1. ชื่อห้องปฎิบัติงานวิจัย ห้องปฎิบัติการวิจัยน้ำด้านชีวภาพ
Aquatic Biology Research Lab
ภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

1. อาจารย์ฉมาภรณ์ นิวาศะบุตร ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
2. อาจารย์วีระศักดิ์ รุ่งเรืองวงศ์ สมาชิก
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี พีรพรพิศาล สมาชิก
4. อาจารย์ ดร.พรทิพย์ จันทรมงคล สมาชิก
5. รองศาสตราจารย์วันชัย สนธิไชย สมาชิก
6. นายสาคร พรหมขัติแก้ว สมาชิก
7. นายสุทัศน์ สุภาษี สมาชิก


3. หลักการและเหตุผล
ลุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทยทั้งในภาคเหนือและภาคกลางมีต้นกำเนิดมาจากต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน และลุ่มน้ำที่สำคัญอื่นๆ ปัจจุบันความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้ขยายจากตัวเมืองลงสู่ชนบทซึ่งใกล้ต้นน้ำลำธารเข้าทุกที นอกจากนั้นการเกษตรก็มีแนวโน้มของการใช้ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากขึ้น ผลกระทบเหล่านี้มีผลต่อคุณภาพของลุ่มน้ำที่กล่าวมาแล้วโดยตรง การตระหนักและติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พึงให้ความสนใจอย่างจริงจัง
คณะวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานกลางคือ โครงการศูนย์วิจัยน้ำขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการทำงานวิจัยด้านน้ำซึ่งเป็นสหสาขาวิชา ทำงานวิจัยทั้งทางด้านการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องน้ำทางลุ่มน้ำบริเวณภาคเหนือ กับทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ ทำงานวิจัยดังกล่าว เนื่องจากเป็นสหสาขาวิชา ทั้งทางด้านเคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยาที่จะศึกษางานทางด้านน้ำร่วมกัน ดังนั้นแต่ละภาควิชาจึงมีห้องปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ภาควิชานั้นๆ ศึกษาอยู่ ห้องปฏิบัติงานวิจัยน้ำด้านชีวภาพ จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานรองรับงานวิจัยด้านน้ำที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาชีววิทยา

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำด้านชีวภาพ และการตรวจสอบปัจจัยสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยกลุ่มสิ่งมีชีวิตเป้าหมาย 4 กลุ่มคือ แบคทีเรีย แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์หน้าดิน( benthos )

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 การศึกษาคุณภาพน้ำและการกระจายตัวของแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ ในลุ่มน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่สา อ่างเก็บน้ำแม่กวง และแหล่งน้ำต่างๆ
5.2 ศึกษาการกระจายของสาหร่ายพิษ ( Microcystis aerugenosa ) ในแหล่งน้ำต่างๆ บริเวณภาคเหนือ เช่น อ่างเก็บน้ำแม่กวง กว๊านพะเยา
5.3 นิเวศวิทยาและพิษวิทยาของสาหร่าย Microcystis aeruginosa ในแหล่งน้ำภาคเหนือตอนบน
5.4 การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำ ( Aquatic Insects ) โดยเฉพาะแมลงหนอนปลอกน้ำ ( Trichoptera ) เพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ
5.5 ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำวงศ์ Chironomidae กับคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนิ่งและไหล บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน.
5.6 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยใช้แมลงน้ำ บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน.
5.6การศึกษาปริมาณแบคทีเรียในแหล่งน้ำเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ ในแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 เครื่องมือวัดสภาพแวดล้อมในสนาม
- Altimeter
- Oxygen meter
- pH meter
- Conductivity meter
- Total Dissolved Solid ( TDS ) meter
- Light meter
- Water thermometer
- Secchi disk
- Spectrophotometer ชุดสนาม
6.2 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างน้ำและสิ่งมีชีวิตในสนาม
- เรือยาง
- Water sample
- Surber 's sample
- Grab
- Water net
- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ, ขวดหรือกล่องเก็บ specimen ถุงพลาสติก
- Plankton net
6.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
- Refrigerator
- Incubator
- Autoclave
- Balance
- Stereomicroscope
- Compound microscope
- Inverted microscope
- Ion Selective Electrode Analyser, ( ISE )
6.4 วัสดุเครื่องแก้วและสารเคมี
- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ, ขวดเก็บ specimen ถุงพลาสติก
- เครื่องแก้ว - Flask
- Beaker
- Plate
- Measuring Cylinder
- Durham tube
- Sample tube
 etc.

