1. ห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อม
Environmental Research Laboratory
ภาควิชา เคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. สมาชิกประกอบด้วย

1. ผศ.ดร. สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
2. ผศ.ดร. อรอนงค์ อาร์คีโร
3. อ.ดร. สมพร จันทระ
4. อ.ดร. สุนันทา วังกานต์
5. อ.ดร. อุไร ชาตรีวงศ์สิน
6. อ.ธีรบุญ พจนการุณ
7. อ.ชำนิ แสงภักดี (ลาศึกษาต่อ)
 

โดยประกอบด้วย 5 หน่วยคือ
2.1 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยและการพัฒนาวิธีวิเคราะห์
(ภาษาอังกฤษ) Trace Metal Analysis and Method Development

2.1.1 ผศ.ดร. สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
2.1.2 ผศ.ดร. อรอนงค์ อาร์คีโร
2.1.3 อ. ธีรบุญ พจนการุณ

2.2 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์ยาปราบศัตรูพืชและสัตว์ที่ตกค้าง
(ภาษาอังกฤษ) Pesticide Residue Analysis

2.2.1 อ. สุนันทา วังกานต์ ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย
2.2.2 อ. ชำนิ แสงภักดี (ลาศึกษาต่อต่างประเทศ)
2.2.3 ผศ.ดร สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์

2.3 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพน้ำ
(ภาษาอังกฤษ) Water Quality Monitoring and Water Treatment

2.3.1 อ.ดร. อุไร ชาตรีวงศ์สิน ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย
2.3.2 อ.ดร. สุนันทา วังกานต์
2.3.3 อ.ดร. สมพร จันทระ

2.4 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์สารมลพิษในอากาศ
(ภาษาอังกฤษ) Air Pollution Monitoring

2.4.1 อ. ดร. สมพร จันทระ ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย
2.4.2 อ. ชำนิ แสงภักดี (ลาศึกษาต่อต่างประเทศ)
2.2.3 อ. ธีรบุญ พจนการุณ

2.5 หน่วยวิจัยพัฒนาเครื่องมือราคาถูกและไบโอเซนเซอร์
(ภาษาอังกฤษ) Development of Low-cost Equipment and biosensor

2.5.1 ผศ.ดร สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย
2.5.2 อ.ดร. สุนันทา วังกานต์
2.5.3 อ. ธีรบุญ พจนการุณ
2.5.4 ดร.อุไร ชาตรีวงศ์สิน

3. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศต่างๆที่จัดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนากำลังเร่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ประเทศไทยได้พัฒนาทางเกษตรและ อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง การพัฒนาดังกล่าวเป็นผลก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมได้ การปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ ย่อมทำให้แหล่งน้ำนั้นๆปนเปื้อนไปด้วยสารมลพิษทั้งสารอินทรีย์ เช่น สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น ไดออกซิน ฟีนอล PCBs เป็นต้น และยังปนเปื้อนไปด้วยสารอินทรีย์ เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี ทองแดง โครเมียม และอื่นๆ สารมลพิษ เหล่านี้ถ้าตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ตลอดจนสิ่งอุปโภคบริโภคอื่นๆ มากเกินไปย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ได้ ดังมีรายงานในหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เกี่ยวกับโรงงานแร่แทนทาลัมทำให้เกิดมลภาวะสิ่งแวดล้อมและเมื่อหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านอำเภอร่อนพิบูลย์ได้ประสบอันตรายอันเกิดจากพิษสารหนูเกินขนาดซึ่งมีตามแหล่งน้ำผลจากการทำเหมืองแร่ในกาลก่อน การพัฒนาทางคมนาคมทางบกนั้นนอกจากจะเกิดมลภาวะทางด้านเสียงแล้ว สารพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ยังเป็นผลทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำได้อีกด้วย การใช้ยาปราบศัตรูพืชและสัตว์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรนั้นจะก่อให้มีวัตถุมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้ การสร้างโรงผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทำให้ต้องใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้น การสันดาปของถ่านหินในปริมาณมากย่อมผลิตก๊าซพิษในปริมาณมากด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น เมื่อเดือนตุลาคม 2535 การสันดาปถ่านหินของโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะจังหวัดลำปางทำให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกิดแก๊สพิษ คือ oxide ของไนโตรเจน และซัลเฟอร์ในปริมาณมากเกินค่าความปลอดภัยที่สิ่งมีชีวิตจะรับได้ การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำและ/หรือการปล่อยแก๊สพิษจากปล่องควันจากโรงงานอุตสาหกรรมก็ย่อมเป็นบ่อเกิดทำให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมได้
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหล่อเลี้ยงด้วยแม่น้ำปิงซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นโลหิตสำคัญและแม่น้ำอื่นๆอีกหลายสาย แม่น้ำเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรตลอดจนการอุปโภคเป็นเวลาช้านาน เมื่อรัฐบาลไทยพัฒนาภาคเหนือ (รวมทั้งเชียงใหม่ ) ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ตลอดจนการหลั่งไหลเข้าของประชากรจากที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ เป็นผลทำให้สาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้า การกำจัดขยะ และการบำบัดน้ำเสียเริ่มเป็นปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น การใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการตัดไม้ทำลายป่าที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ตลอดจนการปล่อยของเสียจากบ้านเรือน การปล่อยควันไอเสียจากรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบนิเวศน์วิทยาถูกทำลายเรื่อย ๆ จนถึงขั้นน่าวิตกว่าจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมให้เลวร้ายน้อยลงหรือถูกทำลายในอัตราที่ช้าลงกว่าที่เป็นอยู่ อนึ่งการเจริญทางด้านวัตถุและอุตสาหกรรมยังทำให้มีสารมลพิษปนเปื้อนอยู่ในโซ่อาหารมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากร
แม่น้ำกวงเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญอีกสายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสหกรรมมากกว่าแม่น้ำปิง แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านจังหวัดลำพูนซึ่งสามารถหล่อเลี้ยงพื้นที่ต่าง ๆ ที่แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านให้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ และเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนและเกษตรกรชาวลำพูนอีกด้วย ปัจจุบันนี้พื้นที่ในจังหวัดลำพูนบางส่วนกำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกวง นอกจากได้รับผลกระทบจากสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์จากการเกษตรแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วยอย่างแน่นอนเนื่องการเจริญเติบโตของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ข่าวทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ว่ามีปลาตายในลำแม่น้ำกวงมากมาย เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีตตั้งหลายครั้ง
กลุ่มนักวิจัยสังกัดห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมภาควิชานี้ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสารมลพิษที่ตกค้างหรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเช่น อากาศ แหล่งน้ำ ตะกอนท้องน้ำ อาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร ฯลฯ คือ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและพลานามัยของชุมชนเป็นอย่างยิ่งและจะได้ใช้ข้อมูลที่ได้เป็นแนวทางในการปรับปรุงป้องกันและควบคุมสารมลพิษในสิ่งแวดล้อมต่อไปเพื่อรักษาระบบนิเวศน์วิทยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุ


