1. ชื่อหน่วยวิจัย : สถิติวิจัยทางสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
Statistics for Social Sciences and Science Technology Research
ภาควิชา : สถิติ

2. สมาชิก

(1) รศ. วิยะดา ตันวัฒนากูล ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย
(2) ผศ. สุรีย์ ชูประทีป
(3) อาจารย์ลำปาง แสนจันทร์
(4) อาจารย์สุกัญญา เกษศิลป์

3. หลักการและเหตุผล (ของการจัดตั้งหน่วยวิจัยนี้)
ปัจจุบันนี้ในคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อมีการทดลองหรือวิจัยเรื่องต่าง ๆ มักดำเนิน การร่วมกันเฉพาะในภาควิชาเดียวกัน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญของการนำสถิติเข้ามาใช้เท่าที่ ควร ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งกับข้อมูลที่ได้มาเหล่านี้ แต่ไม่ได้รับการศึกษาให้คุ้มค่า ดังนั้นจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเผยแพร่ความรู้ทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในสาขาต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การตั้งหน่วยวิจัย เพื่อให้นักวิจัยได้เห็นความสำคัญและ
บทบาทของการใช้สถิติวิเคราะห์ ซึ่งต่อไปอาจทำให้เกิดมีการวิจัยหรือดำเนิน การร่วมกัน ระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ กันได้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอาจทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ซึ่ง จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อสังคมหรือต่อประเทศชาติได้

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- เพื่อใช้เวลาที่นอกเหนือจากการสอน เพิ่มพูนความรู้และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถิติ ที่ใช้ร่วมกับงานวิจัยในสาขาวิชาการต่าง ๆ เช่น การใช้สมการพยากรณ์ทางสถิติ ซึ่ง อาจทำให้เกิดงานวิจัยร่วมสาขาขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดำเนินการวิจัย และต่อสังคมด้วย เป็นต้น
- ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ดำเนินการวิจัยสาขาต่าง ๆ และอาจขอให้ทางฝ่ายผู้ดำเนินการวิจัยสาขานั้น ๆ ทำการวิจัยหรือค้นคว้าข้อมูลบางอย่างเพิ่มเติม
เพื่อจะได้นำสถิติมาประยุกต์ใช้ได้ตามหลักการทางสถิติ อันจะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งผู้ดำเนินการวิจัยสาขานั้น ๆ และทางฝ่ายวิเคราะห์โดยใช้สถิติด้วย และอาจทำให้ได้ผลสรุปทางสถิติในสิ่งที่ผู้ดำเนินการวิจัยสาขานั้น ๆ ไม่คาดคิดมาก่อนได้

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
- สถิติวิเคราะห์เชิงกลุ่มพฤติกรรมการป้องกันและรักษาสุขภาพของลูกจ้างผู้ประกันตนในจังหวัดเชียงใหม่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสถิติควบคุมคุณภาพ

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
-ไมโครคอมพิวเตอร์ของภาควิชาสถิติ
-โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW SAS/ FW เป็นต้น

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน และผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
1. สถิติการสูญเสียทรัพยากรทางการศึกษาจากการอนุญาตให้บอกเลิกกระบวนวิชาในช่วง
เวลานานเกินไปของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวข้อวิจัยนี้ได้รับ เลือกให้เสนอผลงาน ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) ใน การประชุมทางวิชาการเรื่อง "การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ครั้งที่ 4" ปี 2528
2. การวิเคราะห์ปริมาณฝนตามลักษณะภูมิประเทศในเขตเชียงใหม่-ลำพูน หัวข้อวิจัยนี้ได้รับเลือกให้เสนอผลงาน ณ ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ปี 2532
3. การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์สอนเสริมวิชาสถิติพื้นฐาน
4. การยืดอายุผลสาลี่พันธุ์เพียนพู เสนอผลงานวิชาการในวารสารคณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในการประชุมวิชาการสถิติภาคเหนือ ณ ภาควิชาสถิติ 15-16 มีนาคม ปี 2533
5. วิเคราะห์การชะลอการสุกของมะม่วง เสนอผลงานวิชาการในวารสาร คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2535
6. การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการควบคุมคุณภาพทางสถิติ
7. ศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติเบื้องต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
8. การวิเคราะห์คะแนนความรู้จริงของนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2538)
9. นักวิเคราะห์ข้อมูลที่พึงประสงค์ขององค์กร (2542)
10. สถิติวิเคราะห์เชิงกลุ่มพฤติกรรมการป้องกันและรักษาสุขภาพของลูกจ้างผู้ประกันตนในจังหวัดเชียงใหม่ (2545) จะเสนอผลงานในงานวิชาการของภาควิชาสถิติ ในเดือนพฤษภาคม 2545
บทความ
1. " คิดไม่ออกบอกไมโครฯ ในวารสาร "วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทางการศึกษา" เล่ม 16 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. " การควบคุมคุณภาพกับไมโครฯ " ในวารสาร "วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทางการศึกษา" เล่ม 18 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม