1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์
Applied Physics Research Loboratory
ภาควิชา ฟิสิกส์

2. สมาชิก

1  รองศาสตราจารย์ ดร. นิกร มังกรทอง น์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการฯ
2. รองศาสตราจารย์ ดร. ผ่องศรี มังกรทอง
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเพ็ญ ท้าวตา
4. อาจารย์อัจฉราวรรณ กาศเจริญ
5. อาจารย์ ดร.สุภาพ ชูพันธ์
6. นายศรชัย ธนันชัย
7. นายสุวิทย์ วงศ์ศิลา
8. นางสาวนงคราญ ปัญญาเรือน

3. หลักการ และเหตุผล (ของการจัดตั้งปฏิบัติการวิจัยนี้ )
การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันมักจะมีลักษณะผสมผสานจากความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ รองรับกันเป็นทอด ๆ เช่น ด้านคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานมาจากความสามารถผลิต IC chip ที่ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งการที่ผลิต IC chip ได้ตามต้องการ เพราะมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอนหรือเจอร์มันเมียม ดังนั้น การผลิตหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในปัจจุบันและอนาคต จึงเป็นการเดินไปข้างหน้าโดยมีความรู้พื้นฐานด้านต่าง ๆ รองรับอย่างหนักแน่น เพื่อรองรับการประยุกต์ใช้ที่มีศักยภาพทั้งในปัจจุบัน และอนาคตในระยะยาว
หากมองย้อนประวัติศาสตร์จะเห็นว่า ความรู้ของมนุษย์ชาติที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่าง ๆ เป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาด้านความเป็นอยู่ และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในยุคต่าง ๆ อยู่มาก เช่น พัฒนาการด้านอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มาจากพื้นฐานของความรู้ด้านสารกึ่งตัวนำที่ศึกษาวิจัยมาเมื่อ 30 - 40 ปีที่ผ่านมา
ยุคนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การรู้เท่าทันในเชิงวิชาการด้านวัสดุและอุปกรณ์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ในระดับสูง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ให้การสนับสนุนงานวิจัยทางด้านนี้เช่นกัน ซึ่งการวิจัยทางด้านฟิสิกส์ประยุกต์นี้นอกจากจะเพื่อการเรียนการสอนแล้วยังจะมีศักยภาพในการก่อประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยและประเทศค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีความพร้อมของบุคลากรอยู่พอสมควร จึงเหมาะที่จะมีห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านฟิสิกส์ประยุกต์ขึ้น เพื่อรองรับการเรียนการสอนระดับปริญญาโทในหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ที่เปิดสอนในภาควิชาฟิสิกส์ โดยเน้นการศึกษาและประยุกต์ใช้สมบัติทางกายภาพของวัสดุต่าง ๆ ทั้งทางด้าน thin film และ bulk และเนื่องจากห้องวิจัยฯ มีความชำนาญในการวิจัยทางด้านสารตัวนำยวดยิ่งมาก่อนจึงจะยังมีการวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้ควบคู่กันไปกับวัสดุอื่น ๆ ด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 วัตถุประสงค์ของห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ มีดังนี้คือ
1. เพื่อศึกษาและวิจัยทางด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์ประยุกต์ของวัสดุต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นทางด้านฟิล์มบาง และ bulk
2. เพื่อศึกษาพัฒนาการประยุกต์ใช้สารซูเปอร์คอนดักเตอร์และ oxide sensor
4.2 เป้าหมาย
สำหรับเป้าหมายของห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ ในช่วง 3 - 5 ปีแรกนี้ (2545 - 2550) จะเน้นอยู่ที่วัสดุ 3 - 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ สารตัวนำยวดยิ่ง ออกไซด์ sensors สิ่งทอ และน้ำผึ้ง
4.2.1 การจัดหาบุคลากร
         ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ มีบุคลากรที่สามารถรองรับงานของโครงการนี้ ประมาณ 7 คน ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ ที่มีความชำนาญทางอิเล็กทรอนิกส์ และทางการทดลองและบันทึกข้อมูลเพื่อช่วยในการทดลองและเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั้นจะต้องจัดหาต่อไป
4.2.2 การจัดหาอุปกรณ์การวิจัย
          ขณะนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ มีอุปกรณ์พื้นฐานเพียงพอสำหรับการศึกษาและวิจัยทางด้านต่าง ๆ ประกอบกับมีนักวิจัยที่พร้อมจะทำการวิจัยทางด้านนี้อยู่แล้ว โดยมีขีดความสามารถเตรียมสารที่เป็นตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูงกวาจุดเดือดของไนโตรเจนเหลวได้แล้ว ตั้งแต่ ธค. 30 และมีเครื่องมือในการเตรียมฟิล์มบางของออกไซด์ อยู่แล้ว ซึ่งในขณะนี้กำลังเริ่มงานวิจัยพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้สารเหล่านี้อยู่ จึงมีอุปกรณ์หลักที่สำคัญอีกหลายอย่างที่จะต้องจัดหา โดยเฉพาะเครื่องมือและอุปกรณ์การวัดและวิเคราะห์เฉพาะอย่างทางแม่เหล็กไฟฟ้า