ความพร้อมในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
ก. บุคคลากร
ในปัจจุบันนี้ภาควิชาเคมีได้ขยายการสอนถึงระดับปริญญาเอกโดยเฉพาะสาขา
เคมีวิเคราะห์ได้รับนักศึกษาระดับปริญญาเอกรุ่นแรกจำนวน 3 คน ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 /2534 ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้สำเร็จการศึกษาแล้วรับนักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 2 จำนวน 1 คน ในปีการศึกษา 2538 รับนักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 3 จำนวน 6 คนในการศึกษาที่ 1/2540 รับนักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 4 จำนวน 3 คน ในปีการศึกษา 2541 รุ่นที่ 5 ปีการศึกษา 1/2542 รับนักศึกษาปริญญาเอกจำนวน 6 คน เป็นนักศึกษาที่ได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกจำนวน 3 คน รุ่นที่ 6 ปีการศึกษา 1/2543 รับนักศึกษาปริญญาเอกจำนวน 3 คน เป็นนักศึกษาที่ได้ทุนจากโครงการร่วมสถาบันจากทบวงมหาวิทยาลัยทั้งหมด รุ่นที่7 ปีการศึกษา 1/2544 ทางภาควิชาเคมีได้รับนักศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวน 2 คน เนื่องจากมีบุคลากรที่มีคุณวุฒิสูงและมีจำนวนเพียงพอสำหรับรองรับนักศึกษาในระดับนี้ได้ รุ่นที่ 8 รับเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาโทจำนวน 10 คน เนื่องจากทางภาควิชาไม่มีนโยบายให้อาจารย์ที่ปรึกษารับนักศึกษาเกิน 5 คน ยกเว้นเพียงคนเดียวเท่านั้น นอกจากนี้บุคลากรในห้องปฏิบัติการนี้ยังได้มีส่วนร่วมในโครงการปริญญาโทระดับนานาชาติ คือ โครงการ "Environmental Risk Assessment for Tropical Ecosystems" หรือเรียกย่อๆว่า ERA ซึ่งเป็นโครงการร่วมของเยอรมนี ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเป็น Environmental Sciences และได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ห้องปฏิบัติการที่จัดตั้งขึ้นนี้มีประโยชน์มากสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงงานวิจัยทางสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยจะอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกของภาควิชาเคมีและสำหรับงานวิจัยระดับสูงของประเทศเพื่อพัฒนาสุขอนามัยของประชาชนได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้มีส่วนช่วยภาควิชาเคมีในการบริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้แก่ชุมชนอีกด้วย (ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งห้องปฏิบัติการจนถึง พ.ศ.2541) ห้องปฏิบัติการนี้เป็นห้องปฏิบัติการที่มีการริเริ่มพัฒนาเทคนิค ชุดอุปกรณ์และ/หรือเครื่องมือแบบง่ายและมีราคาถูกโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในประเทศไทย การพัฒนาเครื่องมือราคาถูกนี้มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและงานวิจัยของนักศึกษาทุกระดับทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังที่ประเทศเราประสบอยู่ในขณะนี้ เพราะเป็นการลดการสั่งเข้าเครื่องมือจากต่างประเทศเป็นการช่วยไม่ให้เงินตราไหลออกนอกประเทศ อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องมือต้นแบบด้วยภูมิปัญญาของคนไทยอีกด้วย

