1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย พฤกษศาสตร์พื้นบ้านและพรรณพฤกษชาติในภาคเหนือ
Ethnobotany and Northern Thai Flora
ภาควิชา ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. นางชูศรี ไตรสนธิ ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
2. นายปริทรรศน์ ไตรสนธิ สมาชิก
3. นายประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ สมาชิก
4. นางสาวอรุโณทัย จำปีทอง สมาชิก
5. นางสาวอังคณา อินตา สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล
การดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของอารยธรรมตลอดมาจนปัจจุบัน ในกลุ่มชนพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อาศัยปัจจัยหลักจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากพืช การเรียนรู้ที่จะนำพืชมาใช้ประโยชน์นั้นเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเพื่อการอยู่รอดในธรรมชาติ โดยที่อาจมีการดัดแปลงในบางสิ่งบางอย่างด้วยสติปัญญาความสามารถของแต่ละกลุ่มชนแต่ละกลุ่มเพื่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ได้ถ่ายทอดให้แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เป็นความรู้เฉพาะของชนแต่ละกลุ่ม เรียกกันว่า " ภูมิปัญญาพื้นบ้าน "
ภาคเหนือของประเทศไทยมีพรรณพืชแตกต่างจากภาคอื่นๆ ของประเทศไทยอย่างชัดเจน ผนวกกับการที่มีชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งการดำรงชีวิตของกลุ่มชนเหล่านี้ยังคงมีลักษณะที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก แต่โดยที่ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แพร่เข้าไปยังกลุ่มชนเหล่านี้อย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีทางในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป และกำลังละทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากพืช หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน" จึงเป็นที่น่าเสียดายหากว่าความรู้เหล่านี้จะต้องสูญไป จึงควรที่จะต้องเร่งสำรวจและบันทึกข้อมูลความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อที่จะนำมาพัฒนาต่อไปด้วยวิชาการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
งานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ เพราะผลการวิจัยจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในอนาคต ในการวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของคณะผู้วิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เน้นถึงการวิเคราะห์ผลจากการสำรวจ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พันธุ์พืชด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อศึกษาและรวบรวมพืชที่ชนพื้นเมืองกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และได้ถ่ายทอดกรรมวิธีการใช้มาแต่บรรพบุรุษ โดยเน้นประชากรในภาคเหนือ

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ในเขตพัฒนาโครงการหลวง เพื่อรวบรวมสมุนไพรบนที่สูง
5.2 การศึกษาสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของตะไคร้ต้นที่พบจากแหล่งต่าง ๆ บนที่สูง
5.3 การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจของพืชสมุนไพรท้องถิ่นบนที่สูง
5.4 พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ ดอยภูคา จังหวัดน่าน

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างพืช
6.2 อุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 เป็นวิทยากรในการประชุมและอบรมทางวิชาการ
7.1.1 เป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการเรื่อง "หลักสูตรความหลากหลายทางชีวภาพ" ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 13 - 14 มิถุนายน 2544
7.1.2 เป็นวิทยากรในการอบรมครู สาขาชีววิทยา ณ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 29 - 30 เมษายน 2545
7.1.3 เป็นวิทยากรบรรยายในการอบรม นักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วันที่ 13 พฤษภาคม 2545
7.2 จัดนิทรรศการเรื่อง "พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ บนดอยภูคา จังหวัดน่าน " วันที่ 21 - 23 มิถุนายน 2544
7.3 การนำเสนอผลงานวิจัย
7.3.1 Ethnobotanical Study of Lawa and H'tin in Doi Phuka National Park, Nan Province, Thailand. International Symposium on Biodiversity Management and Sustainable Development in the Lancang-Mekong River Basin. Xishuangbanna, China . December 4 - 7, 2001.
7.3.2 Local Uses of Plant Species on Doi Inthanon . International Congress on Forest and People in Thailand . Kasetsart University . Bangkok .

8. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
8.1 ชูศรี ไตรสนธิ . 2544 . พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน . ชีวปริทรรศน์ 3 (2) : 2 - 5 .
8.2 ชูศรี ไตรสนธิ และ คณะ . 2544 . การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงบ้านอ่างกาน้อย จังหวัดเชียงใหม่ . การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 จังหวัดสงขลา หน้า 444 .
8.3 รัชชุพร สภานุชาต ชูศรี ไตรสนธิ และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . 2544 . พืชเครื่องเทศในสกุล Zanthoxylum บางชนิดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย . การประชุมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 จังหวัดสงขลา หน้า 442 .
8.4 บรรณารักษ์ ปันทะรส ปริทรรศน์ ไตรสนธิ และ ชูศรี ไตรสนธิ . 2544 . การสำรวจและเก็บรวบรวมพืชสมุนไพรบริเวณหมู่บ้านนาขวาง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน . การ ประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 จังหวัดสงขลา หน้า 443.
8.5 อังคณา อินตา และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . 2544 . สัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเจียวกู้หลาน (Gynostemma pentaphyllum Makino) ในเขตภาคเหนือตอนบน. การประชุม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 จังหวัดสงขลา หน้า 445
8.6 Olsen C.S., C. Traynor, C. Trisonthi and I. Burikam . 2001 . The Forest as a Resource for Non-timber Produce. In Forest in Culture - Culture in Forest . Research Centre on Forest and People in Thailand. p. 131 - 145 .