1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Postharvest Technology
ภาควิชา ชีววิทยา

2. ชื่อผู้ประสานงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร

3. ชื่อสมาชิก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบเกียรติ แสงนิล
อาจารย์ ดร.กานดา หวังชัย
อาจารย์ ดร.อุษาวดี ชนสุต
ดร.วิลาวัลย์ คำปวน
น.ส.ศิริรัตน์ เตปินยะ

4. ปีที่เริ่มจัดตั้ง

ห้องปฏิบัติการนี้ ได้จัดตั้งขึ้นมาโดย รศ.ดร.อรรณพ วราอัศวปติ และ รศ.ดร.จินดา ศรศรีวิชัย เป็นผู้ประสานงานมาก่อน ซึ่งเดิมเป็นหน่วยย่อยอยู่ภายใต้ศูนย์วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาได้ขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของภาควิชาชีววิทยา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ซึ่งปัจจุบันนี้ห้องปฏิบัติการนี้มีที่ปรึกษาคือ รศ.ดร.จินดา ศรศรีวิชัย

5. ประวัติผลงานที่ผ่านมา (ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา)
5.1 ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
Yantarasri, T. ; Ben-Yehoshua, S.; Rodov, V. ; Kumpoun, W. ; Uthaibutra, J. and J. Sornsrivichai. 1995. Development of perforated modified atmosphere package for mango. Acta Hort. 398 : 81-91.
กอบเกียรติ แสงนิล, มยุรี แก้วลับแล และจำนงค์ อุทัยบุตร. 2540. การเปลี่ยนแปลงปริมาณรงควัตถุ และสีแดงในเปลือกผลมะม่วงที่ห่อและไม่ห่อผลบนต้น. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19(2) : 173-180.
Kumpoun, W. ; Supyen, D. ; Kitsawatpaiboon, P. ; Sardsud, V. ; Chansri, P. ; Promin, S. and J. Sornsrivichai. 1998. Detection and isolation of antifungal compounds from the peel of pomelo (Citrus grandis (L.) Osb.). ACIAR Proceedings No. 80 : 223-227.

Saengnil, K. ; Wongchompoo, W. and J. Uthaibutra. 1998. Anthocyanin content and enzyme activity of phenylalanine ammonia-lyase (PAL) in some vegetables, fruits and flowers after harvesting. Songklanakarin J. Sci. Technol. 20(3) : 265-273.
Uthaibutra, J. ; Saengnil, K. ; Sornsrivichai, J. ; Kumpoun, W. and V. Sardsud. 1998. Effects of fruit positions and preharvest calcium dips on 'Nam Doc Mai' mango fruit quality. ACIAR Proceedings No. 81 : 27-30.
Kumpoun, W. ; Uthaibutra, J. ; Wongsheree, T. ; Sornsrivichai, J. ; Supyen, D. and V. Sardsud. 1998. Effects of carbon dioxide pulsing during the postharvest period on 'Nam Doc Mai' mango fruit. ACIAR Proceedings No. 81 : 49-54.
Ratanamarno, S. ; Uthaibutra, J. and K. Saengnil. 1999. Towards some quality attributes of mangosteen (Gracinia mangostana L.) fruit during maturation. Songklanakarin J. Sci. Technol. 21(1) : 9-15.
Sornsrivichai, J. ; Uthaibutra, J. and T. Yantarasri. 2000. Controlling of peel and fresh color development of mango by peforaiton of modified atmosphere package at different temperatures. Acta Hort. 509 : 387-394.
Whangchai, K. ; Gemma, H. ; Uthaibutra, J. and S. Iwahori. 2000. Endogenous polyamines in 'Nam Doc Mai' mangoes with different ripening stages and its relation to chilling injury during storage. Acta Hort. 509 : 429-436.
Sornsrivichai, J. ; Podee, R. ; Saengnil, K. and T. Yantarasri. 2000. Nondestructive method for sorting of gamboges and translucent pulp in mangosteen by specific gravity : Precision and efficiency. ACIAR Proceeding No. 100 : 158-163.
Whangchai, K. ; Gemma, H. ; Uthaibutra, J. and S. Iwahori. 2001. Postharvest physiology and microanalysis of mineral elements of 'Nam Doc Mai' mango fruit grown under different soil composition. J. Japan. Soc. Hort. Sci. 70(4) : 463-465.
5.2 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมต่างๆ (ระหว่าง พ.ศ.2540-2544)
1) Effects of fruit position and preharvest calcium dips on 'Nam Dok Mai' mango fruit quality
2) Effects of pulsed treatments with carbon dioxide on postharvest decay in 'Nam Dok Mai' mango fruit.

