1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย สาหร่ายประยุกต์
Applied Algal Research Laboratory
ภาควิชา : ชีววิทยา

2. ชื่อผู้ประสานงาน รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี พีรพรพิศาล ( Assoc. Prof. Dr. Yuwadee Peerapornpisal)

3. สมาชิก :

1. รองศาสตราจารย์วันชัย สนธิไชย สมาชิก
    ( Assoc. Prof. Wanchai Sonthichai)
2. อาจารย์ ดร.ปานมุก วัชระปิยะโสภณ สมาชิก
    ( Lecturer Dr. Panmuk Vacharapiyasophon)
3. อาจารย์ ดร.ชิตชล ผลารักษ์ สมาชิก
    ( Lecturer Dr. Chitchol Palalak )
4. น.ส.สุดาพร ตงศิริ สมาชิก
    ( Miss Sudaporn Tongsiri )
5. น.ส. โฉมยง ไชยอุบล สมาชิก
    (Miss Chomyong Chaiubol)
6. นายสาคร พรหมขัติแก้ว สมาชิก
    ( Mr. Sakorn Promkutkaew)

4. ปีที่เริ่มจัดตั้ง

5. กิจกรรมของห้องปฏิบัติการที่ได้ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา
5.1 งานวิจัย

5.1.1 วิจัยเกี่ยวกับการนำสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) ของสายพันธุ์ที่พบในบริเวณภาคเหนือเพาะเลี้ยงในสูตรอาหารต่างๆและศึกษาในแง่คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายชนิดนั้น ๆ กับนำไปประยุกต์ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งอาหารเสริมของคน โดยมีเป้าหมายจะรวบรวมสายพันธุ์ของสาหร่ายขนาดเล็กที่มีประโยชน์ให้เป็นคลังสาหร่ายของของเขตภาคเหนือตอนบน
5.1.2 เพาะเลี้ยงสาหร่ายที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น สาหร่ายสไปรูลินา(Spirulina platensis ) ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แล้วนำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ หรือนำไปประยุกต์เป็นอาหารเสริมของคนต่อไป
5.1.3 วิจัยเกี่ยวกับการนำสาหร่ายน้ำจืดมาเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของน้ำในระบบนิเวศน้ำจืดในเขตภาคเหนือ
5.1.4 ศึกษาความหลากหลายของสาหร่ายน้ำจืดทั้งชนิดที่เป็นแพลงก์ตอนพืช สาหร่ายบริเวณท้องพื้นน้ำและสาหร่ายขนาดใหญ่ (macroalgae)
5.1.5 ศึกษาความหลากหลายทางด้านสัณฐานวิทยา และชีวโมเลกุลรวมทั้งแยกเชื้อบริสุทธิ์ของสาหร่ายที่ทนอุณหภูมิจากบริเวณน้ำพุร้อน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสารต่าง ๆ ที่จะมีประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมต่อไป
5.1.6 ศึกษาการแพร่กระจายของสาหร่ายพิษ Microcystis aeruginosa K?tz และสาหร่ายที่สร้างสารพิษอื่น ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
5.1.7 ศึกษานิเวศวิทยา การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดใหญ่ ซึ่งมีศักยภาพในการนำมาเป็นอาหารและยา รวมทั้งการแปรรูปสาหร่ายให้เป็นอาหารในระดับท้องถิ่นและสามารถจัดจำหน่ายในท้องที่อื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง

5.2 งานให้บริการชุมชน โดยเป็นวิทยากรหลัก และวิทยากรทั่วไปในงานประชุมทางวิชาการ และ อบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในรอบปี 2545-2546 ดังนี้

5.2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ( workshop ) เรื่อง การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินา โดยร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 21 - 22 เมษายน 2546 ณ. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ โดยเป็นวิทยากรหลัก
5.2.2 จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง " Safe Drinking Water" ร่วมกับ ศูนย์วิจัยน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 25 - 29 มีนาคม 2546 เสนอผลงานทั้งภาค oral และ poster presentation จำนวน 10 เรื่อง
5.2.3 จัดการประชุมวิชาการระดับประเทศทางด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอน ร่วมกับ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ วันที่ 21 -22 มีนาคม 2546 ณ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเป็นกรรมการร่วมและส่งผลงานภาค oral และ poster presentation จำนวน 12 เรื่อง

