1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

เคมีของข้าว
Rice Chemistry Research Laboratory

ภาควิชา เคมี

2. สมาชิก

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกัญญา วงศ์พรชัย ผู้ประสานงานห้องปฎิบัติการวิจัย
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา ที่ปรึกษา
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาวิตร มีจุ้ย สมาชิก
4. อาจารย์กาญจนา ดำริห์ สมาชิก

 

3. หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง
ข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากข้อมูลของกรมการค้าภายในพบว่า ความต้องการข้าวคุณภาพดีของตลาดโลกได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยแนวโน้มของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีพฤติกรรมและค่านิยมในการบริโภคข้าวคุณภาพดีมีมากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดการเร่งการพัฒนาการเพาะปลูกข้าวโดยเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมของการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าว และเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ดีทนต่อโรคและแมลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของการปลูกข้าวในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ
นอกจากนี้ข้าวหอมพันธุ์พื้นเมืองไทยบางพันธุ์กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดข้าว แม้จะมีราคาที่ค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวธรรมดาทั่วไปก็ตาม เช่น ข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งก็พบปัญหาในการเพาะปลูกเช่นกันโดยให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เนื่องมาจากลักษณะด้อยบางประการ ของพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
จากสาเหตุดังกล่าวประกอบกับนโยบายการเกษตรแผนใหม่ของภาครัฐที่มีจุดประสงค์เพื่อปลูกพืชที่ตลาดต้องการให้ได้ผลผลิตสูง และทำรายได้ที่คุ้มค่าให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูก จึงได้มีการระดมแนวทางการศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการสภาพแวดล้อมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ให้มีลักษณะที่ดีตรงกับความต้องการพร้อมทั้งให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น การศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวในปัจจุบันจึงได้มีการประยุกต์เทคโนโลยีหลากหลายสาขาวิชา การวิจัยทางเคมีของข้าวเพื่อรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ทางเคมีเกี่ยวกับสารอินทรีย์และสารชีวโมเลกุลต่างๆ ในข้าว จึงเป็นการวิจัยพื้นฐานที่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อสนับสนุน หรือเป็นแนวทางให้กับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเพิ่มผลผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการวิจัยข้าวเชิงระบบเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จึงขอจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเคมีของข้าวขึ้น

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. ประยุกต์เทคนิคการวิจัยทางเคมี เพื่อศึกษาสารอินทรีย์และสารชีวโมเลกุลที่มีบทบาทต่อคุณภาพข้าวและสรีระของต้นข้าว เช่น สารหอม วิตามิน สารสี สารต้านออกซิเดชัน สารต้านเชื้อ และสารต้านแมลงเป็นต้น
2. วิจัยเพื่อพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ทางเคมีของสารอินทรีย์และสารชีวโมเลกุลที่มีบทบาทนั้นทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ให้ได้เทคนิคที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ดีกับการวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวจำนวนมาก
3. เพื่อถ่ายทอดความรู้พื้นฐานทางเคมีของข้าวและเทคนิคการวิเคราะห์ปริมาณสารบางชนิดแก่ นักวิชาการการเกษตรและนักปรับปรุงพันธุ์ ตลอดจนเกษตรกรผู้ผลิตข้าวต่อไป

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
1. ชื่อโครงการ "การพัฒนาวิธีการตรวจวัดปริมาณสารหอมในข้าว"
แหล่งทุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
ระยะเวลาวิจัย : 1 กันยายน 2544 - 31 สิงหาคม 2547
งบประมาณทั้งสิ้น : 1,826,396.00 บาท
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกัญญา วงศ์พรชัย
2. การศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยสภาพแวดล้อม และกลยุทธ์การจัดการที่มีผลต่อคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยการใช้แนวทางการวิจัยเชิงระบบ
แหล่งทุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
ระยะเวลาวิจัย : 1 กันยายน 2544 - 31 สิงหาคม 2547
งบประมาณทั้งสิ้น : 5,196,557.00 บาท
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา
3. ผลของการลดความชื้นด้วยอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพความหอม องค์ประกอบทางเคมี และสมบัติทางกายภาพของข้าวกล้องพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
แหล่งทุน : โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (ADB-PHT)
ระยะเวลาวิจัย : 1 ธันวาคม 2544 - 30 พฤศจิกายน 2545
งบประมาณทั้งสิ้น : 292,000.00 บาท
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกัญญา วงศ์พรชัย

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
อุปกรณ์ที่มีอยู่ได้แก่
- วัสดุประเภทเครื่องแก้วแบบต่างๆที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี
- อุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องชั่ง, hot plate, magnetic stirrer, Simultaneous steam distillation and extraction และ Solid-Phase microextraction set

เครื่องมือที่มีอยู่ได้แก่
- Vacuum rotary evaporator
- Gas chromatograph
- High performance liquid chromatograph
- Ion chromatograph
- Ultraviolet-visible spectrophotometer
- Spectrofluorimeter
- Infrared spectrophotometer
- Fourier transform infrared spectrophotometer (FTIR)
- Gas chromatograph/ mass spectrometer (GC-MS)
- Liquid chromatograph/ mass spectrometer (LC-MS)
- Nuclear magnetic resonance spectrometer (60 MHz)
- High resolution mass spectrometer