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 โครงการที่ได้รับทุนวิจัยในช่วงปีงบประมาณ 2545 -2548
7.1.1 ชื่อโครงการ " ความหลากหลายของแมลงน้ำจากแหล่งน้ำไหลในภาคเหนือของประเทศไทย เน้นในกลุ่ม Trichoptera. (Biodiversity of lotic aquatic insects of northern Thailand.)"
แหล่งทุน : National Science Foundation (NSF-US)
7.2 ผลงานที่เสนอในการประชุมและตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ในรอบปี 2544-2545 ที่ผ่านมา
7.2.1 กานดา ไชยมาลา, ฉมาภรณ์ นิวาศะบุตร, ยุวดี พีรพรพิศาล และ นริทธิ์ สีตะสุวรรณ. 2544. ความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์และคุณภาพน้ำบางประการในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูฝน ปี 2542. การประชุมวิชาการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เรื่อง การจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ. โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. 6-8 ธันวาคม 2544. หน้า 11.
7.2.2 ฉมาภรณ์ นิวาศะบุตร. 2544. Chaetonotus spp. (Gastrotricha : Chaetonotidae) ที่พบในลำน้ำแม่สา, เชียงใหม่; การรายงานครั้งแรกในประเทศไทย. การประชุมวิชาการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เรื่อง การจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ. โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. 6-8 ธันวาคม 2544. หน้า 12.
7.2.3 ทัตพร คุณประดิษฐ์ และยุวดี พีรพรพิศาล. 2544. ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่และความสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำในลำน้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เรื่อง การจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ. โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. 6-8 ธันวาคม 2544. หน้า 10.
7.2.4 พิษณุ วรรณธง, ทัตพร คุณประดิษฐ์, ยุวดี พีรพรพิศาล, วันชัย สนธิไชย, วันชัย สันติชัย และสาคร พรหมขัติแก้ว. 2544. ความหลากหลาย และนิเวศวิทยาของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินขนาดใหญ่ในบริเวณลุ่มน้ำน่าน. การประชุมวิชาการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เรื่อง การจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ. โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. 6-8 ธันวาคม 2544. หน้า 16.
7.2.5 ยุวดี พีรพรพิศาล ไมตรี สุทธิจิตต์ ประสงค์ คุณานุวัฒนชัยเดช วันชัย สนธิไชย สุวิเวก ลิปกรโกศลและคณะ. 2544. การสำรวจและติดตามตรวจสอบสาหร่ายพิษเพื่อการประมงและการประปา. การประชุมวิชาการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เรื่อง การจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ. โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. 6-8 ธันวาคม 2544. หน้า 74.
7.2.6 นิเวศน์ ศรีล้อม, วันชัย สนธิไชย, ยุวดี พีรพรพิศาล และสาคร พรหมขัติแก้ว. 2544.โคลิฟอร์มแบคทีเรียและสารอาหารในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27. โรงแรม ลี การ์เดนส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหณ่ จังหวัดสงขลา.หน้า 678.
7.2.7 Chaibu, P., Chantaramongkol,P. and Malicky H. 2002. The Caddisflies (Tricoptera) of The River Ping, Northern Thailand, with Particular Reference to Domestic Pollution. (Studies on Trichoptera in Thailand, Nr.31). Proc. 10th Int. Symp. Trichoptera - Nova Suppl. Ent., Keltern. Pp. 331 - 342.
7.2.8 Luadee, P., and Chantaramongkol P. 2002. Comparison of Stenopsyche siamensis Larval Morphology Using Scanning Electron Microscopy as a Measure of Ecotoxicity. Proc. 10th Int. Symp. Trichoptera - Nova Suppl. Ent., Keltern. Pp.435 - 438.
7.2.9 Peerapornpisal Y., Suttajit M., Koonanuwatchidet, P., Sonthichi W., et .al 2001. Survey and Monitoring of Toxic Algae in the Raw Water Resources for Water Supplies in Thailand. Abstract on the 5th International Conference on Toxic Cyanobacteria, 16 - 20 July, 2001, Noosa Queensland, Australia.

8. งานบริการวิชาการ
8.1 บริการตรวจหาค่า coliform bacteria ในน้ำดื่ม
8.2 ตรวจหา Acanthamoeba spp. และ Naegleria spp. ซึ่งเป็นเชื้ออะมีบาที่ก่อให้เกิด โรค ในแหล่งน้ำต่างๆ
8.3 อบรมบุคคลากรจากมหาวิทยาลัยนเรศวรในการตรวจหาอะมีบาในน้ำจืด