1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย พฤกษศาสตร์พื้นบ้านและพรรณพฤกษชาติในภาคเหนือ
Ethnobotany and Northern Thai Flora
ภาควิชา ชีววิทยา

2. ชื่อผู้ประสานงาน นางชูศรี ไตรสนธิ

3. สมาชิก
นายปริทรรศน์ ไตรสนธิ
นายประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์
นางสาวอรุโณทัย จำปีทอง
นางสาวอังคณา อินตา

4. ปีที่เริ่มจัดตั้ง พ.ศ. 2543

5. กิจกรรมของห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา
5.1 งานวิจัย

- ความหลากหลายของพรรณพืชในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน
- พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาในเขตพัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ ขุนวาง และ ขุนแปะ จ. เชียงใหม่
- การเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคและนิเวศวิทยาของ ตะไคร้ต้นจากแหล่งต่างๆ ในจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่
- ความหลากหลายของพรรณพืชบนดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
- Ecological and Ethnobotanical Studies in Doi Chiang Dao, Chiangmai
5.2 เป็นวิทยากรอบรมและประชุมวิชาการ

  5.2.1

บรรยาย " สองทศวรรษแห่งการวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรมูลนิธิโครงการหลวง" ในการสัมมนาเรื่อง การพัฒนาพืชสมุนไพรมูลนิธิโครงการหลวงในเชิงการค้า วันที่ 27 ธันวาคม 2545

  5.2.2

การบรรยายทางวิชาการ ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เรื่อง พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในอาฟริกา วันที่ 29 มกราคม 2546

  5.2.3

บรรยายเรื่อง Ethnobotanical Activities in Chiangmai University ใน Sino-Thai Training Workshop on Ethnobotany ณ Yunnan, China. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546

  5.2.4

บรรยายเรื่อง งานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในโครงการอบรมนักศึกษาภาคฤดูร้อนของ โครงการ BRT วันที่ 29 เมษายน 2546

5.3 ร่วมจัดนิทรรศการ " จากทะเลสู่ดอยสุเทพ " ณ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6. ประวัติผลงานที่ผ่านมานับแต่ก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัย
6.1 ผลงานตีพิมพ์


ชูศรี ไตรสนธิ และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านบนดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย . วารสารวิทยาศาสตร์ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2543 , หน้า 372-377.
ชูศรี ไตรสนธิ . พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน . ชีวปริทรรศน์ ปีที่ 3 เล่ม 2 หน้า 2-5.
Trisonthi, C. and P. Trisonthi . 1999 . A new description of Kadsura ananosma Kerr (Schisandraceae ) . Thai For. Bull. (Bot ) 27 : 31-35 .
Olsen, C.S. C. Traynor, C. Trisonthi and I. Burikam . 2001 . The Forest as a Resource for Non-timber Procuce. in Forest in Culture - Culture in Forest . Research Center onForest and People in Thailand . p. 131-145.


6.2 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุม

ชูศรี ไตรสนธิ และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . พืชอาหารและสมุนไพรบนดอยอ่างขาง . การประชุมวิชาการประจำปี โครงการหลวง วันที่ 4 ตุลาคม 2543 . เชียงใหม่ .
เด่น เครือสาร ชูศรี ไตรสนธิ กนก ฤกษ์เกษม และ วีระชัย ณ นคร . การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพืชของชาวม้งในหมู่บ้านผาปู่จอม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ .การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่26 ตุลาคม 2543 . กรุงเทพฯ
อรุโณทัย จำปีทอง ปริทรรศน์ ไตรสนธิ และชูศรี ไตรสนธิ . การสำรวจพืชดอกที่ขึ้นตามธรรมชาติในบางพื้นที่ของดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ . การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 ตุลาคม 2543 . กรุงเทพฯ .
Trisonthi, C. and P. Trisonthi . Non-timber Forest Products on Doi Intanon . Mid-term Workshop on Forest and People in Thailand . 20-22 October 2000 . Chiangmai .
รัชชุพร สภานุชาต ชูศรี ไตรสนธิ และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . พืชเครื่องเทศในสกุล Zanthoxylum บางชนิดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 . ตุลาคม 2544 . สงขลา .
บรรณารักษ์ ปันทะรส ปริทรรศน์ ไตรสนธิ และ ชูศรี ไตรสนธิ . การสำรวจและเก็บรวบรวมพืชสมุนไพรบริเวณหมู่บ้านนาขวาง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน .การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 . ตุลาคม 2544 . สงขลา .
ชูศรี ไตรสนธิ และคณะ . การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงบ้านอ่างกาน้อย จังหวัดเชียงใหม่ .การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 ตุลาคม 2544 . สงขลา .
อังคณา อินตา และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . สัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเจียวกู้หลาน (Gynostemma pentaphyllum) .ในเขตภาคเหนือตอนบน .การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 ตุลาคม 2544 . สงขลา .