เรื่องที่ 1 และ 2 เสนอในงานประชุม Workshop on Disease Control and Storage Life Extension in Fruit 22-23 May 1997, Chiang Mai, Thailand
3) Controlling of peel and flesh color development of mango by perforation of modified atmosphere package at different temperatures. Sixth International Mango Symposium. 6-9 April 1999, Pattaya, Thailand.
4) ผลงานเสนอในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26=2 เรื่อง, ครั้งที่ 27=3 เรื่อง (ตามเอกสารแนบ)
5.3 ความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ได้เป็นหน่วยงานเริ่มต้นในการทำความตกลงร่วมมือในเชิงวิชาการกับ Faculty of Agricultur Hirosaki University ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 โดยรับ Associate Professor Dr. Osamu Arakawa (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Professor) ในฐานะ Visiting Researcher เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน จากนั้นก็ได้พัฒนาขึ้น จนมีการติดต่อและสั่ง น.ส.วิลาวัลย์ คำปวน ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ภายใต้ทุน MONBUSHO รัฐบาลญี่ปุ่น และด้วยความสนับสนุนของ Professor Dr. Yoshie Motomura และ Dr. O. Arakawa ต่อมาจึงมีการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับ Hirosaki University ในปี พ.ศ.2543 ซึ่งทำให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิจัยกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งนับว่าเป็นผลงานสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่เริ่มจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวภายใต้การสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ มาโดยตลอด แผนงานความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการกับต่างประเทศ (กำลังดำเนินการอยู่)
5.4 โครงการวิจัยที่ได้รับทุนวิจัย
1) โครงการวิจัยเรื่อง Disease Control and Storage Life Extension in Tropical Fruits แหล่งทุน ACIAR, ประเทศออสเตรเลีย งบประมาณ 2,671,600.- บาท ผู้วิจัย ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร (ผู้ร่วมวิจัย) ระยะเวลา : ปี พ.ศ. 2536-2540
2) โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาของแอนโทไซยานิน : กลไกการควบคุมและเทคนิคในการปรับปรุงสีในลิ้นจี่ แหล่งทุน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งบประมาณ 150,000.- บาท ผู้วิจัย ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร (หัวหน้าโครงการ) ระยะเวลา : ปี พ.ศ.2538-2539
3) โครงการวิจัยเรื่อง ปริมาณรงควัตถุแอนโทไซยานินและแอคติวิตีของเอนไซม์ phenylalanine ammonia-lyase ในผักผลไม้และดอกไม้บางชนิด หลังการเก็บเกี่ยว แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งบประมาณ 45,000.- บาท ผู้วิจัย ผศ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล (หัวหน้าโครงการ) ระยะเวลา : ปี พ.ศ.2540-2541
4) โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องต่อการอ่อนตัวของผลไม้เขตร้อนระหว่างการเก็บรักษา แหล่งทุน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งบประมาณ 93,130.- บาท ผู้วิจัย ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร และ ผศ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล ระยะเวลา : ปี พ.ศ.2542-2543
5) โครงการวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงแอคติวิตีของเอนไซม์ไฮโดรเลสบางชนิดที่ย่อยสลายผนังเซลล์ในระหว่างการสุกของผลมะม่วง แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งบประมาณ 90,000.- บาท ผู้วิจัย ผศ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล (หัวหน้าโครงการ) ระยะเวลา : ปี พ.ศ.2543-2544