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินงานอยู่
งานวิจัยหลักของห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ
1. ศึกษาวิธีการสังเคราะห์ตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูง ในกลุ่มสารประกอบประเภทออกไซด์ของ yttrium และ Bismuth
2. ศึกษาสมบัติทางกายภาพของสารที่สังเคราะห์ขึ้น ทั้งในลักษณะฟิล์มบาง และ bulk
3. วิจัยและพัฒนาเทคนิคการสร้างอุปกรณ์โดยใช้สมบัติเด่นของสาร
4. การสร้างหัว sensor จากโลหะออกไซด์สำหรับตรวจวัดความเข้มข้นของก๊าซ ตรวจจับมลพิษ และตรวจสอบองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนในพวกปิโตรเคมี
5. ปรับปรุงคุณภาพของสิ่งทอด้วยการ glow discharge
6. ศึกษาสมบัติกายภาพของน้ำผึ้งด้วยเทคนิคทางฟิสิกส์

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1. เตาเผาอุณหภูมิ 1100oC 4 เตา
2. เครื่องวัดสัญญาณไฟฟ้าแบบตัวเลข (4 1/2) 1 เครื่อง
3. เครื่องวัดสัญญาณไฟฟ้าแบบตัวเลข (3 1/2) 2 เครื่อง
4. เครื่องวัดสัญญาณไฟฟ้าแบบอย่างละเอียด 16 ช่องพร้อมกับบันทึกได้ 1 เครื่อง
5. Cryostat สำหรับวัดความร้อน 1 ชุด
6. Cryostat สำหรับความต้านทานจำเพาะสาร
7. เครื่อง Closed Cycle Refrigerator System and Accessory จำนวน 1 ชุด
8. เครื่อง ชั่งไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง
9. เครื่อง อัดสารไฮดรอลิก จำนวน 2 เครื่อง
10. เครื่อง Vacuum Pumping System จำนวน 1 ชุด
11. เครื่อง Lock-In Amplifier Unit จำนวน 1 เครื่อง
12. เครื่อง Ion-Selective Meter จำนวน 1 เครื่อง
13. เครื่อง Low Voltage Measurement Package จำนวน 1 ชุด
14. เครื่อง Temperature Controller จำนวน 2 เครื่อง
15. เครื่อง Liquid nitrogen dewar and accessory จำนวน 3 เครื่อง
16. กล้องขยายไมโครสโคป จำนวน 1 ชุด
17. เครื่องวัดความเข้มสนามแม่เหล็ก จำนวน 1 ชุด
18. เครื่อง Three zone tube furnaces จำนวน 1 ชุด
19. เครื่อง Low Voltage Measurement System จำนวน 1 ชุด
20. เครื่อง High Temperature Furnace จำนวน 1 ชุด
21. เครื่องตัดสาร จำนวน 1 ชุด
22. เครื่องขัดสาร จำนวน 1 ชุด
23. เครื่อง Spectrum Analyzer จำนวน 1 ชุด
24. เครื่อง Oscilloscoope จำนวน 1 ชุด
25. ARC-12 AUTOMATIC RESEARCH SPUTTERING SYSTEM จำนวน 1 ชุด
26. Supercunducting Film Deposition System จำนวน 1 ชุด