5.3 รับนักศึกษาจากสถาบันราชภัฎ สกลนคร อุดรธานี และอุบลราชธานี เข้าฝึกงานในรอบปี 2545 - 2546 จำนวน 15 คน

6. ประวัติผลงานที่ผ่านมานับตั้งแต่ก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการวิจัย/หน่วยวิจัย
6.1 งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

6.1.1 ชื่อเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ระดับนำร่องจากน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากระบบก๊าซชีวภาพฟาร์มเลี้ยงสุกร ปีที่ 2 (ระยะเวลา 2 ปี 2544 - 2546 ) ทุนวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6.1.2 ชื่อเรื่อง การใช้ประโยชน์บางประการจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ทนร้อนจากน้ำพุร้อนบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศ (ระยะเวลา 1 ปี 2545 -2546) ทุนวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6.1.3 ชื่อเรื่อง Production of organic substances from CO2 by thermotolerant autotrophic microorganisms ทุนวิจัย โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่าง Japan Society for the Promotion of Science ( JSPS) กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประเทศไทย (NRCT) งานวิจัยเรื่องนี้ร่วมมือกับ Assoc. Prof. Dr. Masaharu Ishii แห่ง Department of Biotechnology, Faculty of Agriculture and Life Science, Tokyo University ประเทศญี่ปุ่น
6.1.4 ชื่อเรื่อง ศักยภาพของสาหร่ายในการนำมาใช้เป็นอาหารและยา ( ระยะเวลา 3 ปี 2545 - 2547 ) ทุนวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