ข. ความร่วมมือกับหน่วยงาน/สถาบันอื่น ๆ
ห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งแวดล้อมนี้ ได้ทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
1) การร่วมมือกับหน่วยงาน/สถาบันภายในประเทศ ห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งแวดล้อมนี้ได้ทำงานวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัยน้ำ (Water Research Centre, WRC) ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ร่วมมือกับศูนย์เกษตรภาคเหนือ สถาบันราชมงคลเทคนิคกรุงเทพ ฯ และสถานบันราชมงคล คลอง 6 ปทุมธานี
2) การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เนื่องจากห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งแวดล้อมนี้ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมการทำการวิจัยทางด้านการติดตามคุณภาพน้ำในแอ่งเชียงใหม่เป็นหลัก ในระยะแรกของ WRC และได้ขยายขอบเขตของงานวิจัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีการวิจัยสารมลพิษที่อาจตกค้างในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร ตลอดจนการควบคุมคุณภาพของยาเตรียม ดังนั้นห้องปฏิบัติการนี้จึงได้รับความร่วมมือกับ Birkbeck College University of London ร่วมกับ WRC คณะวิทยาศาสตร์ด้วย ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการในการจัดสัมมนาทางวิชาการจัดโดย WRC ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก British Council และคณะวิทยาศาสตร์ทุก ๆ 2 ปี และได้เสนอผลงานทางวิชาการในการสัมมนาระดับนานาชาติของ WRC เมื่อวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2542 เรื่อง "Water Resources Management in Intermontane Basin" นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งแวดล้อมจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศดังนี้
- Department of Chemistry, Faculty of Science and the Environment, The University of Hull, U.K.
- Department of Chemistry และ Water Studies Centre, Monash University, Australia
- Department of Chemistry, The University of Wollongong
- Department of Chemistry and Biochemistry, California State University, Fullerton, CA 92834-6866 USA
- Department of Pharmaceutical and Chemical Sciences, John Moores University, Liverpool, U.K.
- Department of Chemistry, University of Washington, USA

ค. สถานที่
ห้อง 1-328-1-330 ณ ตึกเคมี อาคาร 1

ง. อุปกรณ์
ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาเคมี และคณะวิทยาศาสตร์ ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์การวิจัยต่าง ๆ ได้สะดวก ดังรายละเอียดในหัวข้อ 6 ของเอกสารนี้ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ นี้ยังได้ออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์ราคาถูกจากวัสดุที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายในประเทศไทยอีกด้วย เช่นระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่าโฟลอินเจคชันอะนาลิซิส หรือ เอฟ ไอ เอ ทำให้มีขีดความสามารถในการวิจัยในด้านการวิเคราะห์สารตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ผลตามมาตรฐานสากลทั่วไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ
4.1 ปรับปรุงห้องปฏิบัติการที่ได้จดทะเบียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อขยายขอบเขตของการประยุกต์กับการวิเคราะห์สารมลพิษที่ตกค้างในสารตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมสำหรับการเรียนการสอนและงานวิจัยในระดับอุดมศึกษาและสูงกว่า
4.2 เพื่อศึกษาและวิจัยสารมลพิษที่ตกค้างหรือปนเปื้อนในอากาศ ดิน น้ำ อาหาร และผลิต ภัณฑ์อาหารตลอดจนการวิเคราะห์ยาเตรียมและยาที่ตกค้างในอาหารคุ้มครองคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค
4.3 เพื่อพัฒนาเทคนิคหรือประดิษฐ์เครื่องมือหรือชุดอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์สารตัวอย่าง ทางสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ ตะกอนท้องน้ำ อาหารและยา ด้วยความรวดเร็วและให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยอาศัยภูมิปัญญาของคนไทย
4.4 เป้าหมายของห้องปฏิบัติการนี้ระยะแรกจะปรับปรุงห้องปฏิบัติการที่จดทะเบียนปี 2531-2535 แล้ว ในด้านบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับวิเคราะห์สารตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นส่วนระยะยาวจะได้หาแหล่งทุนสนับสนุนและ/หรือทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลหรือภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อจะได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีวิเคราะห์ใหม่ๆ ต่อไป

5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่
งานวิจัยหลักของห้องปฏิบัติการนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
5.1 งานวิจัยที่ได้รับทุน
ได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติจัดสรรโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 2 โครงการ
1) เรื่อง การออกแบบและสร้างระบบโฟลอินเจคชันที่ทำเองและราคาถูก สำหรับวิเคราะห์สารตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมและเภสัชกรรม (เป็นหัวหน้าโครงการ)
2) เรื่อง การเตรียมและการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีสารตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิวิกฤตสูงประเภทออกไซด์ของ Bi-Ca-Sr-Cu โดยวิธีซอลเจล (เป็นผู้ร่วมวิจัย)
5.2 งานวิจัยต่อเนื่อง
1) ติดตามคุณภาพของน้ำในแอ่ง เชียงใหม่-ลำพูน
2) พัฒนาวิธีทางเคมีวิเคราะห์ สำหรับวิเคราะห์ตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม
3) ออกแบบและสร้างเครื่องมือราคาถูก
4) ได้ประดิษฐ์หรือสร้างระบบ FIA ราคาถูก ตลอดจน peristaltic pump ออกแบบและสร้าง flow through cell สำหรับใช้ในงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ บัณฑิตศึกษา
5) พัฒนาวิธีวิเคราะห์โดยใช้ Biosensor
6) ทำชุดสาธิตสำหรับประกอบการสอน
5.3 งานวิจัยเชิงวิทยานิพนธ์ที่ได้รับทุน
1) ได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกรุ่นที่4 จำนวน 1 ทุน
2) มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้รับทุนโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมีรวม 12 ทุน
3) มีนักศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวน 3 คน ได้รับทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัยไปทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัย Hull ประเทศสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 4 เดือน (20 กันยายน 2543-19 มกราคม 2544)

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1. Atomic absorption/emission spectrophotometer
2. Ultraviolet/visible spectrophotometer
3. Double distilled water apparatus
4. Gas chromatograph
5. High performance liquid chromatograph
6. Home-made flow injection analysis systems
7. ชุดอุปกรณ์สำหรับหา BOD, COD และไนโตรเจน
8. pH meter
9. Conductivity meter
10. ICP-AES spectrophotometer
11. Ion chromatograph
12. Ion Selective electrode
13. Polarograph
14. GC-MS
15. LC-MS