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยที่ห้องปฏิบัติการวิจัยได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้ คือ
7.1 โครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน
1. Research on High Temperature Superconductivity : Thermal property ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก STDB ปี 2532 - 2534
2. การสังเคราะห์สารตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงในกลุ่มออกไซด์ Bi-Sr-Ca-Cu ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2532
3. A computer program for characterization of high temperature superconductors ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก STDB ปี 2534 - 2535
4. การสังเคราะห์สารตัวนำยวดยิ่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 120 เคลวิน (ตอน 1, 2) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2535, 2536
5. สมบัติทางไฟฟ้าและโครงสร้างของสารตัวนำยวดยิ่ง YBa2(Cu1-xFex)3O7-y ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2537
6. หัววัดตัวนำยวดยิ่งเพื่อวัดระดับไนโตรเจน ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2537
7. ระบบอัตโนมัติสำหรับกระแสวิกฤตของสารตัวนำยวดยิ่ง ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2538
8. การเพิ่มความหนาแน่นกระแสวิกฤตของสารตัวนำยวดยิ่ง YBCO โดยการเติม Ag (เฟส 1, 2) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2539, 2540
9. เทคนิคการวัดความหนาแน่นกระแสวิกฤตของสารตัวนำยวดยิ่งโดยใช้กระแสแบบพัลส์ (เฟส 1, 2) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2540, 2541
10. การฟาบริเคทสารตัวนำยวดยิ่ง YBCO ความหนาแน่นกระแสวิกฤตสูง ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ปี 2535
11. สภาพต้านทานแอนไอโซทรอปิกของผลึกเชิงเดี่ยวในระบบ La2-xSrxCuO4 (ปีที่ 1, 2) ได้รับทุน สนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2542, 2543
12. การศึกษาปริมาณของออกซิเจนที่มีผลต่อค่าอุณหภูมิวิกฤต (TC) และค่าความหนาแน่นกระแสวิกฤต (JC) ของสารตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง YBa2Cu3O6+x (ปีที่ 1, 2) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปี 2542, 2543
13. ปรากฏการณ์ฮอลล์เหนืออุณหภูมิวิกฤต(TC) ในสารตัวนำยวดยิ่งออกไซด์ YBa2Cu3-xFexO7+d (ปีที่ 1, 2) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปี 2542, 2543
14. ระบบควบคุมสำหรับเตาเผาสารเพื่อใช้ในการเตรียมสารซูเปอร์คอนดักเตอร์อุณหภูมิสูง ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานอธิการบดี ปี 2544
15. การเปลี่ยนแปลงสมบัติสิ่งทอด้วยกระบวนการพลาสมา ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2544

7.2 นักศึกษาที่ทำวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยฯ ที่ได้รับทุนสนับสนุน
7.2.1 นส.อัจฉราวรรณ กาศเจริญ (ฟิสิกส์) ทุนสนับสนุนการศึกษาจากบัณฑิต วิทยาลัย มช.
7.2.2 นส.ภควดี สุขอนันต์ (เคมี) ทุน STDB
7.2.3 นายพรชัย ชนบท (ฟิสิกส์) ทุน STDB
7.2.4 นายสัมพันธ์ รัตนบุรี (ฟิสิกส์ ป.เอก) ทุนสนับสนุนการศึกษาจากบัณฑิต วิทยาลัย มช. (2536 - 2538)
7.2.5 นายบรรจง มาพิจารณ์ (ฟิสิกส์) ทุนสนับสนุนการศึกษาจากบัณฑิต วิทยาลัย มช.
7.2.6 นส.มนันยา หลวงสุวรรณ (ฟิสิกส์) ทุน ศิษย์ก้นกุฏิ จาก สวทช. ปี 2544
7.2.7 นส.สุจิตรา อินเดชะ (ฟิสิกส์) ทุน สสวค. ปี 2541
7.2.8 นายณรงค์ ขัดคำ (ฟิสิกส์) ทุน สสวค. ปี 2541
7.2.9 นายพัชรพงษ์ เวียงนาค (ฟิสิกส์) ทุน พสวท. ปี 2541
7.2.10 นายภาณุวัฒน์ ไชยเชษฐ์ (ฟิสิกส์) ทุน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2544

7.3 การร่วมประชุมสัมมนา/ฝึกอบรมด้านการวิจัย
7.3.1 นายนิกร มังกรทอง และนางผ่องศรี มังกรทอง เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง International workshop on Nano & Micro Robotics วันที่ 14 - 15 มีนาคม 2545 จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
7.3.2 นายนิกร มังกรทอง และนางผ่องศรี มังกรทอง เข้าร่วมการอบรมเรื่อง การให้บริการตรวจสอบการประดิษฐ์และการตรวจค้นเอกสารให้กับหน่วยงานที่รับตรวจสอบการประดิษฐ์ วันที่ 18 - 19 มกราคม 2545 จัดโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา
7.3.3 นายนิกร มังกรทอง, นางผ่องศรี มังกรทอง, นายสุวิทย์ วงศ์ศิลา เข้าร่วมการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 ระหว่าง
วันที่ 16-18 ตุลาคม 2544 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

