1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย ต่อมไร้ท่อวิทยา
Endocrinology Research Laboratory
ภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย

  ผศ.ดร. ทิพวรรณ สิงห์ไตรภพ
สมาชิก รศ. สมศักดิ์ วนิชาชีวะ
อาจารย์ บุญเกตุ ฟองแก้ว
อาจารย์ ระวิวรรณ ลาชโรจน์
ดร. วีระ วงค์คำ

3. หลักการและเหตุผล
ระบบสรีรวิทยาภายในร่างกาย สามารถทำงานได้โดยอาศัยการประสานงานติดต่อและควบคุมโดยระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หรือฮอร์โมนนั่นเอง นอกจากนั้น การทำงานของฮอร์โมนยังควบคุมไปถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม และการเจริญของสัตว์ ในปัจจุบันงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนในสัตว์จะเป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านปศุสัตว์และการเกษตร ยิ่งไปกว่านั้นผลจากการทดลองในสัตว์จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์อีกด้วย ดังนั้นห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยานี้จึงจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการแขนงนี้ และงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาถึงบทบาทของฮอร์โมนในแมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งการเพาะเลี้ยงเซลล์ นอกจากนั้นการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ห้องปฏิบัติการนี้ เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในการทำวิจัยและค้นคว้าทางสรีรวิทยาของอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการทำวิจัยของบุคลากรในภาควิชาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อผลิตผลงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาที่มีคุณภาพ
2. เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของงานวิจัยทางต่อมไร้ท่อวิทยา
3. เพื่อเป็นหน่วยประสานงานการวิจัยทางสรีรวิทยาของอาจารย์และนักศึกษา
4. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันภายในประเทศและต่างประเทศ
แนวทางการดำเนินการ
1. เยี่ยมชมหน่วยวิจัยหรือห้องปฏิบัติการวิจัย รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ทางต่อมไร้ท่อวิทยา ของมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาห้องวิจัย
2. จัดหาเงินทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยา เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของ นักศึกษาและอาจารย์
3. จัดหาทุนสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมงานวิจัยค้นคว้าทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา
5. จัดหาทุนสำหรับโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อไปหาประสบการณ์การในการทำวิจัยในต่างประเทศ
6. ร่วมดำเนินงานวิจัยกับหน่วยวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านต่อมไร้ท่อวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7. เสนอผลงานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
8. เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารที่เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่คือ
1. บทบาทของฮอร์โมนจูวีไนล์ต่อการเจริญของหนอนเยื่อไผ่ระยะไดอะพอส (Roles of Juvenile hormone on the development of the larval diapause of bamboo borer, Omphisa sp.)
2. กลไกของฮอร์โมนในการควบคุมและสิ้นสุดของหนอนเยื่อไผ่ระยะไดอะพอส (Hormonal mechanisms underlying maintenance and break of larval diapause of bamboo borer, Omphisa fuscidentalis)
3. การทดสอบความเป็นพิษของสารสะกัดจากสมุนไพรบางชนิดที่เป็นสารกำจัดศัตรูพืช(เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง " การพัฒนาประสิทธิภาพสารสะกัดจากสมุนไพรบางชนิดที่เป็นสารกำจัดศัตรูพืช: Improvement of the efficiency of the medicinal plant extracts for pesticide use)

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1. Microscopes
2. Micropipette
3. Pipette aids
4. Microcentrifuge
5. pH meter
6. Incubator
7. Hot plate & stirrer
8. Vortex mixer
9. Deep freezer
10. Balance measurement
11. Water-bath
12. Refrigerator
13. Homogenizer
14. Electrophoresis equipments
15. Spectrophotometer
16. DNA amplifier(PCR)
17 .UV transiluminator
18. Slide warmer plate
19. Eliza plate reader
20. Laminar air flow
21. Horizontal rotator
22. Plasticwares, glasswares & chemicals

