1. ห้องปฏิบัติการวิจัย จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม
Environmental Microbiology Research Laboratory
ภาควิชา ชีววิทยา
2. ชื่อผู้ประสานงาน ดร. สกุณณี บวรสมบัติ

3. ชื่อสมาชิ
1. ดร.อุราภรณ์ สะอาดสุด
2. ผศ.อภิญญา ผลิโกมล
3. ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ จาติเสถียร
4. อ. ฉัตรชัย กิติพรชัย
5. ดร.ยิ่งมณี ตระกูลพัว
6. นายนิเวศน์ ศรีล้อม
7. นายสุนทร จอมมาวรรณ
8. นายสมบัติ ใจคำ
9. นางสาวเครือวัลย์ ทองเล่ม

4. หลักการและเหตุผล

จุลินทรีย์ (microorganisms) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ แบคทีเรีย ฟังไจ และไวรัส จุลินทรีย์มีบทบาทอย่างยิ่งในสิ่งแวดล้อมซึ่งได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ อาหาร เป็นสิ่งมีชีวิตที่ให้ทั้งคุณและโทษ ดังนั้นห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมจัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาถึงคุณและโทษของจุลินทรีย์ที่ได้จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งการจัดการที่เหมาะสมในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างคุ้มค่า อาทิ การนำจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะทางด้าน Bioremediation ซึ่งในที่นี้มุ่งเน้นที่จะช่วยแก้ปัญหาสารพิษตกค้างทางการเกษตร การคัดเลือกจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อมต่างๆที่มีความสามารถในการผลิตสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ เช่นเอนไซม์เอนโดนิวคลีเอสไทป์ II สารที่เป็น secondary metabolitesในกลุ่ม geldanamycin, eliaophylin, nigericin และ polyene การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในอาหารต่าง ๆ ซึ่งใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหาร การผลิตอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ดิน น้ำ และ อาหาร เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นดัชนีชี้บ่งคุณลักษณะ ทั้งแบคทีเรีย ฟังไจ และไวรัส
2. เพื่อรวมรวมและคัดเลือกจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาสารพิษตกค้างทางการเกษตร
3. เพื่อคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตสาร secondary metabolitesในกลุ่ม geldanamycin, eliaophylin, nigericin และ polyene
4. เพื่อศึกษาจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของอาหาร และเครื่องดื่ม

6.อุปกรณ์และเครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
เครื่องมือกลางของสาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา ทั้งที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานและอุปกรณ์ชั้นสูง ซึ่งมีคุณภาพทีดีมีความเหมาะสมในการทำงานวิจัยในระดับหนึ่ง

7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา
7.1 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุม
1. S. Bovonsombut and T.R.G. Gray. 2002. Distribution of Arthrobacter and Related Organisms in Soils from Thailand. Abstract in Xth International Congress of Bacteriological and Applied Microbiology, 27 July- 1 August 2002, Paris, France.
2. Kato, F, K. Kanda,N. Shichijo, S. Bovonsombut, Y. Trakoolpau P.Vacharapiyasophon . 2002. Restriction enzyme production in thermotolerant soil bacteria. Abstract
in The 3nd JSPS-NRCT Joint Seminar on Development of Thermotolerant Microbial Resources and their Applications, 18-21 November, Chiang Mai, Thailand.
7.2 งานวิจัยที่ได้รับทุน
1. การใช้ประโยชน์จากข้าวเพื่อผลิตมิริน (เป็นผู้ร่วมโครงการ) แหล่งทุน:สภาวิจัยแห่งชาติ
7.3 กิจกรรมวิจัยร่วมกับการเรียนการสอนทุกระดับ
ปัญหาพิเศษ ปริญญาตรี
1.การคัดเลือกแบคทีเรียทนร้อนที่ผลิตเอนไซม์ตัดจำเพาะเอนโดนิวคลีเอสไทป์ II จากดิน บริเวณน้ำพุร้อน นางสาวสุทธินันต์ คำนา รหัสประจำตัว 4205449
2.การคัดเลือกแบคทีเรียทนร้อนที่ผลิตเอนไซม์ตัดจำเพาะเอนโดนิวคลีเอสไทป์ II จากดิน บริเวณที่เกิดไฟป่า นายสรายุทธ ซางเลง รหัสประจำตัว 4205431
3.การทวนสอบระบบผลิตไอศกรีมในระดับอุตสาหกรรมทางด้านจุลชีววิทยาส่วนที่ I นางสาวขนิษฐา คงสุนทร รหัสประจำตัว 4205104
4.การทวนสอบระบบผลิตไอศกรีมในระดับอุตสาหกรรมทางด้านจุลชีววิทยาส่วนที่ II นางสาวสุนิสา บัวบาน รหัสประจำตัว 4205454
5.การใช้ประโยชน์จากกล้วยในการผลิตแผ่นเซลลูโลส นางสาวศิริปรางค์ ประธรรมสาร รหัสประจำตัว 4205416
6.การใช้ประโยชน์จากกล้วยและเปลือกในการผลิตแผ่นเซลลูโลส นางสาวศิริเพ็ญ สิริโรจนพุฒิ รหัสประจำตัว 4205418
วิทยานิพนธ์นักศึกษาป.โท
1. การคัดเลือกแบคทีเรียที่ย่อยสลายสาร 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก นางสาวณัฐยาน์ อุดมปรัชญาภรณ์ รหัสประจำตัว 4325263
2. การออกแบบกระบวนการหมักไวน์ข้าวเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตมิริน นางสาวสิริลักษณ์ อัตระผดุง รหัสประจำตัว 4325257

8. แผนดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่าง ๆ ในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการสนับสนุน
1. ขอทุนสนับสนุนการวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาระงานของห้องปฏิบัติการ
2. ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่าง ๆ