7.4 อื่น ๆ (เช่น ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยอื่น ๆ)
7.4.1 ทางห้องปฏิบัติการวิจัยฯ ร่วมกับ 6 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหิดล มหาวิทยาลัยสงขลา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์
และ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำการวิจัยเกี่ยวกับสารตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูง โดยทางห้องปฏิบัติการวิจัยฯ นี้ ได้รับทุนอุดหนุนจาก STDB เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินประมาณ 3 ล้านบาท โดยเริ่มโครงการ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2531 เป็นต้นไป แม้ว่าขณะนี้จะสิ้นสุดโครงการแล้ว แต่ก็ยังมีการติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอยู่เป็นครั้งคราว
7.4.2 ได้ร่วมแสดงนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ ณ ตึกฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ (2531-2532)
7.4.3 ได้เข้าร่วมโครงการค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ภาคฤดูร้อน สำหรับเยาวชนภาคเหนือ ครั้งที่ 8 (2532), 9 (2533) และ 10 (2534)
7.4.4 ร่วมมือกับหน่วยวิจัยต่างประเทศ สืบเนื่องจากการที่ผู้อำนวยการและคณะ ISIR มหา วิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ได้มาเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 - 24 พย.
2533 และต่อมาได้มีการติดต่อทาบทามเพื่อให้ นายสุภาพ ชูพันธ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ ที่ช่วยงานของห้องปฏิบัติงานวิจัยฯ อยู่ ได้มีโอกาสไปศึกษาและวิจัย ณ ห้องวิจัย ด้านวัสดุของมหาวิทยาลัย โอซาก้า และต่อมาได้รับทราบจาก Prof. Tomoji Kawai (17 กค.34) ว่านายสุภาพ ชูพันธ์ ได้รับทุน Mabuncho ของปีการศึกษา 2534 ไปศึกษาและวิจัย ภายใตัการดูแลของห้องวิจัยที่ Prof. Kawai รับผิดชอบอยู่ เป็นระยะเวลา 18 เดือน นับแต่เดือน ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และขณะนี้ได้ดำเนินการขอขยายทุนศึกษาต่ออีก 2 ปี

7.4.5 วันที่ 16 - 25 ตุลาคม 2537 รศ.ดร.นิกร มังกรทอง ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัย ISIR, Osaka University และห้องปฏิบัติการวิจัย ISTEC, Tokyo ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับ
ทุนสนับสนุนจากโครงการวิจัยฯ
7.4.6 วันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2538 รศ.ดร.นิกร มังกรทอง เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ 8th International Symposium on Superconductivity ณ ประเทศญี่ปุ่น
7.4.7 หัวหน้าหน่วยวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.นิกร มังกรทอง ไปฝึกอบรมเพื่อทำวิจัย
ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน 2540 - 17 ตุลาคม 2540
                          ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 - 19 มิถุนายน 2541
                           ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2541 - 30 พฤศจิกายน 2541
                           ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม 2542 - 22 มิถุนายน 2542
                           ระหว่างวันที่ 25 กันยายน 2542 - 8 ธันวาคม 2542
                           ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม 2543 - 15 มิถุนายน 2543
                           ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2544 - 30 สิงหาคม 2544
และไปดูงานด้านสารตัวนำยวดยิ่งและ Advanced เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 2 - 6 ธันวาคม 2541
7.4.8 สมาชิกหน่วยวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ผ่องศรี มังกรทอง ไปฝึกอบรมเพื่อทำวิจัย
ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2541 - 5 พฤษภาคม 2541
                         ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน 2543 และไปดู
งานด้านสารตัวนำยวดยิ่ง ณ ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 19 - 25 กันยายน 2541
7.4.9 สมาชิกหน่วยวิจัย อาจารย์อัจฉราวรรณ กาศเจริญ และนักศึกษาปริญญาเอก นายยี่หล่อ จื่อตู้ปา ได้เข้าร่วมการประชุม International workshop on superconductivity, magneto-resistive materials and strongly correlated quantum system ณ ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 4 - 10 มกราคม 2542