6.3 โครงการวิจัยที่ได้รับทุน


6.3.1 การสำรวจพรรณพฤกษชาติและภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้พืชของชนกลุ่มน้อยบนดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ . ทุนมูลนิธิโครงการหลวง . 2543 .
6.3.2 การสำรวจพรรณพฤกษชาติบนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน . ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก . 2541-2545
6.3.3 Non-timber Forest Products บนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ . ทุนองค์กร DANCED ประเทศเดนมาร์ค . 2542-2544 .
6.3.4 การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในเขตพัฒนาของโครงการหลวง เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพรพื้นบ้านบนที่สูง . ทุนมูลนิธิโครงการหลวง .2543-44 .
6.3.5 การศึกษาสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเจียวกู้หลานที่พบจากแหล่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ . ทุนมูลนิธิโครงการหลวง . 2543-44 .
6.1.6 การทบทวนอนุกรมวิธานของพืชวงศ์บัว ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก . 2544-2548

7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา
7.1 ผลงานตีพิมพ์


ชูศรี ไตรสนธิ และ รัชชุพร สภานุชาต (2545) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชเครื่องเทศสกุล Zanthoxylum บางชนิดในภาคเหนือตอนบน . รวมผลงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงประจำปี 2545 หน้า 149 - 165.
ปริทรรศน์ ไตรสนธิ และ อังคณาอินตา (2545) สัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเจียวกู้หลาน (Gynostemma pentaphyllum ) ในเขตภาคเหนือ . รวมผลงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงประจำปี 2545 . หน้า 166 - 179 .
Trisonthi, C. et al. (2002) Ecological and Ethnobotanical Studies in Doi Chiang Dao Areas, Chiangmai Province . Report submitted to DANIDA.

7.2 ผลงานวิจัยเสนอในที่ประชุม

Trisonthi, C., P. Trisonthi and P. Apawatcharut (2002) Karen Traditional Plants Usage in Mae Hong Son Province, Thailand. 8th International Congress of Ethnobiology, Addis Ababa, Ethiopia. 14 - 24 September 2002.
Wangpakapattanawong, P. et al. (2002) Shifting Cultivation, Plant Diversity, Food Security and Health Condition of the Karen Hill Tribe in Northern Thailand : How are they Connected ? 8th International Congress of Ethnobiology, Addis Ababa, Ethiopia. 14 - 24 September 2002.
พฤษภา ภู่ปาน ปริทรรศน์ ไตรสนธิ และ ชูศรี ไตรสนธิ (2545) การเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา และกายวิภาควิทยาของตะไคร้ต้นจากแหล่งต่างๆ ในจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่ การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 ตุลาคม 2545 . กรุงเทพฯ .
อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ชูศรี ไตรสนธิ และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ (2545) พรรณไม้ดอกในป่าธรรมชาติบนดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่.การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 ตุลาคม 2545 . กรุงเทพฯ .
Trisonthi, C. et al. (2003) Ecological and Ethnobotanical Studies in Doi Chiang Dao, Chiangmai . Regional Botanical Garden Conference. QSBG 1-4 April 2003.
Srisanga, P. and C. Trisonthi (2003) Botanical Exploration in Doi Phuka National Park, Nan Province, Thailand. RGJ -Ph.D. Congress IV . Pattaya, Cholburi.
25-27 April 2003.

7.3 ความร่วมมือกับต่างประเทศ
ชื่อสถาบัน Xishuangbanna Tropical Botanical Garden, Chinese Academy of Sciences,
ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปีที่เริ่มต้นความร่วมมือ กุมภาพันธ์ 2546
มีความร่วมมือด้าน Ethnobotany

7.4 โครงการวิจัย

7.4.1 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวลัวะในสถานีโครงการหลวง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
7.4.2 การจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์พืชและการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาในเขตศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า
7.4.3 การศึกษาสัณฐานวิทยา กายวิภาคและนิเวศวิทยาของตะไคร้ต้นจากแหล่งต่างๆในจังหวัดน่านและเชียงใหม่
7.4.4 การศึกษาสัณฐานวิทยา กายวิภาคและนิเวศวิทยาของพืชในสกุล Zanthoxylumจากแหล่งต่างๆ ในเขตภาคเหนือตอนบน
7.4.5 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาในเขตพัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ขุนวาง และ ขุนแปะ จ. เชียงใหม่

7.5 การให้บริการวิชาการ

7.5.1 บรรยายเรื่อง " สองทศวรรษแห่งการวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรมูลนิธิโครงการหลวง " ในการสัมมนาเรื่อง การพัฒนาพืชสมุนไพรมูลนิธิโครงการหลวงในเชิงการค้า วันที่ 27 ธันวาคม 2545 บุคคลที่รับบริการ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง และ ผู้ที่สนใจ ปริมาณงาน 1 ชั่วโมง
7.5.2 การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง " พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในอาฟริกา " ณ ห้องประชุม 1 อาคารศูนย์สารนิเทศ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ เชียงใหม่
วันที่ 29 มกราคม 2546 บุคคลที่รับบริการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และ ผู้สนใจทั่วไป ปริมาณงาน 2 ชั่วโมง
7.5.3 การบรรยายเรื่อง Ethnobotanical Activities in Chiangmai University ณ Xishuangbanna Tropical Botanic Garden, China วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546
บุคคลที่รับบริการ นักศึกษา และนักวิชาการปริมาณงาน 30 นาที
7.5.4 การบรรยายทางวิชาการเรื่อง "งานวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น " ในการอบรมนักศึกษาภาคฤดูร้อนของโครงการ BRT ณ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บุคคลที่รับบริการ นักศึกษาปริมาณงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที

7.6 บูรณาการกิจกรรมวิจัยร่วมกับการเรียนการสอน
งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา และใช้ในการเรียนการสอน

8. แผนดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่างๆในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการต่ออายุ


8.1 ความร่วมมือกับต่างประเทศตามข้อ 7.3
8.2 การได้รับทุนจากองค์กรต่างประเทศ และจากองค์กรในประเทศเพื่อการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
8.3 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการต่างๆ ตามที่ได้ระบุในข้อ 7.1, 7.2 และ 7.5
8.4 ผลการวิจัยพรรณพืชบนดอยภูคา จังหวัดน่าน ได้รับเลือกให้เป็นผลงานวิจัยเด่นของโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ซึ่งได้แถลงข่าวในการประชุมระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2546