6. กิจกรรมของห้องปฏิบัติการที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา
(พฤษภาคม 2545 - เมษายน 2546) ในรอบปีที่ผ่านมา ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆดังนี้
6.1 งานวิจัย
สมาชิกในห้องปฏิบัติการได้ทำงานวิจัยในโครงการวิจัยทั้งที่ได้รับทุนสนับสนุนและงานวิจัยย่อยที่ใช้ทุนสนับสนุนจากภาควิชา ทำให้มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง (รายละเอียดในข้อ 7.1-7.3)
6.2 งานประชุมทางวิชาการ และความร่วมมือทางวิชาการ
สมาชิกในห้องปฏิบัติการ ได้นำผลงานไปเสนอในที่ประชุมระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยฮิโรซากิ ประเทศญี่ปุ่น และได้ขอความอนุเคราะห์เพื่อรับนักศึกษาไปศึกษาต่อด้วย (รายละเอียดในข้อ 7.4)
6.3 งานบริการวิชาการ
ห้องปฏิบัติการได้ให้คำแนะนำแก่ภาคเอกชนและร่วมมือกับสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.-มช.) มาโดยตลอด อีกทั้งได้พยายามนำผลงานวิจัยมาใช้ในเชิงบูรณาการกับการเรียนการสอน (รายละเอียดในข้อ 7.5-7.6)

7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา (พฤษภาคม 2545 - เมษายน 2546)
7.1 ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
Whangchai, K. ; Saengnil, K. and J. Uthaibutra. 2002. Effect of vapor heat treatment on chilling injury and polyamine content of 'Nam Dok Mai' mango fruit.
Chiang Mai J. Sci. 29(2) : 81-88.อยู่ในฐานข้อมูลวารสารระดับ CA

7.2 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมต่างๆ
จำนงค์ อุทัยบุตร สรรพมงคล บุญกัน กานดา หวังชัย และกอบเกียรติ แสงนิล. ดัชนีการเก็บเกี่ยวมะม่วงมหาชนก. การสัมมนาวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว หลังการผลิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1. 22-23 สิงหาคม 2545 โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ (โปสเตอร์)
เอกชัย เขื่อนมณี อุราภรณ์ สอาดสุด และจำนงค์ อุทัยบุตร. การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลสตรอเบอรี่ โดยใช้เอลิลไอโซไธโอไซยาเนท. การสัมมนาวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว หลังการผลิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1 22-23 สิงหาคม 2545. โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ (โปสเตอร์)
Issarakhompee, R. and J. Uthaibutra. Effect of Aloe vera aqueous extract and chitosan on quality and storage life of lime. 13th Congress of the Federation of European Societies of Plant Physiology. 2-6 September 2002. Hersoni SSDS, Crete, Greece.
Saengnil, K., Noomthom, S., Faiyua, B. and J. Uthaibutra. Control of enzymatic browning in guava fruit with ascorbic acid, citric acid, and sodium chloride. First Seminar on Postharvest Physiology of Horticultural Crops. February 20, 2003. KU Home, Kasetsart University, Bangkok. (Poster…… P4).
Uthaibutra, J., Boonkorn, P. and K. Saengnil. Influence of pericarp color retention procedure on physical and chemical changes of lychee fruit. First Seminar on Postharvest Physiology of Horticultural Crops. February 20, 2003, KU Home, Kasetsart University, Bangkok. (Poster…. P.5)