8. ผลสัมฤทธิ์ที่จะขอต่อหรือจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัย/หน่วยวิจัยในปีนี้ .
1. B. Lake, G. Aeppli, K. N. Clausen, D. F. McMorrow, K. Lefmann, N. E. Hussey, N. Mangkorntong, M. Nohara, H. Takagi, T. E. Mason and A. Schroder, Spins in the Vortices of a High-Temperature Superconductor , Science ,Vol. 291, 1759, 2001.
2. S. Choopun, R. D. Vispute, W. Yang, R. P. Sharma, T. Venkatesan, and H. Chen, (2001), "Realization of bandgap above 5.0 eV in metastable cubic-phase
MgxZn1-xO alloy films", accepted to publish in Appl. Phys. Lett.
3. W. Yang, R. D. Vispute, S. Choopun, R. P. Sharma, T. Venkatesan, and H. Chen, (2001), "Ultraviolet photoconductive detector based on epitaxial Mg0.34Zn0.66O thin
films", Appl. Phys. Lett. 78, 2787.
4. M. Nohara, H. Suzuki, N. Mangkorntong, and H. Takagi, Impurity-induced gap renormalization in anisotropic superconductors : Mixed-state specific heat of La2-xSrx(Cu1-yZny)O4 and Y(Ni1-xPtx)2B2C , Physica C , 341-348 (2000) 2177-2180.
5. M. Nohara, H. Suzuki, M. Isshiki, N. Mangkorntong, F. Sakai and H. Takagi, Quasiparticle Density of States of Clean and Dirty d-Wave Superconductors :
Mixed-State Specific Heat of La2-xSrxCuO4 Single Cryatsls, Journal of the Physical Society of Japan, Vol. 69, No.6, June, 2000, pp.1602-1605.
6. S. Choopun, D. M. Chalk, W. Yang, R. D. Vispute, S. B. Ogale, R. P. Sharma, and T. Venkatesan, (2000), "Single quantum well heterostructures of
MgZO/ZnO/MgZnO on c-plane sapphire", Mat. Res. Soc. Symp. Proc. 623, 359.
7. R. D. Vispute, S. Choopun, Y. H. Li, D. M. Chalk, S. B. Ogale, R. P. Sharma, T. Venkatesan, and A. Iliadis, (2000), "First observation of atomic long range ordering in metal-oxide based ZnMgO wide bandgap heterostructures", Mat. Res. Soc. Symp. Proc. 583, 189.
8. H. Suzuki, M. Nohara, N. Mangkorntong and H. Takagi, Low-temperature specific heat of La2-xSrxCuO in the vortex state , Meeting Abstracts of the Physical Society of Japan, Volume 54, Issue 2, Part 3, page 448, 1999.
9. Sripen Towta, Nikorn Mangkorntong, Pongsri Mangkorntong, Nuwat Pimpabut, Sornchai Tanunchai and Suwit Wongsila., Hall Mobility in Bulk YBa2(Cu1-xFex)3O7-d , 27th Cong. Sci. and Tech. of Thailand, 16 - 18 Oct., 2001.
10. Pongsri Mangkorntong, Sripen Towta, Nikorn Mangkorntong, Agaluk Pharasak and Sornchai Tananchai., Growth of Bi(Pb)-Sr-Ca-Cu-O Superconducting Whisker by Melt-Quenched Method, 27th Cong. Sci. and Tech. of Thailand, 16 - 18 Oct., 2001.
11. Nikorn Mangkorntong, Pongsri Mangkorntong, Sripen Towta, Suvit Thanasanvorakun and Suwit Wongsila., Growth of Bi2Sr2Ca4Cu6PbyO10+x (y = 0 and 0.5) Superconducting Whiskers, 27th Cong. Sci. and Tech. of Thailand, 16 - 18 Oct., 2001.
12. Suwit Wongsila and Nikorn Mangkorntong., Computer Program for Characterization of Critical Current Density of High Temperature Superconductor, 27th Cong. Sci. and Tech. of Thailand, 16 - 18 Oct., 2001.
13. Nikorn Mangkorntong, Suparp Na Chiangmai, Sripen Towta, Pongsri Mangkorntong, Atcharawon Gardchareon, Sornchai Tanunchai, Chumni Cangphagdee and
Suwit Wongsila., The effect of Y2BaCuO5 content on current density of YBa2Cu3O7-x prepared by a Modified powder melt growth process, 22nd Cong. Sci. and
Tech., Bangkok, Thailand, 16 - 18 Oct., 130 - 1, 1996.
14. Weeranut Songponwanich, Sripen Towta, Nikorn Mangkorntong, Pongsri Mangkorntong, Atcharawon Kardchareon and Chumni Sangphagdee., Growth of Bi2Sr2CaCu2Ox whiskers, 22th Cong. Sci. and Tech. of Thailand, 16 - 18 Oct., 1996
15. Pairote Ek-uran, Nikorn Mangkorntong, Suparp Na Chiangmai, Sripen Towta, Atcharawon Gardchareon and Saman Songtrakool., Hall coeffieient and
resistivity in sputtered Cu film, 22th Cong. Sci. and Tech. of Thailand, 16 - 18 Oct., 1996.