จุดอ่อนจุดแข็งและแนวทางการปรับปรุงพัฒนา

 


จากการตรวจสอบระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน การตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย และการเป็นคณะทดลองฝึกอบรมผู้ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ได้พัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงาน ตลอดจนจัดกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ของคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพฯ แต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบฯ แล้วดำเนินการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา มีรายละเอียดดังนี้

องค์ประกอบคุณภาพ

จุดอ่อนและวิธีแก้ไข

จุดแข็งและวิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

1. ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ และ เป้าหมาย

-

จุดแข็ง

  • มีการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการของคณะฯ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผล อย่างเป็นระบบ
  • หน่วยงานในสำนักงานเลขานุการ มีการกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • นำผลจากการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ มาปรับปรุงการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
  • กระตุ้นให้หน่วยงานระดับภาควิชา กำหนด เป้าหมายและแผนปฏิบัติการ

2. การเรียนการสอน
2.1 อาจารย์


จุดอ่อน

  • ภาระงานของอาจารย์มีทั้งด้านการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งคณะฯ คิดภาระงานสอนของอาจารย์เท่านั้น โดยยังไม่มีระบบการคิดภาระงานด้านอื่นๆ ที่ชัดเจน

วิธีแก้ไข

  • จัดให้มีการคิดภาระงานทุกด้านของอาจารย์ทั้งงานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่ชุมชนและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ ชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งคณะ
  • จัดระบบการประเมินอาจารย์โดยยึดถือกำหนดมาตรฐานภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ


จุดแข็ง

  • มีอาจารย์หลายท่านของคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเด่นในระดับชาติ
  • มีการสนับสนุนให้อาจารย์ไปศึกษาต่อ/ ไปสัมมนา/เสนอผลงานทางวิชาการ/ฝึกอบรมและร่วมวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
  • มีการจัดทำแบบบันทึกภาระงานของอาจารย์แบบออนไลน์

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • หาแหล่งทุนและงบประมาณสนับสนุนการ พัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ให้มากขึ้น
  • เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และกระตุ้นให้คณาจารย์ปรับปรุงข้อมูลภาระงานของอาจารย์ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งการปรับปรุง พัฒนาโปรแกรมให้มีการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้

2.2 บุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน

จุดอ่อน

  • ระบบการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ใช้อยู่ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงของผลงาน ทำให้บางหน่วยงานมีบุคลากรที่ไม่สามารถรับผิดชอบงานที่ควรจะเป็นได้
  • ยังไม่มีการจัดทำแบบบันทึกภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่เป็นระบบ




วิธีแก้ไข

  • แก้ไขและปรับปรุงระบบการประเมินให้มีความชัดเจนเป็นรูปแบบมาตรฐานเป็นรูปธรรมและประเมินตามความเป็นจริง
  • สนับสนุนให้มีการจัดทำแบบบันทึกภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอย่างเป็นระบบ

จุดแข็ง

  • มีการประชุม/สัมมนา ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้าง ความชัดเจนในการสื่อสารระหว่างงานบริการและเจ้าหน้าที่ภาควิชา
  • มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และเริ่มมีการประเมินตนเองของบุคลากรในสำนักงานเลขานุการฯ
  • มีการกำหนดเป้าหมาย และแผนปฏิบัติการของหน่วยงานในสำนักงานเลขานุการฯ
  • บุคลากรส่วนใหญ่ สามารถประสานงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทำให้การดำเนินการของ องค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีแผนพัฒนาบุคลากรทั้งระดับหัวหน้าหน่วย/งาน และระดับปฏิบัติงาน

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ให้มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้ครบ ทุกหน่วยงานทั้งในสำนักงานเลขานุการคณะฯและภาควิชา และสนับสนุนให้มีการนำคู่มือการปฏิบัติงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของหน่วยงาน เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • นำผลจากการประเมินตนเองของบุคลากรมาวางแผน หรือกำหนดโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อพัฒนาทักษะ ความสามารถ ให้ตรงกับความต้องการของบุคลากร และลักษณะงาน ที่ปฏิบัติ
  • ขยายผลให้บุคลากรในระดับภาควิชามีการประเมินตนเอง และมีการกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติงานด้วย
  • กระตุ้นให้เกิดการนำผลที่ได้จากการพัฒนาบุคลากรมาปรับปรุง พัฒนางานที่รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2.3 นักศึกษา

 

จุดอ่อน

  • นักศึกษาและบัณฑิตยังมีจุดอ่อนในทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