6.2 ร่วมงานวิจัยกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้

6.2.1 Assoc. Prof. Dr. Masaharu Ishii Department of Biotechnology, Graduated School of Agriculture and Life Sciences, The University of Tokyo, ประเทศญี่ปุ่น วิจัยเกี่ยวกับproduction จากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในน้ำพุร้อน
6.2.2 Prof. Dr. G. A. Codd Department of Biology Sciences, The University of Dundee, ประเทศ สหราชอาณาจักร โดยวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายที่สร้างสารพิษ
6.2.3 Dr. Stephen Pointing Department of Biodiversity and Life Sciences, The University of Hong Kong ประเทศจีน โดยวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในน้ำพุร้อน
6.2.4 Prof. Munetsugu Kawashima Center for Environmental Education & Lake Science, Faculty of Liberal Art & Education, Shiga University โดยวิจัยเกี่ยวกับคุณถาพน้ำและการใช้สิ่งมีชีวิตเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำ
6.2.5 โครงการ Global Ecological Center ( GEC ) เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น และเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เกี่ยวกับคุณภาพน้ำในแม่น้ำกวง และแหล่งน้ำในจังหวัดลำพูน โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
6.2.6 โครงการ HEIFER สาขาประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันศึกษาสิ่งแวดล้อมทางด้านน้ำ และ การเกษตร โดยเน้น การศึกษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำจัน จังหวัดเชียงราย
6.2.7 Dr. Peter Hawkins Sydney Water Supplies Institute ประเทศออสเตรเลีย โดยเน้นการจัดการแหล่งน้ำเพื่อการประปา
6.2.8 ร่วมโครงการ Mekong River Commission ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติ ศึกษาคุณภาพน้ำของแม่น้ำโขง โดยได้รับการคัดเลือกศึกษางานการใช้สาหร่ายเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายในด้านผลผลิตและการเพาะเลี้ยงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวม 18 เรื่อง
7.2 ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายในด้านควมหลากหลายทางชีวภาพในการใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำและสาหร่ายพิษ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวม 34 เรื่อง
7.3 ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การและสถาบันต่าง ๆ ให้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายในแง่ผลผลิตและการเพาะเลี้ยง ความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายการใช้สาหร่ายเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำและสาหร่ายพิษ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวม 13 ทุน
7.4 ผลิตบัณฑิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในระดับต่าง ๆ ดังนี้
ปริญญาตรี 28 คน
ปริญญาโท 22 คน
7.5 นักศึกษาในปัจจุบันมีดังนี้
ปริญญาตรี 4 คน
ปริญญาโท 8 คน
ปริญญาเอก 5 คน
7.6 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมระดับปริญญาเอก นักศึกษาจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุรนารี นักศึกษาภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และระดับปริญญาโท นักศึกษาภาควิชาปฐพีวิทยา ( ดินและปุ๋ย ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
7.7 เป็นที่ปรึกษาในด้านคุณภาพน้ำแก่ชุมชนต่าง ๆ ที่มาขอความร่วมมือ รวมทั้งบริการการตรวจชนิดของสาหร่ายในแหล่งน้ำที่มีปัญหาหลายครั้ง
7.8 เป็นที่ปรึกษาของโครงการ BRT ส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยภาคเหนือ และเป็นที่ปรึกษาของสถาบันราชภัฏเชียงราย และอุตรดิตถ์ในแง่การวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายและคุณภาพน้ำ
7.9 อาจารย์ในห้องปฏิบัติการฯบางคนได้รับเชิญไปเผยแพร่งานทางด้านสาหร่ายและคุณภาพน้ำทางหนังสือพิมพ์ หนังสือสารคดี รายการวิทยุ และโทรทัศน์หลายครั้ง
7.10 ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ ( เฉพาะปี 2545 - 2546 )
(ก) การประชุมวิชาการ 3th ASEAN Microscopy Conference and 19th Annual Conference of EMST, January 30 - February1, 2002, Chiang Mai. Thailand.
1. Pekthong, T. and Y. Peerapornpisal. 2002. Scanning Electron Micrographs of Freshwater Diatoms In Diatomite from Lampang Province, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):206-207.
2. Prommana, R., Y. Peerapornpisal and S. Promkutkeaw. 2002. Two Species of Filamentous Cyanobacteria, Anabaena spp. and Water Quality in Kwan Phayao, Phayao Province, Thailand in 1999-2000. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):208-209.
3. Kunpradid, T., Y. Peerapornpisal and S. Promkutkeaw. 2002. Batrachospermum macrosporum Montague in Mae Sa Stream, Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):248-249.
4. Pekkoh, J., Y. Peerapornpisal and S. Promkutkeaw. 2002. Diversity of Staurastrum spp. in the Reservoir of Mae Kuang Udomtara Dam, Chiang Mai, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):250-251.
5. Khuanpet, A. and Y. Peerapornpisal. 2002. Morphology of Spirulina (Arthrospira) platensis Under Light Microscope. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):252-253.
6. Suphan, S., Y. Peerapornpisal and T. Pekthong. 2002. The Use of Chloroplasts and Other Features of the Living Cell in the Taxonomy of Freshwater Diatoms. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):254-255.
