1. ชื่อหน่วยวิจัย : ก๊าซเรดอนกับสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือของประเทศไทย
Radon gas and environment in Northern Thailand
ภาควิชา ฟิสิกส์

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

(1) ศ.ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ผู้ประสานงาน
(2) ผศ.สดชื่น วิบูลยเสข สมาชิก
(3) นายจิรพงศ์ สังข์คุ้ม สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีการศึกษาผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบของก๊าซเรดอนที่เกิดขึ้นในธรรมชาติอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ด้วยสาเหตุที่ว่าเรดอนเป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่มีต้นกำเนิดมาจากธาตุยูเนียม ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่เล็กน้อยในหินตามธรรมชาติหลายชนิด เมื่อเรดอนเป็นก๊าซจึงฟุ้งกระจายออกไปจากต้นกำเนิดผ่านตามรอยแตก รอยแยก รูพรุน ในหิน ดิน หรือวัสดุก่อสร้างที่มีต้นกำเนิดจากหินหรือดิน ออกมาสู่บรรยากาศทั่วไป
โดยที่ครึ่งชีวิตของก๊าซเรดอนค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับก๊าซกัมมันตรังสีอื่น ก๊าซนี้จึงเดินทางได้เป็นระยะทางไกลจากแหล่งกำเนิด การวัดปริมาณก๊าซเรดอนจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางธรณีวิทยา เช่น การสำรวจแร่ยูเรเนียม การทำนายแผ่นดินไหว ขณะเดียวกันการวัดปริมาณก๊าซเรดอนก็สามารถนำไปวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงลบที่ก๊าซนี้มีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ปัจจุบันยังมีสิ่งที่ต้องศึกษาอีกมากในการประยุกต์ใช้การวัดก๊าซเรดอนเพื่อประโยชน์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นในด้านทฤษฎีการเคลื่อนที่และการแพร่กระจายของก๊าซเรดอน เทคนิคการตรวจวัดค่าเรดอนที่ให้ผลถูกต้องแม่นยำ ทั้งการวัดในภาคสนามและการวัดในห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการหาความสัมพันธ์ของปริมาณก๊าซเรดอนในอากาศกับปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยใต้ผิวดินและสภาพภูมิอากาศเหนือผิวดิน
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน พบว่าหลายบริเวณในภาคเหนือของประเทศไทยมีค่าเรดอนในบ้านเรือนสูงเมื่อเทียบกับบริเวณอื่นของประเทศ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับก๊าซเรดอนในภาคเหนือจึงจะเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้าน

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 พัฒนาเทคนิคการตรวจหาปริมาณก๊าซเรดอนให้มีความแม่นยำเพื่อนำไปใช้วัดปริมาณก๊าซ เรดอนในบางบริเวณของภาคเหนือที่มีข้อมูลเบื้องต้นว่ามีปริมาณเรดอนสูง
4.2 พัฒนาเทคนิควิธีการวัด radon emanation ของวัสดุเพื่อหาค่า radon emanation ของหิน ดินหรือวัสดุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงที่มาของก๊าซเรดอน
4.3 หาความสัมพันธ์ระหว่าง anual average indoor radon กับปัจจัยอื่นๆ อาทิ soil gas radon,soil permeability etc. ซึ่งอาจนำไปสู่การคาดคะเน anual average indoor radon ได้จากการ
วัด soil gas radon ในช่วงเวลาสั้นๆ

5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาและจัดสร้างอุปกรณ์เพื่อวัดก๊าซเรดอนให้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น โดยร่วมมือกับสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กรุงเทพฯ และ National Institute of Radiological Science ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้จะรวมถึงการวัดเรดอนหลายๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น soil gas radon, indoor radon (ทั้งแบบ active และ passive measurements) หรือการวัด radon emanation rate

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 . วัสดุ/อุปกรณ์ภาคสนาม เช่น Scintrex RDA-200 Radon Meter, Permeability Meter, Portable Gamma Ray Spectrometer, Cellulose Nitrate Film Detectors.
6.2. วัสดุ/อุปกรณ์สำหรับกัดขยายรังสีอัลฟาใน Detector เช่น NaOH, Thermomix 1442D, มอเตอร์กวนสารละลาย
6.3. อุปกรณ์นับรอยรังสีอัลฟา เช่น Jumping Spark Counter, กล้องจุลทรรศน์, Video Monitor (สองชิ้นหลังอยู่ที่ภาควิชาธรณีวิทยา)

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาหาข้อมูลเพื่อยืนยันค่า soil gas radon, soil permeability, indoor radon, ตลอดจนการศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านี้ โดยทำการทดลองที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

8. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
8.1. Wattananikorn, K., Kanaree, M. and Wiboolsake, S., 1998, Soil gas radon as an earthquake precursor : some consideration on data improvement, Radiation Measurements, vol. 29,
p.69-74.
8.2. Techakosit, S. and Sungkoom, J., 1997, Uranium Exploration by Measuring Radon at Two Different Depths, Presented at 1st National Conference on "Geophysics in Prospection for Natural Resources, Engineering and Environmental Problems", Hatyai, Thailand 31 March - 1 April 1997.
8.3. Wattananikorn, K., Techakosit, S. and Jitaree, N., 1996, Field and Laboratory Soil Gas Radon Measurement Technique in Uranium Exploration, presented at 30th Internation Geological Congress, Beijing, China, 4-14 August 1996.
8.4. Wattananikorn, K., Techakosit, S. and Jitaree, N., 1995, A Combination of soil gas radonmeasurements in uranium exploration, Nucl. Geophys., Vol. 9, P643-652.
8.5. Wattananikorn, K., Ounchanum, P. and Vukjunt, B., 1991, Influential factors on background and threshold alpha track densities in soil-gas radon survey, Journal of Thai
Geosciences, Vol. 1, P65-71.
8.6. Wattananikorn, K., Asnachinda, P. and Lamphunphong, S., 1990, Uranium exploration in the vicinity of abandoned fluorite mines, in northern Thailand, using cellulose nitrate
films, Nucl. Geophys., Vol. 4, P253-258.
8.7. Wattananikorn, K. and Sri-Unyu, T., 1990, Seasonal variation of radon in dwellings in an area close to uraniferous fluorite mines, in northern Thailand, Nucl. Geophys., Vol. 4, P289-292.
8.8. Wattananikorn, K. and Sri-Unyu, T., Sornsuntisook, O., and Asnachinda, P., 1998, Preliminary investigation of radon and radon daughter concentrations in dwellings close to certain fluorite mines in northern Thailand, Nucl. Tracks Radiat. Meas, Vol. 15, P535-538.