1. ชื่อหน่วยวิจัย ตรวจสอบความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
Toxicological Test of Natural products Research Unit
ภาควิชา ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. รศ.สาลิกา อริธชาติ (ผู้ประสานงาน)
2. นายสุลักษณ์ วุทธีรพล   (สมาชิก)

3. หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของพืชและสัตว์มากมายมาใช้ทั้งในรูปของอาหาร ยา เครื่องสำอางค์ อาหารเสริม เพื่อนำมาทดแทนสารที่ได้จากการสังเคราะห์ที่ปัจจุบันพบว่ามีผลข้างเคียงมาก แต่อย่างไรก็ได้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติบางอย่างที่นำมาใช้ อาจยังไม่ได้มีการพิสูจน์ถึงความเป็นพิษ หรือมีผลข้างเคียงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การทำวิจัยเพื่อตรวจสอบความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่างๆ ที่พบว่าสามารถนำมาใช้เป็นอาหาร ยา หรือเคื่องสำอางค์ จึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้บริโภคก่อนการนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาตินั้นๆ ไปพัฒนาทางอุตสาหกรรม และใช้กันแพร่หลายต่อไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อทำการวิจัยและค้นคว้าตรวจสอบความเป็นพิษของสารที่ได้จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ก่อนที่จะนำไปใช้ในการบริโภคต่อไป และให้บริการตรวจสอบความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่างๆ แก่บุคคลภายนอกที่สนใจ

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
การวิจัยพิษของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่นำมาใช้ในการพัฒนาเป็นยา และอาหารเสริม เช่น ยาแผนโบราณต่างๆ ที่ผลิตจากสมุนไพร เช่น กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
1. เครื่องสกัดสาร
2. Rotary evaporator
3. เครื่องวัดความเป็นกรดเป็นด่าง
4. เครื่องตรวจนับเม็ดเลือด
5. ตู้อบควบคุมอุณหภูมิ
6. UV-Vis Spectrophotometer
7. เครื่อง Centrifuge
8. กล้องจุลทรรศน์
9. วัสดุเครื่องแก้วและสารเคมีอื่นๆ

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
ก. งานวิจัยที่เผยแพร่แล้ว
1. S. Aritajat, K. Kaweewat, J. Manosroi and A. Manosroi Dominant Lethal Test in Rat Treated with Some Plant Extracts. Southeast Asian. J. Trop. Med. and Pub. Health. Suppl. 2000(1).
2. โชคชัย ศรีกัลยานุกูล และสาลิกา อริธชาติ. พิษของ Crude enzyme ของเชื้อราไอโซเลท AD-3S ในหนูถีบจักร (Swiss albino mice) วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. (กำลังอยู่ในระหว่างรอการตีพิมพ์)
3. อรัญญา มโนสร้อย สาลิกา อริธชาติ กนกพร กวีวัฒน์ และจีรเดช มโนสร้อย. ผลความเป็นพิษระยะสั้นและผลต่อระบบอวัยวะสืบพันธุ์ต่อหนูขาวเพศเมียของสมุนไพร กวาวเครือแดง (Butea superba, Roxb.) สัมมนาวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพเภสัชกรรม ครั้งที่ 2. 2543.
4. Puatanachochai, R., J. Manosroi, A. Manosroi, S. Aritajat and U. Vinetketkamnuen. 1998. Antimutagenic and Anticarcinogenic Enzyme Inducing Activity of Sansoke (Clausena excavate) and Nom Nong (Pouteria cambodiana). The 3rd International Conference on Environmental Mutagen in Human Population.
5. A. Pongpanparadorn, S. Aritajat, K. Kaweewat. Toxicological Test of Butea superba, Roxb. By Micronucleus Test and Eominant Lethal Test. Southeast Asian J. Trop. Med. Pub. Health. (inpress)
6. Salika Aritajat, Kanokporn Kaweewat and Wason Manoruang. Toxicological Study of Some Antifertility Plant Extracts by Micronucleus Test. ChiangMai J. Sci. 2001; 28(2) : 113-118.

ข. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
1. "ผลระยะยาวของน้ำสกัดใบหญ้าหวานต่อการสืบพันธุ์และระบบอวัยวะในหนูถีบจักร" (กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการขอทุนจากสถาบันแพทย์แผนไทย งบประมาณปี 2546)
2. "การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดจากเปลือกต้นนมนาง ด้วยวิธี Micronucleus test" (ดำเนินการได้ประมาณ 50%)