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยที่จะขอต่อหรือจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัย
ห้องปฏิบัติการนี้ได้เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยได้รับบริจาคเครื่องมือจากกองทุนฮิตาชิ และกองทุน Association International Education of Japan (AIEJ) ประเทศญี่ปุ่น และเครื่องมือบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการนี้ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก
1. ทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นรายปีๆ ละ ประมาณ 10,000.- บาท
2. ทุนวิจัยฮิตาชิ ( Hitachi Research Grant ) จากบริษัทฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 2 ปี ( พ.ศ. 2538-2539)
ชื่อโครงการวิจัย คือ Study of Morphology, Nutrient Contents and Physiological Characteristics of the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson
3. ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2540-2541)
ชื่อโครงการวิจัยคือ การศึกษาความหลากหลายของหนอนเยื่อไผ่ (Omphisa sp.) โดยใช้ DNA Finger printing technique
4. ทุนวิจัยฮิตาชิ ( Hitachi Research Grant ) จากบริษัทฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 2 ปี ( พ.ศ. 2541-2543)
ชื่อโครงการวิจัยคือ Physiology of the Larval Diapause of the Bamboo Borer, Omphisafuscidentalis Hampson
5. ทุนวิจัยฮิตาชิ ( Hitachi Research Grant ) จากบริษัทฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 2 ปี ( พ.ศ. 2544-2545)
ชื่อโครงการวิจัยคือ Hormonal Mechanisms Underlying Maintenance and Break of Larval Diapause of Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis
6. ทุนพัฒนานักวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2544-2546)
ชื่อโครงการวิจัยคือ Roles of Juvenile Hormone on the Development of the Larval Diapause of Bamboo Borer, Omphisa sp.)
7. ทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นเวลา 2 ปี ( พ.ศ 2543-2545)
ชื่อโครงการวิจัยคือ การทดสอบความเป็นพิษของสารสะกัดจากสมุนไพรบางชนิดที่เป็นสารกำจัดศัตรูพืช

8. ผลงานวิจัย
ก. ผลงานวิจัยที่เสนอในการประชุมระดับชาติ
1 .เรื่อง การศึกษาผลของ juvenile hormone ต่อกระบวนการสิ้นสุดระยะไดอะพอสของหนอนเยื่อไผ่ การประชุม วทท. ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 19-22 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสวนสิริกิตติ์
กรุงเทพ
2. เรื่อง อิทธิพลของสารสะกัดจากเมล็ดหงอนไก่ (Celosia argentea Linn.) ต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูตัวผู้พันธุ์ Wistar (Rattus norvegicus) การประชุม วทท. ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 19-22 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสวนสิริกิตต์ กรุงเทพ
3. เรื่อง Roles of Juvenile Hormone Analogue on the Larval Diapause Termination on Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson (Pyralidae, Lepidoptera) การประชุม 1st HSA Symposium on Science and Technology ระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม พ.ศ 2542 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่.
4. เรื่อง การศึกษาการเจริญขั้นต้นของหนอนเยื่อไผ่ (Study of the Early Development of the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson) การประชุม วทท. ครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 16-21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสวนสิริกิตต์ กรุงเทพ
5. เรื่อง การแยกและการศึกษาคุณสมบัติของโปรตีนสะสม SP1 และ SP2 ในหนอนเยื่อไผ่ (Purification, Characterization and Development Profiles of the Storage Protein SP1 and SP 2 in the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson) การประชุม วทท. ครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 16-21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสวนสิริกิตต์ กรุงเทพ