7. Panyoo, W. and Y. Peerapornpisal. 2002. Morphology of the Isolation Strain of Thermotolerant Blue-Green Algae Mastigocladus laminosus Cohn from Hot Spring. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):256-257.
8. Kiatpradub, S., Y. Peerapornpisal and S. Promkutkeaw. 2002. Morphology of Aulacoseira species Under Light and Scanning Electron Microscopes. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):258-259.
9. Panuvanitchakorn, N., Y. Peerapornpisal and S. Promkutkeaw. 2002. Volvox sp. in the Reservoir of Lamtakong Dam, Nakorn Ratchasima Province, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):260-261.
10. Wanathong, P., and Y. Peerapornpisal. 2002. Microscopic Morphologies for Blue Green Macroalgae Identification. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):262-263.
11. Sompong, U., and Y. Peerapornpisal. 2002. Diatoms in the Thermal Springs of Northern Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):264-265.
12. Sompong, U., and Y. Peerapornpisal. 2002. Thermophilic Blue Green Algal in the Thermal Springs of Northern Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):266-267.
13. Ngernpat, N., Y. Peerapornpisal and S. Promkutkeaw. 2002. Diversity of Desmids in Nong Han Reservoir, Skolnakorn Province, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):268-269.
(ข) งานประชุมวิชาการ 3rd Asian Pacific Phycological Forum, Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
1. Kuntanawat P. Y. Peerapornpisal and A. Bhumiratana. 2002. Increasing of Biomass and Efficiency of Nutrient Absorption by Fragmentation of Spirulina platensis. Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
2. Ngearnpat N. Y. Peerapornpisal and S. Promkutkeaw.2002. Diversity of Desmids in Nong Han Reservoir, Sakolnakorn Province, Thailand. Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
3. PanuvanitchaKorn N. Y. Perapornpisal. 2002. Diversity of Phytoplankton and Water quality in The Reservoir of Lamtakong Dam, Nakorn Ratchasima Province, Thailand. Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
4. Kunpradid T. and Y. Perapornpisal. 2002. Diversity of Macroalgae in two rivers of Northern Thailand. Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
5. Supan S. and Y. Perapornpisal. 2002. Diversity of Macroalgae and Benthic Diatom in Huay Kha yang watershed, Thailand. Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
6. Klanbut K. Y. Perapornpisal and C. Khanongnuch.2002. Phytase activity from
Thermotolerant blue green algae from Hot Spring in Northern Thailand. Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
7. Perapornpisal Y. W. Panyoo and M. Ishii. 2002 Isolation and Thermotolerant Characterization of blue green algae from some Hot Spring areas in The upper part of Northern Thailand. Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
(ค) การประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 6 วันที่ 9 - 12 ตุลาคม 2545 โรงแรมทวินโดตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. Pekthong T. and Y. Perapornpisal. 2002. Biodiversity of Benthic Diatoms and Their Application to Monitoring Water Quality of Mae Sa Stream, Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai.6th BRT Annual Conference 9 - 12 October 2002 , Nakorn Si Thammarat , Thailand.
2. Kunpradid T. and Y. Perapornpisal. 2002. Biodiversity of Macroalgae and Their Relationship with Nutrients in the Ping and Nan River. 6th BRT Annual Conference 9 - 12 October 2002 , Nakorn Si Thammarat , Thailand.
3. Wanathong P. and Y. Perapornpisal. 2002. Species Investigation, Ecology and Cultivation of Blue Green Algae from some Watersheds of Northern Thailand. 6th BRT Annual Conference 9 - 12 October 2002 , Nakorn Si Thammarat , Thailand.
4. Suphan S. and Y. Perapornpisal. 2002. Diversity of Macroalgae and Benthic Diatoms in the Golden Jubilee Thong Pha Phum Project, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province. 6th BRT Annual Conference 9 - 12 October 2002 , Nakorn Si Thammarat , Thailand.
(ง) การประชุมวิชาการ The 3rd JSPS - NRCT Joint Seminar on Development of Thermotolerant Microbial Resources and Their Applications, 17-21 November 2002, Chiang Mai, Thailand
1. Perapornpisal Y. K. Klunbut W. Panyoo C. Khanongnuch and M. Ishii. 2002.
Isolation and characterization of cyanobacteria from hot spring areas in the upper part of northern Thailand. The 3rd JSPS - NRCT Joint Seminar on Development of Thermotolerant Microbial Resources and Their Applications, 17-21 November 2002, Chiang Mai, Thailand
2. Panyoo W. Y. Perapornpisal S. Tongsiri and M. Ishii. 2002. Inhibitory effects of bioactive compounds from thermotolerant blue green algae on some bacteria and yeast. The 3rd JSPS - NRCT Joint Seminar on Development of Thermotolerant Microbial Resources and Their Applications, 17-21 November 2002, Chiang Mai, Thailand
(จ) การประชุมวิชาการ The 3rd World Congress on Medicinal and Aromatic Plant for Human Welfare, 3 - 7 February 2003, Chiang Mai, Thailand.