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 การร่วมมือกับต่างประเทศ
1. มีความร่วมมือกับภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัย Hull ประเทศสหราชอาณาจักรและได้เซนต์สัญญาความร่วมมือทางการวิจัยกับคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2542-2545 และมีนักศึกษาปริญญาเอกโครงการกาญจนาภิเษก(คปก) ร่วม 2 คน คือ
(1). นายวิรัช เรืองศรีตระกูล ทำงานวิจัยจำนวน 12 เดือน โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก ทบวงมหาวิทยาลัย 4 เดือน และทุน คปก 7 เดือน
(2). นางสาวปริญญา มาสวัสดิ์ ทำงานวิจัย 4 เดือน จากทบวงมหาวิทยาลัย 4 เดือน
(3). มีนักศึกษารับทุน UDC จำนวน 1 คน คือ นาวสาววราภรณ์ โสมอ่ำ ไปทำวิจัย จำนวน 4 เดือนภายใต้การสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัย
(4). มีนักศึกษาโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยจากทบวงมหาวิทยาลัยจำนวน 1 คน คือ นางสาว นภาพร ยังวิเศษ ไปทำงานวิจัยเป็นเวลา 12 เดือน
2 การร่วมมือกับ Birkbeck College มหาวิทยาลัย London ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 จนถึงปัจจุบันนี้ภายใต้โครงการศูนย์วิจัยน้ำคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ระหว่างปี 2001 มีนักศึกษาโครงการ คปก ไปทำวิจัยจำนวน 1 คน เป็นเวลา 7 เดือนคือ นางสาว ปริญญา มาสวัสดิ์

7.2 การร่วมมือกับสถาบันภายในประเทศ
1. ได้รับความร่วมมือในการช่วยพัฒนาบุคลากรของสถาบันเทคโนโลยีราลมงคลเทคนิคกรุงเทพฯ โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมาศึกษาระดับปริญญาโทเพื่อบรรจุเป็นอาจารย์จำนวน 1 คน คือ อาจารย์เทพรัตน์ ลีลาสัตตรัตน์กุล สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2543
2. ได้รับความร่วมมือในงานวิจัยกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเทคนิคกรุงเทพฯ โดยได้รับความร่วมมือจาก ดร. วินัย อวงพิพัฒน์ มาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวม 2 คน คือ
(1). ระดับปริญญาโท คือ นาย วสัน สิริสังข์วรวงศ์ กำลังจะสำเร็จการศึกษาใน เดือนพฤษภาคมนี้
(2). ระดับปริญญาเอก ดร.ประสิทธิ์ ปุระชาติ สำเร็จการศึกษาแล้ว

3. ได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล คลอง 6 จังหวัดปทุมธานี ในด้านการวิจัยร่วมกันโดยเป็นอาจารย์ทที่ปรึกษาร่วมของนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกและอนุเคราะห์ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์จาก ผศ.ดร. จุไรรัตน์ ดวงเดือน คือ
(1). ดร. ประสิทธิ์ ปุระชาติ สำเร็จการศึกษา มีนาคม 2544
(2). อาจารย์ เทพรัตน์ ลีลาสัตตรัตน์กุล สำเร็จการศึกษา 2543
4. ได้รับความร่วมมือจากกรมทรัพยากรธรณีเขต 3 ได้รับความร่วมมือในด้านการวิจัยโดยรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกหรือโทร่วมกันและอนุเคราะห์ใช่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ จาก ดร. พลยุทธ ศุขสะมิติ
(1). ระดับปริญญาเอก คือ นางบุญล้อม ปุระชาติ สำเร็จการศึกษา มีนาคม 2545
(2). ระดับปริญญาโท คือ นางสาว ปรียา แก้วนารี สำเร็จการศึกษา 2544

7.3 ทุนวิจัยที่ได้รับ ทุนที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
7.3.1 โครงการวิจัย (สถานะภาพ)
1. เรื่องการหาปริมาณ Pentachlorophenol (PCP )ที่ตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์จากหนัง สัตว์โดยใช้เทคนิค Acerelerated Solvent Extraction และ High Performance Liquid Chromatography ( HPLC ) ( หัวหน้าโครงการ )
2. เรื่องการออกแบบและสร้างระบบโฟลอินเจคชันสำหรับวิเคราะห์กรดอะซิติกและวิตามินซี โดยวิธีการวัดความร้อนของปฏิกิริยา (หัวหน้าโครงการ)
3. เรื่อง การเตรียมและการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีสารตัวนำยวดยิ่ง อุณหภูมิวิกฤตสูงประเภทออกไซด์ของ Ba-Ca-Sr-Cu โดยวิธีซอลเจล ปีที่ 1-2 ( ผู้ร่วมวิจัย)

7.3.2 แหล่งทุน(ปีรับทุน)
1. สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ( 2541 - 2542 )
2. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( 2542-2544 )
3. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่( 2543 - 2544 )

7.4 การร่วมประชุมสัมมนา/ดูงาน/ฝึกอบรม/ศึกษาต่อ

ได้รับทุนโครงการกาญจนาภิเษก จำนวน 4 ทุน
- รุ่นที่ 2/25441 ผู้รันทุน นาย วิรัช เรืองศรีตระกูล มีผลงานดีเด่น
- รุ่นที่ 3/2542 ผู้รับทุน นางสาว ปริญญา มาสวัสดิ์ มีผลงานดีเด่น
- รุ่นที่4/2543 มีนักศึกษาแล้ว ต้องยกให้ไปเรียนสถาบันอื่นเพราะถูกถอดถอนหัวข้อวิจัย ตั้งแต่ มิถุนายน 2453 จนกระทั่งปัจจุบัน
- รุ่นที่ 5/2544 เหมือนข้างต้น พร้อมถอดถอนใบสมัครนักศึกษาด้วย