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
- การเผยแพร่โดย หนังสือ เอกสาร บทความวิชาการ และรายงานการวิจัย เกี่ยวกับสารหอม และสารอินทรีย์ที่มีบทบาทในการต้านทานแมลงในข้าว ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณของสารดังกล่าว มากกว่า 10 เรื่องตามที่ระบุในผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
- การจัดอบรมและให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ปริมาณสารหอมในข้าวพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 แก่นักวิชาการจากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร จ. พิษณุโลก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สารหอมในพันธุ์ข้าวลูกผสมที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้น
- ความร่วมมือทางการวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลสภาวะแวดล้อมต่อคุณภาพความหอมของข้าว กับศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร จ. พิษณุโลก ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

8. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่ผ่านมา

  1. Mahatheeranont, S., Keawsa-ard, S., and Dumri, K., Quantification of the Rice Aroma Compound, 2-Acetyl-1-pyrroline, in Uncooked Khao Dawk Mali 105 Brown Rice, J. Agric. Food Chem., 2001, 49, 773-779.
  2. Mahatheeranont, S., Promdang, S. and Chiampiriyakul, A., Volatile Aroma Compounds of Khao Dawk Mali 105, Kasetsart J. (Nat. Sci.), 1995, 29, 508-51.
  3. Mahatheeranont, S., Chiampiriyakul, A. and Promdang, S., Study on Secondary Plant Compounds of Insect Resistance and Susceptible Rice Varieties, Kasetsart J. (Nat.Sci.), 1995, 29 , 45-54
  4. Jongkaewwattana. S., S. Geng, D. M. Brandon, and J.E. Hill. Effect of nitrogen and harvest grain moisture on head rice yield. Agron. J. 1993. 85: 1143-1146.
  5. Jongkaewwattana, S., and S. Gang. Effect of nitrogen and water management on panicle development and milling quality of California rice (Oryza sativa L.). J. of Agron. and Crop Sci. 1991, 167, 43-52.
  6. Jongkaewwattana, S., M. Ekasingh, A. Jintrawet, T. Onpraphai, P. Promburom, and C. Vejpas. The Use of a Rice Model in Combinaiton with Remote Sensing and GIS in Accessing Rice Potential Production and Management Strategies. Proceeding of the International Symposium on World Food Security and Crop Production Technologies for Toworrow. Kyoto International Conference Hall, Kyoto, Japan. October 8-9, 1998. 165-168.
  7. Jongkaewwattana, S. and C. Lijuan. Phosphorus and Zinc Fertilizer Management in Relationship to Yield and Milling Quality of Rice. Proceeding of the 3rd Asian Crop Science Conference. Chinese Society of Agronomy. Taichung, Taiwan, ROC. April 28-May 2, 1998. 451-461.
  8. Mahatheeranont, S. and Chiampiriyakul, A., Identification of 3,7-Dimethyl-2,6-octadienal from Leaf Sheath of Resistant Rice Cultivar, Supanburi 90, as Feeding Inhibitor against Brown Planthopper, Paper presented at the Annual Conference on Biotechnology : Prospects for the Future, National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, Prajuabkeereekun, September 1996.
  9. Mahatheeranont, S. and Promdang, S., Volatile Flavor Components of Cooked and Uncooked Fragrant Rice (Khao Dawk Mali 105), Paper presented at the Annual Conference on Biotechnology and Biological Diversity, National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, Bangkok, September 1994.
  10. Wattanabutr T., Tragoonrung, S., Vanavichit, A., Promdang, S. and Mahatheeranont, S. Quantification of 2-Acetyl-1-pyrroline, a Biochemical Marker for Rice Aroma, Paper presented at the Annual Conference on Science, Technology and Environment for Rural Development, Kasetsart University; Kamphaengsaen; Nakorn Pathom, 1994.
  11. Mahatheeranont, S., Application of Gas Chromatographic / Mass Spectromatric Technique in Study of Chemicals of Insect Resistance in Some Thai Rice Varieties, Abstract presented at the 10th Conference on Methodological Techniques in Biological Science; Kasetsart University; Kamphaengsaen; Nakorn Pathom, 1992.
  12. Jongkaewwattana, S., A. Jintrawet, and P. Mankeb. A decision support system for resources optimization in rice production in the North and Northeastern Thailand. A paper presented in the 1st Asian Crop Science Conference and the XXXth Anniversary Sym. of the Korean Soc. of Crop Sci., Sept 24-28, 1992. Olympic Youth Hostel, Seoul Korea.
  13. Jongkaewwattana, S. A Comprehensive Study of Factors Influencing Rice (Oryza sativa L.) Milling Quality. Ph.D. Dissertation. Department of Agronomy and Range Science. College of Agriculture and Environmental Sciences, University of California at Davis. 1990.

    หนังสือ
    สุกัญญา มหาธีรานนท์. 2540. การศึกษาสารให้ความหอมในเมล็ดข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช). สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). กรุงเทพฯ. ISBN 974-7576-33-3