ข. ผลงานวิจัยที่เสนอในการประชุมระดับนานาชาติ
1. เรื่อง" Physiological of Larva Diapause in the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson" การประชุม The 13th International Congress of Comparative Endocrinology ระหว่างวันที่ 16-21 พฤษภาคม พ.ศ 2540. เมือง Yokohama ประเทศญี่ปุ่น
2. เรื่อง "Larval Diapause of the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson" การประชุม The Annual Conference of Japan Zoological Society ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน พ.ศ 2541 เมือง Hiroshima ประเทศญี่ปุ่น
3. เรื่อง "Break of Larval Diapause by Juvenile Hormone Analoge in the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson (Pyralidae, Lepidoptera)" การประชุม The Seventh International Conference on the Juvenile Hormones ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม -3 กันยายน
พ.ศ 2542 เมือง Jerusalem ประเทศอิสราเอล
4. เรื่อง Termination of Larval Diapause of the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis with Juvenile Hormone Analogue การประชุม The 24th Annual Conference of Japan Zoological Society ระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน พ.ศ 2542 เมือง Yamagata ประเทศญี่ปุ่น.
5. เรื่อง Deepness of Larval Diapause in Omphisa fuscidentalis: Estimation by Responsiveness to Juvenile Hormone and 20-Hydroxyecdysone การประชุม The 25th Annual Conference of Japan Zoological Society ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ 2543 เมือง Noto ประเทศญี่ปุ่น
6. เรื่อง Responsiveness of Prothoracic gland to PTTH in Diapausing larva of the Bamboo Borer, Omphisa sp. การประชุม Invertebrate Neuropeptide Conference 2002 ระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม พ.ศ 2545 โรงแรม Marriot, อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
7. T. Singtripop, M. Manaboon and Sho Sakurai : Hormonal mechanisms underlying diapause break by juvenile hormone in the bamboo borer, Omphisa fuscidentalis., The 72 th Annual Meeting of the Zoological Society of Japan. Fukuoka, Japan, October 6-8, 2001: Zoological Science, vol. 18, p. 21.

ค. งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
1. Singtripop, T., Wanichacheewa, S., Tsuzuki, S and Sakurai, S. 1999. Larval Growth and Diapause in a Tropical Moth, Omphisa fuscidentalis Hampson, Zool. Sci. 16:725-733
2. Singtripop, T., Wanichacheewa, S and Sakurai, S. 2000. Juvenile hormone-mediated termination of larval diapause in the bamboo borer, Omphisa fuscidentalis, Insect Biochemistry and Molecular Biology 30: 847-854
3. Singtripop, T., Tungjitwitayakul, J, and Sakurai, S. 2002. Intensity of Larval Diapause in the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis, Zoological Science 19:5 (Accepted)
4. S. Wanichacheewa, T. Singtripop, S. Sassa, S. Sakamoto, T. Mori . Decrease in the number of sperm associate with decreased blood testosterone levels in male rats treated with extracts from seven plants consumed by natives of northern Thailand. Environmental Toxicology 10 (2001) 1-4 หมายเหตุ : ผลงานที่ตีพิมพ์ตามเอกสารที่แนบมา

ง. บทความงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารและหนังสือพิมพ์
1. เรื่อง " ชีวิตอัศจรรย์ของหนอนรถด่วน " วารสาร Update ปีที่ 15 ฉบับที่ 157 กันยายน 2543 หน้าที่ 62-64
2. เรื่อง " อัศจรรย์หนอนรถด่วน: เมนูเด็ดดึงใจนักท่องเที่ยว " หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 18 กันยายน 2543 หน้าที่ 12
3. เรื่อง " หนอนเยื่อไผ่ผลผลิตจากผีเสื้อชาวบ้านจับขายกิโลเป็นร้อยคนในเมืองเรียก รถด่วนทอด " ข่าวสดเกษตร หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 19 กันยายน 2543 หน้าที่ 29
4. เรื่อง " ชีวิตอัศจรรย์ของหนอนรถด่วน " หนังสือพิมพ์ Excite ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 18 สิงหาคม 2543 หน้าที่ 22
5. เรื่อง " ขึ้นเหนือกินหนอนรถด่วน " ทิศทางเกษตร หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 มกราคม 2544 หน้าที่ 31
6. เรื่อง " จาก 9 เดือนสู่ 3 สัปดาห์ใช้ฮอร์โมนเร่งวงชีวิตหนอนรถด่วน" แมลงเศรษฐกิจ วารสารมติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ปี ที่ 14 ฉบับที่ 272 หน้า 78-80
7. เรื่อง " มหัศจรรย์หนอนรถด่วน จากด่วนธรรมดาเป็นด่วนพิเศษ" หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 กันยายน 2544 หน้าที่ 8
8. เรื่อง "เร่งวงจรชีวิตหนอนรถด่วนหดสั้นเหลือแค่ 2-3 สัปดาห์" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 16
กันยายน 2544 หน้าที่ 16
9. เรื่อง " Creepy-crawly cuisine" Outlook. หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 24 September
2001 หน้าที่ 1