1. Y. Peerapornpisal. A. Khunpet and C. Chaiubon. 2003. Cultivation of Spirulina spp. For Private Homes. The 3rd World Congress on Medicinal and Aromatic Plants for Human Welfare : From Biodiversity through Science and Technology, Trade and Industry to Sustainable Use. Chiang Mai, 3-7 February 2003. Thailand.
(ฉ) การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 , 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
1. คนึงกานต์ กลั่นบุศย์ ยุวดี พีรพรพิศาล ชาติชาย โขนงนุช และ Masaharu Ishii. 2546. การ
ศึกษาเอนไซม์ไฟเตสที่สกัดจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ทนอุณหภูมิสูงในน้ำพุร้อนบางแหล่ง บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
2. จีรพร เพกเกาะ ยุวดี พีรพรพิศาล สุวิเวก ลิปิกรโกศล และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2546. การกระจายของสาหร่ายพิษและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2542-2543. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
3. ทัตพร คุณประดิษฐ์ และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การกระจายของสาหร่ายขนาดใหญ่และความสัมพันธ์กับสารอาหารในแม่น้ำปิง ปี 2544 - 2545. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
4. ธนิศรา อินทโสตถิ และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การวิเคราะห์คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่าง มีนาคม - กรกฎาคม 2545. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
5. นพรัตน์ ภาณุวณิชชากร และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การกระจายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ปี 2543 - 2544. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
6. เนติ เงินแพทย์ และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. ความหลากหลายของสาหร่ายสีเขียวกลุ่มเดสมิดส์ในแหล่งน้ำบางแหล่งบริเวณภาคเหนือตอนบน. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
7. รัฐภูมิ พรหมณะ ยุวดี พีรพรพิศาล สุวิเวก ลิปิกรโกศล และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2546. . การกระจายของสาหร่ายพิษและคุณภาพน้ำในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ในปี 2542 -2543. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
8. รัตติกาล มุ่งหมาย และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การศึกษาความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่ในลำน้ำน่านและการใช้เป็นอาหารและยาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
9. ลานทอง ธิติสุทธิ และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การศึกษาคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม 2545 โดยใช้แพลงก์ตอนพืชและโคลิฟอร์มแบคทีเรียเป็นดัชนีบ่งชี้. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
10. ศิริพงษ์ เกียรติประดับ นาวิน ธรสาธิตกุล และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสาหร่าย Microcystis aeruginosa Kutzing. และคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยหยวก จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
11. สุดาพร ตงศิริ ยุวดี พีรพรพิศาล และ ทัตพร คุณประดิษฐ์. 2546.ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและความสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2545. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
12. สุทธวรรณ สุพรรณ และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การกระจายของสาหร่ายสีแดงน้ำจืด Batrachosppermum spp. ในบางบริเวณของประเทศไทย. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
13. อุดมลักษณ์ สมพงษ์ ยุวดี พีรพรพิศาล สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย สมพร ชุนห์ลือชานนท์ และ Richard W. Castenholz. 2546. การใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา และลักษณะทางพันธุกรรมในการจัดจำแนกชนิดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบริเวณน้ำพุร้อนบางแหล่งในประเทศไทย. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
14. อัญชลี เขื่อนเพชร และ ยุวดี พีรพรพิศาล. 2546. การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ในระดับนำร่องด้วยน้ำเสียในบ่อปรับเสียรภาพจากระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกร. การประชุมวิชาการ สาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 มีนาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
(ช) การประชุมวิชาการ Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
1. Pekkoh J. Y. Peerapornpisal S. Lipigorngosol and S. promkutkaew. 2003. Distribution of toxic algae and water quality in the reservoir of Mae Kuang Udomtara Dam, Chiang Mai Province in 1999-2000. Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
2. Kunpradid T. and Y. Peerapornpisal. 2003. Water quality monitoring of Ping in 2001-2002. Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
3. Suphun S. and Y. Peerapornpisal. 2003. Relationship between water quality and diversity of Macroalgae and Benthic Diatoms in Golden Jubilee Thong Pha Poom Project, Thong Pha Poom district, Kanjanaburi Province,Thailand. Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
4. Ngearnpat N. Y. Peerapornpisal S. Lipigorngosol and S. promkutkaew.2003. Monitoring of toxic cyanobacteria and water quality in Nong Han reservoir,Sakonnakhon Province, Thailand in the year 2000-2001. Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