7.3 ความร่วมมือของห้องปฏิบัติการวิจัยกับสถาบันต่างประเทศ
Hirosaki University ประเทศญี่ปุ่น
ปีที่เริ่มมีความร่วมมือ ปีพ.ศ.2543
มีความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวิจัย
โดยในปี 2546 ดร.วิลาวัลย์ คำปวน (สมาชิกของห้องปฏิบัติการ) ได้สำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาเอก จากมหาวิทยลัยฮิโรซากิ ประเทศญี่ปุ่น
และ 1 เมษายน 2546 บัณฑิตจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(น.ส.มนสิการ ธรรมวงศ์) ได้เข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ที่มหาวิทยาลัยฮิโรซากิ นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการวิจัยร่วมกัน
7.4 โครงการวิจัยที่ได้รับทุน
โครงการวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีของมะม่วงพันธุ์มหาชนก ระหว่างการเจริญเติบโต และการเก็บรักษา (ปีที่ 1-2) หน่วยงานที่ให้ทุน โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว งบประมาณที่ได้รับปีที่ 1 เป็นเงิน 280,400.- บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี (1 กรกฏาคม 2544 ถึง 30 มิถุนายน 2545) ปีที่ 2 เป็นเงิน 139,152.- บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี (11 พฤศจิกายน 2545 ถึง 10 พฤศจิกายน 2546)
7.5 การให้บริการวิชาการ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ได้ร่วมมือกับสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.-มช.) ในการรับตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างของภาคเอกชน โดยเฉลี่ยปีละ 3 ครั้ง และให้คำปรึกษาแก่บุคคลภายนอกทุกปี
7.6 การบูรณาการกิจกรรมร่วมกับการเรียนการสอน
ห้องปฏิบัติการวิจัย ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวข้องกับสรีรวิทยาของพืชทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว โดยเน้นทางด้าน รงควัตถุของพืช ฮอร์โมน ธาตุอาหารพืช เอนไซม์ และการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของพืช รวมทั้งการเก็บรักษาพืชผลสด ซึ่งนำไปใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการในการทำวิจัยของนักศึกษา
- ระดับปริญญาตรี
1) ผลของความเข้มข้นและเวลาการแช่ในกรดซิตริก และโซเดียมคลอไรด์ต่อการเกิดสีน้ำตาล และแอคติวิตีของเอนไซม์เปอร์ออกซิเดสในเนื้อผลฝรั่งที่ตัดแบ่งชิ้น โดย น.ส.สนธยา นุ่มท้วม อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล
2) ผลของสารสกัดหยาบจากกลีบดอกไม้บางชนิดในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดย น.ส.ยุวเรศ วิทุรวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล
3) ผลของซิลเวอร์ไนเตรท แอลกอฮอล์ และน้ำตาลซูโครส ต่ออายุการปักแจกัน ของดอกเบญมาศพันธุ์ Snowdon โดย น.ส.ชื่นจิต ติ๊บเต็ม อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร
- ระดับบัณฑิตศึกษา
1) การเปลี่ยนแปลงแอคติวิตีของเอนไซม์ Pectinmethylesterase และ Polygalacturonase และความแน่นเนื้อในระหว่างการสุกของผลมะละกอ โดย น.ส.สุกัญญา พรหมเทพ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล
2) การเปลี่ยนแปลงแอคติวิตีของเอนไซม์ Pectinmethylesterase และ Polygalacturonase และความแน่นเนื้อในระหว่างการสุกของผลมะม่วง โดย น.ส.ศมาพร หลากสุขถม อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล
3) อิทธิพลของกรรมวิธีรักษาสีเปลือกต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของผลลิ้นจี่ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่างๆ โดย น.ส.พรอนันต์ บุญก่อน อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร
4) การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและเคมีในระหว่างการเจริญเติบโตของผลมะม่วงพันธุ์มหาชนก โดย น.ส.สรรพมงคล บุญกัน อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร
5) ผลของระยะความแก่ และอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของผละมม่วงพันธุ์มหาชนก โดย น.ส.จุลจิรา การสมวาสน์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร
7.7 อนุสิทธิบัตร เลขที่ตามคำขอ 9903000165 วันออกให้ 10 พฤษภาคม 2543 หมดอายุ 21 กันยายน 2548 (ตามเอกสารที่แนบมา)

8. แผนดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่างๆในปีที่จะต่ออายุ
แผนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
8.1 งานด้านการวิจัยและการเสนอผลงานวิจัย
1) สนับสนุนให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมโครงการวิจัยและ/หรือ หาทุนสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิจัยในทีมให้เข้มแข็ง
2) เสนอผลงานทางวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่องต่อปี
3) ส่งผลงานลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง
8.2 งานบริการวิชาการ
เสนอผลงานของห้องปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แก่ชุมชนในระหว่างที่มีงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนสิงหาคม 2546 ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8.3 ความร่วมมือทางวิชาการ
มุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการวิจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่นเดียวกับปี 2545 ที่ผ่านมา และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น