1. ชื่อหน่วยวิจัย หินอัคนีและแหล่งแร่เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
Igneous Rocks and Related Ore Deposits Research Unit
ภาควิชา ธรณีวิทยา

2. สมาชิก

1. นายยืนยง ปัญจสวัสดิ์วงศ์ (ผู้ประสานงาน)
2. นายกิตติศัพท์ เรืองวัฒนาศิริกุล(สมาชิก)
3. นายบูรพา แพจุ้ย     (สมาชิก)
4. อาจารย์ ดร. อภิเชษฐ์ บุญสูง(สมาชิก)

3. หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง :
3.1 เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันมีมากและกระจัดกระจาย ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
3.2 วิเคราะห์ที่มาของข้อมูล เพื่อความถูกในการแปลความหมายของข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
3.3 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ผลการวิจัยมีความสมบูรณ์ในตัวเอง
3.4 ศึกษาวิวัฒนาการการกำเนิดของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการแปลความหมายจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
3.5 ประเมินศักยภาพของแหล่งแร่ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ เพื่อผลในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 ศึกษาวิวัฒนาการของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง จากลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา และธรณีเคมี เพื่อให้ทราบถึงสภาวะแวดล้อมของการเกิด
4.2 ศึกษาการแพร่กระจายของแหล่งแร่ในหินอัคนี เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา และธรณีเคมี ระหว่างหินอัคนีที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับแหล่งแร่ เพื่อกำหนดบริเวณ
ที่มีศักยภาพทางแร่ สำหรับเป็นแนวทางในการสำรวจและพัฒนาให้เป็นแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจ
4.3 ผลการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้วจะใช้เป็นแม่แบบในการศึกษาศักยภาพของแหล่งแร่ชนิดอื่นๆในประเทศไทย

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของหินอัคนีเมฟิก ที่โผล่ตามลำน้ำแม่ลาวตอนบน อำเภอแม่ขะจาน จังหวัดเชียงราย โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อหาสภาวะทางเทคโทนิกของการเกิด
5.2 ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาของหินแกรนิต จากหลุมเจาะของกรมชลประทาน ในบริเวณบ้านแม่สลิด จังหวัดตาก เพื่อ (1) จัดแบ่งชนิดหินแกรนิตและหาความสัมพันธ์ของหินแกรนิตชนิดต่างๆ และ (2) บ่งบอกความลึกของการเย็นตัวและสภาวะทางเทคโทนิกของการเกิด ถ้ามีหลักฐาน
5.3 ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาของหินอัคนีสีจางเนื้อละเอียด ในบริเวณรอยตะเข็บระหว่างอำเภอเกาะคาและอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เพื่อบ่งบอกลักษณะปรากฏของหิน
5.4 ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของหินลาวาหลาก ในบริเวณเขื่อนคลองท่าด่านจังหวัดนครนายก โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อหาสภาวะทางเทคโทนิกของการเกิด

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1. กล้องจุลทรรศน์
6.2. เครื่องบดหิน
6.3. เครื่องทำแผ่นหินบาง

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่รายงานผลสัมฤทธิ์ปีก่อน ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยใหม่ มีดังนี้คือ
7.1 ผลงานที่เสนอในการประชุมวิชาการในประเทศ
-ไม่มี-
7.2 ผลงานที่เสนอในการประชุมวิชาการต่างประเทศ
Tectonic Setting of Formation of Permo-Triassic Chiang Khong Volcanics, Northern Thailand (การประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง Assembly and Breakup of Rhonidinia and Gondwana, and Growth of Asia ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม 2544)
7.3 การเข้าร่วมประชุมวิชาการในประเทศ
-ไม่มี-
7.4 การเข้าร่วมประชุมวิชาการต่างประเทศ
การประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง Assembly and Breakup of Rhonidinia and Gondwana, and Growth of Asia ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 26-30
ตุลาคม 2544)
7.5 งานวิจัย
Tectonic Setting of Formation of Permo-Triassic Chiang Khong Volcanics, Northern Thailand (Extended Abstract ตีพิมพ์ใน Gondwana Research, October 2001, v. 4, no. 4, p. 728)
7.6 งานบริการทางวิชาการ
- ผู้ประเมินวิทยานิพนธ์ที่เสนอขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ
- ศึกษาวิทยาหินและศิลาวรรณนาให้แก่ กรมชลประทาน
              Right Tunneling Co. Ltd.
              GMT Cooperation Co. Ltd.
              Padaeng Industry Co. Ltd.

8. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ใหม่ มีดังนี้คือ

Tectonic Setting of Formation of Permo-Triassic Chiang Khong Volcanics, Northern Thailand(Extended Abstract ตีพิมพ์ใน Gondwana Research, October 2001, v. 4, no. 4, p. 728)