:3, 5-11.
Maxwell, J.F. 1998. Botanical Notes on the Flora of Northern Thailand, 6. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 46:2, 151-159.
Maxwell, J.F. 1998. Description of Vegetation Types In Altobelli, A.; G. Daconto., E. Feoli, J.F. Maxwell, C. Milesi, and E. Rui. Environmental Protection and Community development in Siphandone Wetland; Champasak Province, Lao P.D.R. Environlment assesment of Siphanone Wetland, Interim Report, June 1998; CESVI (Italy); 30-43.
Maxwell, J.F. 1998. Botanical Note : Book Review, Alain Mauric. A Bibliography of Taxonomic Revisions for Vascular Plants in Thailand (October 1998). Nat. Hist. Bull., Siam Soc. 46:2, 245.
Maxwell, J.F. & V. Anusarnsunthorn.1999. Distribution and Conservation of Bamboo Species in Northern Thailand. In A.N. Rao & V. Ramanatha Rao (eds.). Bamboo and Rattan Genetic Resources and Use and Research Report. IPGRI-APO; Serdang, Malaysia; 131-155.
Maxwell, J.F. 2000. Vegetation in The Seephandon Wetland, LAO PDR. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 48: 47-93.
Pranee Palee and Maxwell J.F. 2000. Vascular Flora of Doi Muang Awn, Chiang Mai Province, Northern Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam. Soc. 48: 95-116.
Gardner, S.,P. Sidisunthorn and V. Anusarnsunthorn. 2000. A Field Guide to Forest Trees of Northern Thailand. Kobfai Publishing Project, Bangkok, Thailand: 545 pp.
Maxwell, J. F. & S. Elliott. 2001.Vegetation and Vascular Flora of Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai. Published by The Biodiversity Research and Training Program (BRT), Thailand: 205 pp.
7.3 การเสนอในที่ประชุม สัมมนา
7.3.1 Pranee Palee, F. B. Sampson and Vilaiwan Anusarnsunthorn, 2002. Pollen morphology in some genera of Gesneriaceae . Poster presentation 3 th ASEAN Microscopy Conference and 19 th Annual Conference of EMST , January 30 - February 1, 2002. Chiang Mai Thailand.
7.3.2 Jariangprasert S., A.W. Archer, J.A. Elix & V. Anusarnsunthorn. Taxonomy of the lichen family Pertusariaceae in Thailand. Poster abstract in IMC 7. Book of Abstracts, the 7th International Mycological Congress, Oslo 11 - 17 August, 2002.
7.3.3 Pranee Palee, F. B. Sampson and Vilaiwan Anusarnsunthorn. Palynology of some species of Gesneriaceae in Thailand. เสนอโดยการบรรณยายในการประชุมเสนอผลงานวิจัย ระดับ บัณฑิตศึกษาของประเทศไทย ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กรกฎาคม 2545 ณ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
7.3.4 สุรีย์พร เจรียงประเสริฐ และ วิไลวรรณ อนุสารสุนทร. อนุกรมวิธานของไลเคนวงศ์ Pertusariaceae ในประเทศไทย เสนอโดยการบรรณยายในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษาของประเทศไทย ครั้งที่ 3 ระหว่าง วันที่ 18 - 19 กรกฎาคม 2545 ณ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
7.3.5 Wangworn Sankamethawee, V. Anusarnsunthorn, and J.F. Maxwell, 2003. Vascular Ground Flora in a Dipterocarp-Oak Forest in Northern Thailand Chiang Mai Province, Northern Thailand. Poster presentation in the 1ST GTI Global Taxonomy Initiative Regional Workshop in Asia,10 - 17 September, 2003 at Putrajays, Malaysia.

8. การให้บริการทางวิชาการของหน่วยวิจัยฯ
เดือนตุลาคม 2544 - กันยายน 2545 ได้ให้บริการทางวิชาการดังนี้
8.1 ให้บริการทางวิชาการแก่ผู้มาใช้หอพรรณไม้ จำนวนประมาณ 120 คน