1. ชื่อหน่วยวิจัย : การต่อโลหะ-เซรามิกส์
Metal-Ceramics Joining
ภาควิชา เคมีอุตสาหกรรม

2. สมาชิก

1. นายธรณินทร์ ไชยเรืองศรี ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย
2. นายวรพงษ์ เทียมสอน สมาชิก
3. นายมนัส ใจมะสิทธิ์ สมาชิก

3. หลักการและเหตุผลของการจัดตั้งหน่วยวิจัย
เทคโนโลยีการต่อโลหะ-เซรามิกส์ เช่น การผนึกแก้วกับโลหะ (Glass-Metal Sealing) การต่อแบบอาศัยการแพร่ (Diffusion Bonding) และการต่อแบบแอโนนิก (Anodic Bonding) มีความสำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมปัจจุบัน และมีการวิจัยอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ แต่ความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการในเรื่องนี้ทั้งในแง่ของวัสดุและกระบวนการของประเทศไทยยังด้อย
กลุ่มวิจัยจึงประสงค์จะจัดตั้งหน่วยวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในแง่ของวัสดุและกระบวนการของการต่อโลหะ-เซรามิกส์ เพื่อให้ทราบถึงหลักการในเชิงทฤษฎีและกระบวนการในเชิงปฏิบัติ ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการต่อโลหะ-เซรามิกส์ในแง่การลดการนำเข้าวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวจากต่างประเทศได้ในอนาคต

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 พัฒนาองค์ความรู้ในแง่ของวัสดุ การปรับสภาพผิว กระบวนการต่อ และปรากฎการณ์ในรอยต่อโลหะ-เซรามิกส์
4.2 ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวัสดุหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อโลหะ-เซรามิกส์ โดยการสนับสนุนทุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย
4.3 มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือวารสารสมาคมวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับภายในประเทศหรือในระดับสากล อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง
4.4 สนับสนุนการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรีอย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทอย่างน้อย 1 เรื่องต่อ 2 ปี และวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกอย่างน้อย 1 เรื่องต่อ 3 ปี
4.5 บริการวิชาการแก่บุคคลหรือองค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 ชื่อโครงการ : การศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อแก้วกับโลหะผสมเหล็ก-นิกเกิล-โคบอลต์"
                           (A Feasibility Study of Joining Glass to Fe-Ni-Co Alloy)
แหล่งทุน :            ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
ปีงบประมาณ        2543 รหัส MT-B-S6-06-10-301
สถานะ :               เสร็จสิ้นโครงการ อยู่ระหว่างการเสนอโครงการต่อเนื่อง

5.2 ชื่อโครงการ : การเตรียมโลหะผสมเหล็ก-นิกเกิล-โคบอลต์ด้วยวิธีเผาผนึกผงโลหะ
                           (Preparation of Fe-Ni-Co Alloy by Sintering of Metal Powders)
แหล่งทุน :           ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2544
สถานะ :               อยู่ระหว่างดำเนินการ งานที่ทำเสร็จสิ้นประมาณ 70%

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 เตาเผาแบบ chamber
6.2 เตาเผาเซรามิกส์
6.3 เครื่องขัดผิววัสดุแบบจานหมุนเดี่ยว
6.4 เครื่องตัดโลหะความแม่นยำสูง Struers รุ่น Labotom และ Accutom II
6.5 กล้องจุลทรรศน์แสง
6.6 เครื่องวัดความแข็งวิกเกอร์ระดับจุลภาค
6.5 อุปกรณ์และเครื่องมืออื่น ๆ ที่สามารถขอความร่วมมือใช้ได้จาก
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์แสง เครื่องทำเบ้า และ X-ray diffractometer
ศูนย์เครื่องมือวิจัยทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แก่ เครื่องเคลือบผิวด้วยคาร์บอนและทอง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ
ส่องกราด และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องทะลุ

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
หน่วยวิจัยนี้ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2542 และได้ดำเนินการวิจัยจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3 ปี ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นสรุปได้ดังนี้
7.1 โครงการวิจัย
ได้ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวัสดุหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อโลหะ-เซรามิกส์ โดยการสนับสนุนทุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เสร็จสิ้น จำนวน 2 โครงการ อยู่ในระหว่างดำเนินการ 1 โครงการ และอยู่ระหว่างการเสนอโครงการวิจัยต่อเนื่องจากแหล่งทุนภายนอก 1 โครงการ
7.2 ผลงานวิจัยตีพิมพ์
ในปี 2544-2545 ได้ส่งผลงานเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ 1 เรื่อง ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการที่มี peer review 1 เรื่อง
7.3 ผลสัมฤทธิ์อื่น ๆ
นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวัสดุศาสตร์ ปีการศึกษา 2544 1 คน และปีการศึกษา 2545 1 คน

8. ผลสัมฤทธิ์เพื่อขอต่ออายุหน่วยวิจัย
8.1 ผลงานตีพิมพ์
1. Manat Jaimasith, Worapong Thiamsorn and Torranin Chairuangsri, Preparation and Thermal Properties of Borosilicate Glasses for Joining to Fe-Ni-Co Alloys, Proceeding of the 27th Congress on Science and Technology of Thailand, p. 733.
2. Torranin Chairuangsri, Manat Jaimasith, Worapong Thiemsorn, and John. T. H. Pearce, A Microscopical Investigation of the Interface Between Borosilicate Glass and Fe-Ni-Co Alloy Joined by Direct Fusion of Glass to Metal, ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสาร Chiangmai Journal of Science ฉบับต่อไป.
8.2 รายงานการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ฉบับสมบูรณ์ โครงการ "การศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อแก้วกับโลหะผสมเหล็ก-นิกเกิล-โคบอลต์" รหัสโครงการ MT-S-43-MET-10-079-G ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เมษายน 2544.
8.3 แบบข้อเสนอโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม โครงการ "การวิจัยและพัฒนาแก้วบอโรซิลิเกตสำหรับหลอดรังสีเอ็กซ์และกระบวนการประกอบหลอดรังสีเอ็กซ์ทางการแพทย์" เสนอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 1 พฤศจิกายน 2544.