1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย ปรสิตวิทยา
(Parasitology)
ภาควิชา ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชโลบล วงศ์สวัสดิ์ ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
2. อาจารย์ฉมาภรณ์ นิวาศะบุตร สมาชิก
3. อาจารย์พีระวุฒิ วงศ์สวัสดิ์ สมาชิก
4. อาจารย์สุภาพ แสนเพชร สมาชิก
5. นายธนู มะระยงค์ สมาชิก
6. นายสบชัย สุวัฒนคุปต์ สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล (ของการจัดตั้งห้องปฏิบัติการนี้)
การศึกษาทางปรสิตวิทยาและโปรโตซัวของห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยาเน้นไปทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของหนอนพยาธิในสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งบนบกและในน้ำ และ ความหลากหลายของโปรโตซัวที่เป็นอิสระ และที่สามารถก่อให้เกิดโรคบางชนิด การระบาดของหนอนพยาธิระยะติดต่อ โครงสร้างของผิวหนังเพื่อดูการนำสารอาหารเข้าออกจากลำตัว เป็นต้น จะมีการศึกษาทั้งในระดับพื้นฐาน ระดับจุลภาค และระดับโมเลกุล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันเพื่อตัดวงชีวิตของพยาธิไม่ให้มีการระบาดจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ได้ ห้องปฏิบัติการวิจัยปรสิตวิทยาได้มีการศึกษาทางด้านปรสิตวิทยาทั้งพื้นฐานและจุลภาค และมีจุดมุ่งหมายที่จะนำไปสู่การศึกษาทางด้านนี้ให้กว้างขวางและมีประโยชน์ต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมในการป้องกันทางสาธารณสุข หากเราไม่ทราบว่าในท้องถิ่นที่เราอยู่มีปรสิตอะไร สภาวะเป็นอย่างไร มีวงชีวิตอย่างไร เมื่อเกิดปัญหาเช่นการระบาดของโรคขึ้นแล้วย่อมเป็นการยากที่จะแก้ปัญหาในขณะนั้นได้ การได้รับรู้ข้อมูลเบื้องต้นและมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องย่อมเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด การวิจัยในบางเรื่องยังไม่มีแหล่งทุนสนับสนุน และบางเรื่องก็ได้รับทุนสนับสนุนไม่เพียงพอ จึงต้องการการสนับสนุนการวิจัยจากทางคณะวิทยาศาสตร์ด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อศึกษาหนอนพยาธิ และ โปรโตซัว ในด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบาดวิทยา วงชีวิต และชีววิทยาบางประการของพยาธิในคนและสัตว์ ทั้งระยะตัวอ่อน อาทิเช่น ระยะเมตาเซอคาเรียของพยาธิใบไม้ Stellantchamus falcatus, Haplorchis taichui, Haplorchis yokogawai และ Centrocestus caninus และระยะตัวเต็มวัย อาทิเช่นพยาธิใบไม้ในกระเพาะผ้าขี้ริ้ววัวในแฟมิลี Paramphistomidae และศึกษากลุ่มโปรโตซัวที่ดำรงชีพอิสระในแหล่งน้ำ และที่สามารถติดถึงคนเช่น Acanthamoeba ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการศึกษาวิจัยในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้านี้

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 โครงสร้างระดับจุลภาคของหนอนพยาธิเพื่อตรวจสอบผลของยาฆ่าพยาธิ ควบคู่กันทั้ง 3 วิธี คือ paraffin - section, SEM, TEM
5.2 ความหลากหลาย ชีววิทยา และ ชีวประวัติของพยาธิใบไม้ที่ติดถึงคนและสัตว์บางชนิดเช่น Stellantchamus falcatus, Haplorchis taichui, H. yokogawai , Centrocestus caninus , พยาธิใบไม้ชนิดที่เป็นปรสิตภายนอกของปลาคือ Transversotrema platilensis
5.3 ความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยาของพยาธิใบไม้ในกระเพาะผ้าขี้ริ้ววัวในแฟมิลี Paramphistomidae
5.4 โปรโตซัวที่เป็นอิสระและที่เป็นปรสิต เช่น Acanthamoeba เป็นต้น

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 กล้อง stereo, compound พร้อมอุปกรณ์วาดรูปและถ่ายรูป
6.2 เครื่องวิเคราะห์คุณภาพน้ำแบบออกภาคสนาม (สภาพไม่ดี)
6.3 อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ และเก็บตัวอย่าง (ยังไม่พอ)
6.4 อุปกรณ์ตัดเนื้อเยื่อและยืดเนื้อเยื่อ
6.5 อุปกรณ์ผ่าตัดและอุปกรณ์เครื่องแก้ว (ยังไม่พอ)
6.6 เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและประมวลผลการวิจัย

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 การตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับสากล (published) จำนวน 1 เรื่อง
7.2 เสนอผลงานในการประชุมวิชาการ The 3rd ASEAN Microscopy Conference and 19th Annual Meeting of Electron Microscopy of Thailand จำนวน 1 เรื่อง
7.3 ได้รับทุนนักศึกษาปริญญาเอกกาญจนาภิเษก 3 ทุน (2543, 2544, 2545) เกี่ยวกับพยาธิ ใบไม้ในวงศ์ Heterophyidae ได้ร่วมวางแผนกับที่ปรึกษาร่วมชาวเกาหลี Prof. Dr. Jong Yil Chai จน proposal ได้ผ่านการพิจารณาจากกรรมการบัณฑิตภาควิชาฯ และกรรมการบัณฑิตคณะฯเรียบร้อยแล้ว

8. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ published 3 เรื่อง เสนอในที่ประชุมวิชาการ 1 เรื่อง
8.1 Kumchoo K., Wongsawad C., Sirikanchana P. and Sripalwit P. 2001 . Light Microscopy and Scanning Electron Microscopy of Camallanus anabantis Pearse, 1933 (Nematoda :
Camallanidae) from Anabas testudineus Bloch, 1792. Songklanakarin J.Sci.Technol., 23(2), 185-191.
8.2 Wongsawad C., Vanittanakom P., Kaweewat K., Niwasabutra S., Kantalue B. and Thijuk N. 2002. The Life History and Tegumental Study on the Intestinal Cestode of Chick,
Amoebotaenia Cohn, 1900 in Chiang Mai. J.E.M.S.T. ,16(1), 212-213.
.