7.5 การไปดูงาน ฝึกอบคมหรือร่วมกิจกรรมทางการวิจัย ณ ต่างประเทศ
1) อาจารย์ชำนิ แสงภักดี ได้ไปฝึกอบรมที่ Birkbeck College, The University of London 14 เมษายน ถึง 18 พฤษภาคม 2542
2) ผศ.ดร. สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ไปดูงานเพื่อเจรจาความร่วมมือกับ Prof. Townshend มหาวิทยาลัย Hull กับ Prof.Flint มหาวิทยาลัย London ประเทศสหราชอาณาจักร 15-25 กันยายน 2542
3) ผศ.ดร. สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ไปดูงานและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับ Prof. Townshend มหาวิทยาลัย Hull กับ Prof. Flint มหาวิทยาลัย London ประเทศสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 20-30 กันยายน 2543 ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการปริญญาเอกการญจนาภิเษก
4) ผศ.ดร. สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ไปดูงานและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับ Prof. Townshend มหาวิทยาลัย Hull กับ Prof. Flint มหาวิทยาลัย London ประเทศสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 9-30 กรกฎาคม 2544 ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการปริญญาเอกการญจนาภิเษก
5) อาจารย์ ดร. สมพร จันทระ ไปฝึกอบรมที่ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 2 เดือนระหว่างตุลาคม - ธันวาคม 2543 ภายใต้การสนับสนุนจาก B.C.
6)ผศ.ดร. สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ไปดูงานและเจรจาความร่วมมือเกี่ยวกับการวิจัยและการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัย Wollengong ประเทศ Australia ระหว่างวันที่ 9 -16 ธันวาคม 2544 ด้วยทุนส่วนตัว
7)อาจารย์ ดร. สุนันทา วังกานต์ ไปฝึกอบรมที่ประเทศสหราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2544 ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2544 ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก B.C.

7.6 การไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ
1) อ. ชำนิ แสงภักดี ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทยไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกา

7.7 การไปดูงานฝึกอบรม หรือร่วมกิจกรรมทางวิชาการภายในประเทศทั้งระดับ นานาชาติและระดับชาติ
ก. การประชุมสัมมนาระดับชาติ
1. อาจารย์ชำนิ แสงภักดี และ ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ได้ไปประชุมสัมมนาและเสนอผลงานวิจัย International Conference on Water Resources Management in Intermonatane Basin 2-6 กุมภาพันธ์ 2542
ข. การประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ
1. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ วทท 24 จัดเมื่อเดือน ตุลาคม 2541 มีผลงานนำเสนอจำนวน 16 เรื่อง มีสมาชิกในห้องปฏิบัติการฯ เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิจัยคือ
- ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์
- อ.ชำนิ แสงภักดี
- อ.ดร.จรูญ จักร์มุณี
- อ.ธีรบุญ พจนการุณ
- อ.ดร. สุนันทา วังกานต์
- อ.ดร.อุไร ชาตรีวงศ์สิน
2. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ วทท 25 จัดเมื่อเดือนตุลาคม 2542 มี 14 เรื่อง ( เฉพาะงานวิจัยที่ ผศ.ดร.สายสุนีย์ ร่วมด้วย )
3. การประชุมทางวิชาการ วทท 26 จัดเมื่อเดือนตุลาคม 2543 มี 18 เรื่อง (เฉพาะงานที่ ผศ.ดร. สายสุนีย์ ร่วมด้วย)
4. การประชุมทางวิชาการ วทท 27 จัดเมื่อเดือนตุลาคม 2544 มี 12 เรื่อง (เฉพาะงานที่ ผศ.ดร. สายสุนีย์ ร่วมด้วย)

8. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
8.1 ผลงานที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
8.1.1 S. Liawruangrath and B. Liawruangrath, "High Performance Thin Layer Chromatographic determination of Tolperisone Hydrochloride", J. Pharm. Biomed. Anal., 120(1999)401.
8.1.2 B. Liawruangrath and S. Liawruangrath, "High Performance Liquid chromatographic Method for the Determination of Albendazole", ACGC Chemical Research communications, 8(1999)45.
8.1.3 B. Purachat, S. Liawruengrath, P. Sooksamiti, S. Ratanaphani and D. Buddhasuh, Univariate and Complex optimization for the flow-injection Spectrophotometric Determination of Copper using Nitroso-R salt as complexing agent, Anal. Sci., 2001,17,443
8.1.4 S. Liawruangrath, B. Liawruangrath and P. Pibool. "Similtaneous Determination of tolperisone Hydrochloric and Lidocane Hydrochloride by High Performance liquid chromatography" J. Pharm. Biomed. Anal, in the press.
8.1.5 B. Liawruangrath and S. Liawruangrath, "High Performance Thin Layer Chromatographic Determination of Erythromycin in Pharmacentical Preparations", Chromatographia, in the press.
8.1.6 S.Liawruangrath et al, Amperometric biosensor for the Determination of Fluoride as Peroxidase Inhibitor based on Asparagus Tissue, Anal.Chim.Acta, in the press.
8.1.7 S. Liawruangrath, B. Liawruangrath, HPYLC Determination of Erythromycin in Pharmaceutical Preparations, Chromatographia, in the press.