5. Tongsiri S Y. Peerapornpisal and T. Kunpradid . 2003. Water quality in Huai Tunag Tao reservoir,Chiang Mai in 2002. Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
6. Kiatpradub S. W. Sitthichaiwong K. O. Kusk S. Chantara and Y. Peerapornpisal. 2003. Extrection of Microcystis aeruginosa Kutzing by microwave extraction method and toxicity test on Daphnia magna straus. Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
7. Panuvanitchakorn Y. Peerapornpisal S. Lipigorngosol and S. promkutkaew. 2003. Water quality and diversity of toxic cyanobacteria in Lamtakong Dam, Nakhon Ratchasima Province, Thailand in 2000-2001. Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
7.11 กิจกรรมวิจัยร่วมกับการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ มีดังนี้
ปริญญาเอก
1. นายตรัย เป็กทอง
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ความหลากหลายของเบนทิคไดอะตอม และการประยุกต์ใช้เพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในลำน้ำแม่สาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เชียงใหม่
2. นายทัตพร คุณประดิษฐ์
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่ ไดอะตอมพื้นท้องน้ำ และความสัมพันธ์กับสารอาหารในแม่น้ำปิง และน่าน
3. นางสาวอุดมลักษณ์ สมพงษ์
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ เกณฑ์ทางสัณฐานวิทยาและสายพันธุกรรมในการศึกษาอนุกรมวิธานของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบริเวณน้ำพุร้อนในประเทศไทย
4. นางสาวจีรพร เพกเกาะ
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ความหลากหลาย สายพันธุกรรม และสารพิษของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในแหล่งน้ำบางแหล่งของประเทศไทย
5. นายรัฐภูมิ พรหมณะ
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำ ดินตะกอน การเจริญของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและความเป็นพิษ ในแหล่งน้ำจังหวัดเชียงใหม่
ปริญญาโท
1. นายเนติ เงินแพทย์
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ การติดตามตรวจสอบสาหร่ายพิษสีเขียวแกมน้ำเงิน Microcystis spp. และคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร ในปี 2543 -2544.
2. นางสาวนพรัตน์ ภาณุวณิชชากร
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ การแพร่กระจายของสาหร่ายพิษสีเขียวแกมน้ำเงิน Microcystis spp. และคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2543 -2544.
3. นายศิริพงษ์ เกียรติประดับ
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ความหลากหลายของสาหร่ายพิษสีเขียวแกมน้ำเงินและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ปี 2543 -2544.
4. นางสาวอัญชลี เขื่อนเพชร
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ในระดับนำร่องด้วยน้ำเสียในบ่อปรับเสียรภาพจากระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกร
5. นางสาวคนึงกานต์ กลั่นบุศย์
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ เอนไซม์ไฟเตสจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ทนร้อน 4 สายพันธุ์
6. นางสาวสุทธวรรณ สุพรรณ
ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่และไดอะตอมพื้นท้องน้ำ ในโครงการทองผาภูมิ 72 พรรษามหาราช อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ปริญญาตรี
1. นางสาวธนิศรา อินทโสตถิ
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2545.
2. นางสาวรัตติกาล มุ่งหมาย
ชื่อเรื่อง ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่ในลำน้ำน่านและการใช้เป็นอาหารและยาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน.
3. นาวสาวลานทอง ธิติสุทธิ
ชื่อเรื่อง การศึกษาคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2545 โดยใช้แพลงก์ตอนพืชและโคลิฟอร์มแบคทีเรียเป็นดัชนีบ่งชี้
4. นางสาวกรรณิการ์ ยาวิชัย
ชื่อเรื่อง คุณภาพน้ำและความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่ในลำน้ำน่าน และการใช้เป็นอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตอำเภอท่าวังผา และ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
5. นางสาววนัสสุดา ชมภูศรี
ชื่อเรื่อง การศึกษาคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยลานในพระราชดำริ ปี 2545
7.12 ได้รับรางวัลจากการไปเสนอผลงานการวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
7.12.1 นางสาวอุดมลักษณ์ สมพงษ์ ได้รับรางวัล ที่1 ประเภทโปสเตอร์ เสนอผลงานเรื่อง Diversity of Blue Green Algae in the Hot Spring Areas of Northen Thailand. ในงานประชุม The 4th Asia-Pacific Conference on Algal Biotechnology. Hong Kong Convention and Exibition Centre, Hong Kong. 3-6 July 2000.
7.12.2 นายทัตพร คุณประดิษฐ์ ได้รับรางวัล ยอดเยี่ยม ประเภทโปสเตอร์ เสนอผลงานเรื่อง Diversity of Macroalgae in two rivers of Northern Thailand. ในงานประชุม Algae 2002, 19 - 24 July 2002. Tsukuba, Japan
7.12.3 นายเนติ เงินแพทย์ ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทโปสเตอร์ เสนอผลงานเรื่อง Monitoring of toxic cyanobacteria and water quality in Nong Han reservoir,Sakonnakhon Province, Thailand in the year 2000-2001. ในงานประชุม Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand
7.12.4 นางสาวสุทธวรรณ สุพรรณ ได้รับรางวัลที่ 2 ประเภทโปสเตอร์ เสนอผลงานเรื่อง Relationship between water quality and diversity of Macroalgae and Benthic Diatoms in Golden Jubilee Thong Pha Poom Project, Thong Pha Poom district, Kanjanaburi Province,Thailand. ในงานประชุม Safe Drinking Water 2003, 25 - 29 March 2003, Chiang Mai, Thailand