1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย การพัฒนาเครื่อง X-Ray เพื่อใช้ในการตรวจสอบวัสดุ
Development of X-ray Diffraction Equipment For Material Characterization Research Laboratory

2. สมาชิก

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย คือ ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ตันฆศิริ

2.1 หน่วยวิจัย: หน่วยวิจัยและพัฒนาการวิเคราะห์ขนาดของอนุภาค
: Research and Development on Particle Size Analysis
ซึ่งมีสมาชิกบุคคล ดังนี้
2.1.1 รศ.ดร.จีระพงษ์ ตันตระกูล
2.1.2 ดร.อานนท์ ชัยพานิช
2.1.3 นาย สุวิทย์ ชัยสุพรรณ
2.2 หน่วยวิจัยและพัฒนาการวิเคราะห์เมื่อรังสีตกกระทบทำมุมน้อยๆ
:Research and Development on Glancing Incident Angle Analysis
ซึ่งมีสมาชิกบุคคล ดังนี้
2.2.1 ผศ.ดร.กอบวุฒิ รุจิจนากุล
2.2.2 ดร.วิม เหนือเพ็ง
2.2.3 ดร.สุกานดา เจียรศิริสมบูรณ์
2.2.4 นาย ธีระพงษ์ ศิลาวงศ์สวัสดิ์

3. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน รังสีเอกซ์มีประโยชน์อย่างมากมายในการวิเคราะห์โครงสร้างผลึกและแร่ธาตุต่างๆ การวิเคราะห์ด้วยรังสีเอกซ์เป็นวิธีหนึ่งที่เชื่อมั่นได้ และได้มีการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวางทั้งในวงวิชาการระดับอุดมศึกษา อีกทั้งยังมีการพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ ในปัจจุบันการใช้รังสีเอกซ์มาเป็นเครื่องมือวัดขนาดของอนุภาคได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเพราะว่าในกลุ่มของเซรามิก หากอนุภาคของวัตถุดิบมีขนาดเล็กก็จะให้ค่าทางกายภาพดีกว่าอนุภาคขนาดใหญ่ อนุภาคเหล่านี้จะเล็กมากขนาดนาโน เครื่องวัดต่างๆ จะไม่สามารถวัดได้แม่นยำนัก
อนึ่ง การเกิด effect ต่างๆ มักอยู่ที่ผิวทั้งสิ้น และในความลึกที่ไม่มากนัก การวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะทำค่อนข้างลำบาก ดังนั้นการพัฒนาวิธีวิเคราะห์แบบให้รังสีตกกระทบด้วยมุมเล็กๆ ก็จะสามารถบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ การจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจหาลักษณะเฉพาะโดยรังสีเอกซ์ เพื่อดำเนินกิจกรรมการวิจัย ศึกษา และพัฒนาการวิเคราะห์เซรามิก ให้ได้ละเอียดแม่นยำยิ่งขึ้น ตลอดจนถึงการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานในการศึกษาทางด้านนี้ จึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษา งานวิจัยในระดับสากลที่สอดคล้องกับสภาพอุตสาหกรรมของสังคมไทยอีกด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาการวัดขนาดอนุภาคของผงละเอียดที่นำไป sinter ให้เป็นเซรามิก
4.2 เพื่อพัฒนาเครื่องมือ ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างของผลึกต่างๆ
4.3 เพื่อพัฒนาวิธีวัดโดยวิธีให้รังสีเอกซ์ตกกระทบด้วยมุมเล็กๆ เพื่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

5 งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 การพัฒนาการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคของผงวัตถุดิบที่ใช้เป็นวัตถุตั้งต้นทำเซรามิกทางไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้น เช่น เซรามิกส์ที่ใช้ในอัลตราโซนิกส์ ตัวเก็บประจุ สาร PZT
5.2 การพัฒนาวิธีศึกษาปรากฏการณ์ที่ผิวของ Positive Temperature Coefficient Thermistor
5.3 พัฒนาการศึกษาการเกิดผลึกของแผ่นฟิล์มบาง PZT บนแผ่น Platinum

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
เครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ พร้อม
กล้อง Debye Scherrer 2 ชุด
กล้อง Laue & Oscillation 1 ชุด
กล้อง Weisenberg 1 ชุด
ชุด Diffractometer พร้อม JCPDS ใน microfiche
ชุด XRF พื้นฐาน 1 ชุด

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน (2544)
7.1 โครงการวิจัยที่ได้รับทุนที่กำลังดำเนินการอยู่
7.1.1 การผลิตวัสดุที่มีการเผาที่อุณหภูมิต่ำและค่าไดอิเลคตริกสูง สำหรับทำตัวเป็น ประจุไฟฟ้าโดยวิธีหล่อ
แหล่งทุน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
งบประมาณที่ได้รับ 4,000,000.- บาท
7.1.2 สารเฟร์โรอิเล็กตริกเซรามิกส์ PZT-BT สำหรับประยุกต์ใช้เป็นตัวเก็บประจุ
แหล่งทุน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
งบประมาณที่ได้รับ 300,000.- บาท ต่อปี
7.1.3 โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบสารไดอิเล็กตริกคุณภาพสูง
แหล่งทุน สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
งบประมาณที่ได้รับ 1,204,000.- บาท
7.1.4 การประดิษฐ์วัสดุผสมเพียโซอิเล็กตริกสำหรับการสร้างภาพด้วยคลื่นเหนือเสียงในทางการแพทย์ (ปีที่ 1)
แหล่งทุน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งบประมาณที่ได้รับ 400,000.- บาท ต่อปี