8.2 ผลงานวิจัยที่ได้ไปนำเสนอในการประชุมสัมมนาระดับชาติ (International Conference)
8.2.1 ผลงานวิจัยที่ได้รับตีพิมพ์เป็น full details ใน proceedings ระดับนานาชาติ
1. C. Sangphagdee and M. Rayanakorn, "Determination of Carbaryl in treated Vegetables by High Performance Liquid Chromatography", Proceedings of International conference on Water Resources Mangement in Intermonatane Basins, Water Research Centre, Faculty of Science, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand, 2-6 Feb., 1999, 545.
2. S. Liawruangrath, P. Simonkoun, S. Rattanaphani and S. Sutheewasinnont , Monitoring of Some Heavy Metals and Organochlorine Pesticide Residues in Mekong River", ibid., 2-6 Feb., 1999, 469.
3. T. Wonganan and S. Liawruangrath, "Determination of Sodium Potassium calcium Magnesium Copper Iron and Manganese in Drinking Water Samples", ibid., 2-6 Feb., 1999, 555.
4. S. Liawruangrath and S. Rujitanapanich, "Reduction of Some Trace Metals in Industrial Effluence by Treated Onion and Shallot Skins", ibid., 2-6 Feb., 1999, 585.
5. S. Satienperakul and S. Liawruangrath, "Flow Injection Spectrophotometric procedure for Aluminium Determination in Tap Water", ibid., 2-6 Feb., 1999, 613.

8.2.2การประชุมสัมมนาและเสนอผลงานในระหว่างปี ค.ศ. 1998-2000
- The Fourth Princess Chulabhorn International Science Congress, 28 November - 2 December 1999, Bangkok, Thailand, จำนวน 6 เรื่อง
1. B. Liawruangrath and S. Liawruangrath, Identification of Organochlorine Pesticide Residues in Vegetables and Fruits.
2. A. Srisopa and S. Liawruangrath, A Novel Flow Injection Spectrophotometric Determination of Methyl Parathion Using a Hydroxylaminolytic Procedure.
3. B. Liawruangrath and S. Liawruangrath, Comparative Determination of Tetracycline in Phamaceutical Preparations by Flow Injection Spectrophotometry and conventional Spectrometry.
4. S. Liawruangrath and T. Pojanagaroon, Speciation of Iron(III) in water Samples by Reverse Flow Injection Spectrometry.
5. S. Satienperakul and S. Liawruangrath, coparative Determination of Aluminium(III) in Tap Water by Flow Injection Spectrometry Using Pyridoxal Salicyloyhydrazone and chrome Azurol S.
6. P. Masawat and S. Liawruangrath, Determination of Pentachlorophenol in Leathers Products by Accelerated Solvent Extraction and Ion Chromatography.

- International Conference on Water Resources Management in Intermontane Basins, 2-6 February 1999, Chiang Mai, Thailand จำนวน 4 เรื่อง
1. S. Satienperakul and S. Liawruangrath, Flow Injection Spectrophotometric Procedure for Aluminium Determination in Tap Water.
2. S. Liawruangrath and S. Rujitanapanich, Reduction of Some Trace Metals in Industrial Effluence by Treated Onion and shallot Skins.
3. T. Wonganan and S. Liawruangrath, Determination of Sodium Potassium calcium Magnesium Copper Iron and Mangenese in Drinking Water Samples.
4. S. Liawruangrath, P. Simonkoun, S. Rattanaphani and S. Sutheewasinnont, Monitoring of Some Heavy Metals and Organochlorine in Mekong River.

8.2.3 การประชุมสัมมนาและเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติที่จัดขึ้นภายในประเทศไทย
- การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 (20-22 ตุลาคม 2540) ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เชียงใหม่ จำนวน 7 เรื่อง
1. S. Kruanetr, S. Rattanaphani and S. Liawruangrath, "Preparation and Analysis of High TcSuperconductor, Bismuth Systems", 23rd Conf. Sci. Tech., Thailand, 1997.
2. S. Sakulkhaemaruethai, S. Liawruangrath and N. Mangkorntong, "Determination of Yttrium in High Tc Superconducting Materials by Colorimetry", 23rd Conf. Sci. Tech., Thailand, 1997.
3. S. Satienpeerakul and S. Liawruangrath, "Indirect Atomic Absorption Spectrophotometric Determination of Ascorbic Acid in Fruit Juice", 23rd Conf. Sci. Tech., Thailand, 1997.
4. S. Liawruangrath and B. Liawruangrath, "A Novel Flow Injection Colorimetric Procedure for Nickel Determination in Tea", 23rd Conf. Sci. Tech., Thailand, 1997.
5. B. Liawruangrath and S. Liawruangrath, "Flow Injection Spectrophotometric Determination of Paracetamol in Pharmaceutical Preparations", 23rd Conf. Sci. Tech., Thailand, 1997.
6. T. Pojanakaroon and S. Liawruangrath, "Development of Flow Injection Turbidimetric Procedure or Lead Determination Using Sodium Pentamethylene-1-Carbodithioate",23rd Conf. Sci. Tech., Thailand, 1997.
7. K. Choojit, S. Liawruangrath, and P. Sooksamiti, "Atomic Absorption Spectrophotometric Determination of Some Heavy Metals in Stream Sediment Samples", 23rd Conf. Sci. Tech., Thailand, 1997.

- การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (19-21 ตุลาคม 2541) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 เรื่อง
1. T. Pojanagaroon, S. Liawruangrath and B. Liawruangrath, Turbidimetric Determination of Zinc Using Diantipyrylmethylmethanechloride as Precipitant, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1998.
2. B. Liawruangrath and S. Liawruangrath, Determination of Indomethacin by Indirect Atomic Absorption Spectrometry, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1998.
3. S. Kruanetr, S. Liawruangrath and V. Rattanaphani, Preconcentration Procedure for Trace Metal Analysis by Atomic Absorption Spectrophotometry, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1998.
4. S. Liawruangrath, S. Kongthong, B. Liawruangrath and A. Manosroi, Novel Flow Injection Colourimetric Determination of Surfactants in Shampoo Samples, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 998.(5).S. Satienperakul and S. Liawruangrath, Flow Injection Spectrometric Procedure for Trace Aluminium Determination, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1998.
6. C. Sangphagdee and S. Rattanaphani and S. Liawruangrath, Determination of Some Heavy Metals in Soil Samples by Atomic Absopption Spectrometry, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1998.
7. C. Thongpoon and S. Liawruangrath, Flow Injection Colourimetric Determination of Chromium(VI) in Industrial Waste Waters, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1998.
8. S. Sakulkhaemaruethai and S. Liawruangrath, A Simple Flow Injection Spectrophotometric Procedure for Aluminium(III) Determination in Tap Water, 24th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1998
- การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 (19-21 ตุลาคม 2542) โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 14 เรื่อง
1. P. Masawat and S. Liawruangrath, Determination of Pentachlorophenol Residues in Leather Products by Second Derivative UV Spectrophotometry, 25th conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
2. S. Rattanaphani, C. Sangphagdee and S. Liawruangrath, Study on Effect of Heat Treatments on the Properties of the Bismuth System Superconductors Prepared by Evaporation to Dryness, 25th conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
3. T. Chuesaard, S. Liawruangrath and B. Liawruangrath, Simple Low-cost Flow Injection colourimetric Determination of Tetracycline in Pharmaceutical Preparations, 25th conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
4. B. Liawruangrath and S. Liawruangrath, Determination of vitamin B12 by Atomic Absorption Spectroscopy, 25th conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
5. S. Satienperakul, S. Liawruangrath, P. Jamnongpine and S. Boonruang, Synthesis and Characteristic of Picoline Aldehyde Salicyloylhydrazone and Its Application for Spectrophotometric Determination of Copper(II), 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
6. V. Rattanaphani, S. Rattanaphani and S. Liawruangrath, Atomic Absorption Spectrophotometric Determination of Some Heavy Metals in Mae Ping River, 25the Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
7. S. Liawruangrath, W. Oungpipat and B. Liawruangrath, Flow Injection Turbidimetric Determination of Zinc in Water Samples From Mae Ping River, 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
8. T. Wonganan and S. Liawruangrath, Reverse Flow Injection Turbidimetric Determination of Sulphate in Drinking Waters, 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
9. S. Liawruangrath, N. Kuppithayanant, J. Junsomboon and P. Sooksamiti, Evaluation of Various Wet Digestion Procedures for Heavy Metals Analysis of Soil Sample, 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
10. C. Sangphagdee, S. Liawruangrath and S. Rattanaphani, Some Organochlorine Pesticide Residues in Water and Fish Samples from Agricultural Field, 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
11. A. Srisopa and S. Liawruangrath, Simple and Rapid Flow Injection Spectrophotometric Determination of Insecticide Methyl Parathion, 25th Conf. Sci.Tech., Thailand, 1999.
12. V. Phakthong, K. Poo-uttree and S. Liawruangrath, Determination of Lead in lipstrick by Atomic Absorption Spectrophotometry, 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
13. S. Sangsrichan, T. Rujiralai and S. Liawruangrath, Determination of Lead in Freckle Creams by Flame Atomic Absorption Spectrophotometry, 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.
14. P. Wongsuwan, P. Legpetch and Saisunee Liawruangrath, The Study Decreasing of Heavy Metals in Salt After Passage Through Column which Packed with Kitosan and Water Hyacinth Fiber by Using AAS, 25th Conf. Sci. Tech., Thailand, 1999.

- การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.26) ครั้งที่ 26 (18-20 ตุลาคม 2543) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 18 เรื่อง
1. W. Ruengsritragoon , S. Liawruangrath, P. Chavonyutikarn and S. Watanesk, "Determination of Aflatoxins by Liquid Chromatography with Fluorescence Detection", 26 th Congress Sci.Tech., Thailand, 18-20 October 2000,29.
2. T. Chuesaaed , and S. Liawruangrath, "Determination of Arsenic in Water from Nam Mae Kuang by Hydride Generation Atomic Absorption Spectrophotometry", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand, 18-20 October 2000, 31.
3. R. Singhol , S. Liawruangrath, T. Chuesaaed and B. Liawruangrath, "Determination of Aluminiun (III) in Pharmaceutical Preparations by Atomic Absorption Spectrophotometry", 26 th Congress Sci. Tech, Thailand, 18-20 October 2000, 32.
4. V. Rattanaphani, S. Rattanaphani, P. Sooksamiti, and S. Liawruangrath, "Determination of some Heavy Metals in Soil Samples in Agricultural Areas Amphur Cham Thong Chiang Mai Province by Atomic Absorption Spectrophotometry ", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand, 18-20 October 2000,33.
5. S. sangphagdee , S. Satienperakul and S. Liawruangrath, "Determination of Cadmium , Copper and Zinc in Water Samples from ping Ring and Mae Kha Canal by Atomic Absorption Spectrophotometry", 26 th Congress, Sci. Tech., Thailand 18-20 October, .2000, 34.
6. T. Wonganan and S. Liawruangrath, "Determination of some cations in Drinking Waters by Inductively Coupled Plasma Atomic Emission Spectrometry", 26 th Congress, Sci. Tech., Thailand, 18-20 October, 2000,36.
7. P. Masawat , S. Sungtun, A. Tuntem and S. Liawruangrath, Spectrophotometric Determination of some Heavy Metals in Naturae Water from Chiang Mai to Lumphun Basins", 26 th Congress, Sci, Tech., Thailand, 18-20 October 2000,37.
8. B. Liawruangrath , T. thongpan and S. Liawruangrath, Spectrophotometric Determination of Amoxicillin in Pharmaceutical Preparations", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand , 18-20 Octomer,2000,48.
9. A. Imkum , S. Duangthong and S. Liawruangrath, "Determination of Pentachlorophenol (PCP) in Real Samples by Derivative Spectroscopy", 26 th Congress Sci Tech., Thailand, 18-20 October 2000,50.
10. T. Lelasattarutkul, P. Sukkaw, W. Oungpipat and S. Liawmangrath, "Determination of Yttrium by Flow Injection Spectrophotometry" 26 th Congress Sci. Tech., Thailand, 18-20 October 2000,60.
11. S. Liawruangrath, N. Jangprai and B. Liawruangrath, "Flow Injection Spectrophotometric Determination of Managanese in Natural Waters", 26 th Congress, Sci. Tech., Thailand, 18-20 October 2000,60.
12. B. Purachat, S. Liawruangrath, S. Rattanaphani, D. Buddhasukh, and P. Sooksamiti, "Determination of Copper by Flow Injection Spectrophotometry using Nitroso R-Salt as Complexing Agent", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand , 18-20 October ,2000,62.
13. W. Som-aum and S. Liawruangrath, Wdispersion Coefficient of Knotted and Serpentine Reactors", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand , 18-20 October 2000,64.
14. K. Sa-nguanwong , N. Lenghor and S. Liawruangrath, "Development of Flow Injection Turbidimetric Method for The Determination of chromium (III) in Thron- Smitt Metal", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand, 18-20 October 2000,65
15. P. Purachat, S. Liawruangrath, W. Ouangpipat, S. Watanesk, S. Watanesk , B. Liawruangrath and C. Duangduen , Plant Tissue - Based Electrode for The Determination of Flueride ", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand, 18-20 October 2000,74.
16. P. Kirtjun, S. Rattanaphani and S. Liawmangrath, " Preparation and Studies on The Effect of Mg Substitution of Ca in The Bi1.4Pb0.6Sr2Ca2Cu3Oz by Evaporation to Dryness", 26 th Congress Sci. Tech, Thailand, 18-20 October 2000,115.
17. S. Rattanaphani, V. Rattanaphani, C. Sangphagdee, and S. Liawruangrath, "Preparation and Studies of Chemical Constituents of High Critical Temperature Superconductor of The Yttrium System", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand , 18-20 October , 2000,118.
18. W. Sirisungworawong, S. liawruangrath , W. Ouangpipat, and N. Thepsuparungsikul, "Production of Chitosan from Shrimp and Its Utilization for Heavy Metal Adsorption", 26 th Congress Sci. Tech., Thailand, 18-20 October 2000,298.

- การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.27) ครั้งที่ 2 (16-18 ตุลาคม 2544) ณ โรงแรม ลี การ์เดนส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 12 เรื่อง
1. S. Rattanaphani , V. Rattanaphani , C. Sangphagdee , J. Siripitayananon and S. Liawruangrath, "Comparative Preparation of High Critical Temperature Superconductor of The Bismuth system by Solid State Reaction Sol-gel Method " 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,138.
2. S. Liawruangrath , B. Liawruangrath and K. Trakarnratti , " Development of Flow Injection System for The Determination of Zinc in Solution in Zinc Refining Process" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,83.
3. S. Imerbrat , B. Liawruangrath and S. Liawruangrath , " Development of Flow Injection Analysis for Themometric Determination of Acetic Acid "27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,82.
4. T. Lelasattarutkul , W. Ouangpipat and S. Liawruangrath , " Determination of Ascorbic acid by Flow Injection Analysis Using Thermistor as Detector" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,79.
5. W. Phakthong and S. Liawruangrath , " Determination of Sulphite by Gas - diffusion Flow Injection Analysis" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,76.
6. J. Makchit , N. Youngvises , S. Liawruangrath and W. Ouangpipat , " Optimization Study of Derivative Spectrophotometer Technique for Determination of Acetaminophen" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,34.
7. B. Liawruangrath , S. Liawruangrath and C. Thongpoon ," Spectrophotometric Determination of Organophosphate Pesticide Residues in Vegetables and Fruits" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,32.
8. W. Chansuwan, S. Liawruangrath and P. Sooksamiti, " The Determination of some Metals in Thai Native Herbal Samnples by an Inductively Coupled Plasma Atomic Emission Spectrophotometry ( ICP-AES ) "27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,31.
9. S. Putaraporn , O. Arquero , S. Liawruangrath S. Kaweerat and S. Pimchan , " Determination of Arsenic in Contaminated Soil Samples from Amphur Ronpibul Using NAA and XRF Techniques" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,18.
10. B. Purachat , S. Liawruangrath , S. Rattanaphani , D. Buddhasukh and P. Sooksamiti , " Study of Copper Adsorption on Lopburi Perlite and Synthetic Zeolites from Perlite" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,20.
11. P. Purachat, S. Liawruangrath , W. Ouangpipat, S. Watanesk , B. Liawruangrath and J. Dongduen , " Sunflower Leaves Electrode for The Determination of Glycolic Acid" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,39.
12. W. Sirisungworawong , S. Liawruangrath and W. Ouangpipat , " Spectrophotometric Flow Injection Determination of Chromium (VI) in Waters after On-line Perconcentration on Chitosan" 27 th Congress Sci. Tech.,Thailand , 16 -18 October 2001,80.