7.2 การดูงาน ฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมการวิจัยในปี 2544
7.2.1 การเข้าร่วมประชุม การเสนอผลงาน และการดูงาน
(1) ร่วมเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ครั้งที่ 18 ณ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม 2544
(2) ร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ Ferroelectric Thick and Thin Films Processing for Electroceramic Devices (ASEAN) ณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2544
(3) ร่วมเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการโครงการกาญจนาภิเษก ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดชลบุรี ในระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2544
(4) ร่วมเสนอนิทรรศการการประชุม World of Technology ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติกรุงเทพฯ (ไบเทค) ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2544
(5) ร่วมเสนอผลงานโครงการทุนวิจัยหลังปริญญาเอก ณ จังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม 2544
(6) ร่วมเสนอผลงานในการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2544

7.2.2 การจัดสัมมนาและการให้บริการทางด้านวิชาการแก่ชุมชน ในปี 2544
(1) ได้ให้บริการตรวจวิเคราะห์แร่ธาตุแก่เอกชน ผ่านทางสถาบันสถาบันบริการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(2) ได้ให้บริการตรวจวิเคราะห์สารด้วยเครื่อง X-ray แก่คณาจารย์ และนักศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7.3 ผลงานที่เสนอหรือเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในปี 2544
1. A. Udomporn, S. Ananta and T. Tunkasiri, and, "Effect of Sintering Temperature on Microstructure and Phase Transformation Behavior in Lead Titanate Ceramics", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 41-42.
2. P. Youmee, S. Phanichphant and S. Ananta, "SEM and XRD Investigations of Effects of Sintering Time on Phase and Morphology of Iron Niobate Ceramic", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 93-94.
3. S. Tangjuank, T. Tunkasiri and S. Ananta, "The Effect of Sintering Conditions on Densification and Microstructure of BaTi4O9 Ceramics", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 103-104.
4. W. Maison, S. Ananta, G. Rujijanagul and S. Panichphant, "The Relationship between Phase and Morphology of BaTiO3 Powders Synthesized by a Catecholate Process", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 117-118.
5. S. Chaisupan, S. Ananta, A. Munpakdee and T. Tunkasiri, "XRD and SEM Studies of Phase and Microstructural Evolution in PbNb2O6 Ceramics", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 119-120.
6. A. Munpakdee, S. Ananta and T. Tunkasiri, "Effect of Calcination Conditions on Morphology in PbNb2O6 Powders", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 121-122.
7. S. Nualpralaksana, R. B. Heimann and S. Panichphant, "SEM and XRD Studies of Lead Zirconate Titanate Powders Synthesized by Hydrothermal Process", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 129-130.
8. W. Thamjaree, S. Ananta and T. Tunkasiri, "SEM and XRD Studies on PZT Powders Prepared by Using PbZrO3 and PbTiO3 Precursors", J.E.M.S.T. 2001, 15(suppl.) 131-132.
9. N. Sirikulrat, P. Ratchawang and T. Tunkasiri, "Effect of Sintering Temperature on Zinc Oxide Varistor Characteristics", STT27, 16-18 Oct. 2001, Songkla.
10. W. Thamjaree, P. Malasri, W. Nhuapeng and T. Tunkasiri, "Effect of Poling Process on Crystallinity of Lead Zirconate Titanate Ceramics", STT27, 16-18 Oct. 2001, Songkla.
11. W. Thamjaree, G. Rujijanagul, T. Tunkasiri and S. Ananta, "Effect of Sintering Temperature on Phase Formation Behaviour and Dielectric Property of Lead Zirconate Ceramics" STT27, 16-18 Oct. 2001, Songkla.
12. S. Eitssayeam S. Ananta and T. Tunkasiri, "Influence of Calcination Heating/Cooling Rates on Phase Formation Behavior of Iron Niobate" STT27, 16-18 Oct. 2001, Songkla.
13. J. Tontrakoon, A. Munpakdee, S. Ananta and T. Tunkasiri, "Effect of Calcination Condition on Phase Formation in PMN Powders" STT27, 16-18 Oct. 2001, Songkla.

7.4 ความร่วมมือในด้านวิจัยกับสถาบันต่างประเทศ ได้ร่วมงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์กับสถาบันต่างประเทศ ดังนี้
7.4.1 Department of Materials, School of Chemistry (IRC) และ Department of Physics and Astronomy University of Leeds, Leeds, U.K.
7.4.2 Department of Physics, Chemistry and Engineering, University of Reading, Reading, U.K
7.4.3 University of Science and Technology of Lille, Lille, France
7.4.4 Freiberg University of Mining and Technology, Freiberg, Germany
7.4.5 Jinan University, Guangzhou, P.R. China
7.4.6 Department of Materials Science and Engineering, University of Illinois at Urbana-Champaign, Illinois, U.S.A.
7.4.7 Faculty of Mining, Metallurgy and Geosciences, RWTH Aachen, Germany