วิธีแก้ไข

  • จัดโครงการเพิ่มทักษะความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักศึกษามากขึ้น
  • เพิ่มรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะภาษาต่างประเทศ ให้มีความหลากหลายขึ้น ตลอดจนมีการติดตามผลโดยคณะกรรมการฯ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อ

จุดแข็ง

  • มีการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อเพิ่มแรงจูงใจ ในการดึงดูดนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเข้ามาเรียน
  • มีการประเมินวิธีการคัดเลือก นักศึกษาในโครงการพิเศษต่างๆ
  • มีการติดตามภาวะการหางานทำของบัณฑิตและติดตามคุณภาพบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • นำผลจากการประเมินมาปรับปรุงวิธีการ คัดเลือกนักศึกษา เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เรียนดี เข้ามามากขึ้น
  • พัฒนาวิธีการติดตามคุณภาพบัณฑิต โดยเพิ่มรายละเอียดให้มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น

2.4 ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ

 

จุดอ่อน

  • มีการวางแผนการใช้ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการในระดับภาควิชา แต่ยังไม่ได้มีการวางแผนในภาพรวมของคณะ

วิธีแก้ไข

  • กำหนดให้มีการวางแผนการใช้ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการในภาพรวมของคณะอย่างเป็นระบบ โดยจัดทำเป็นโปรแกรมออนไลน์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างทั่วถึง

-

2.5 อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน

จุดอ่อน

  • ไม่มีการวางแผนการใช้ ระบบดูแล และบำรุงรักษา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการที่ชัดเจน
วิธีแก้ไข
  • กระตุ้นให้เกิดการวางแผนการใช้ ระบบ ดูแล และบำรุงรักษา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการที่ชัดเจน ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อ

จุดแข็ง

  • มีหน่วยพิมพ์เอกสารวิชาการ ให้บริการด้าน สิ่งพิมพ์ทั้งในคณะฯ และนอกคณะฯ
  • มีครุภัณฑ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนที่ ทันสมัย
  • มีการสนับสนุนงบประมาณในการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และการสนับสนุนให้คณาจารย์เพิ่มพูนความรู้ในเกี่ยวกับการใช้ CMS
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการด้าน สิ่งพิมพ์ให้ดียิ่งขึ้น
  • หางบประมาณสนับสนุนการจัดหาครุภัณฑ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ตลอดจนวางแผนการใช้ ระบบดุแล และบำรุงรักษา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการที่ชัดเจน ที่ทันสมัย เพื่อให้การใช้ครุภัณฑ์เกิดประโยชน์สูงสุด
  • สนับสนุนงบประมาณในการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้มีจำนวนมากขึ้น และติดตามประเมินผลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้มากที่สุด
  • สนับสนุนให้เกิดการใช้ Course Management System ในการบริหาร จัดการรายวิชา อย่างแพร่หลาย และจัด อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ CMS เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

2.6 ห้องสมุด

จุดอ่อน

  • ตำรา/วารสารวิชาการระดับสูงในห้องสมุดยังมีไม่เพียงพอ



วิธีแก้ไข

  • จัดหางบประมาณสนับสนุนให้มีตำรา/วารสารวิชาการระดับสูงให้มากยิ่งขึ

จุดแข็ง

  • มีการจัดทำ Website ของห้องสมุด เพื่อให้ข้อมูลการให้บริการของห้องสมุดอย่างเป็นระบบ
  • มีระบบการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ Internet และให้บริการด้านการสืบค้นแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร
  • มีคณะกรรมการบริหารห้องสมุด ทำหน้าที่บริหารจัดการการดำเนินงานด้านต่างๆ ของห้องสมุด
  • มีการประเมินการใช้ห้องสมุด และความ พึงพอใจในการใช้ห้องสมุด ตลอดจนนำผลจากการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาการให้บริการของห้องสมุด

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • พัฒนาระบบสารสนเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • จัดให้มีวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • คณะกรรมการบริหารห้องสมุด ติดตามและประเมินผล และปรับปรุงการดำเนินการของห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง

2.7 หลักสูตร

จุดอ่อน

  • การนำข้อมูลจากประเมินหลักสูตรมาใช้เพื่อปรับปรุงหลักสูตร ยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน

วิธีแก้ไข

  • มีการรวบรวมเอกสารการประเมินหลักสูตรอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงหลักสูตรให้ชัดเจน

จุดแข็ง

  • มีหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาเอกที่มีความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศหลายสาขา ในหลายรูปแบบ เช่น Joint Program, Twinning Program
  • มีการประเมินหลักสูตรจากศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงหลักสูตร
  • มีการระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการบริหารวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร โดยแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น
  • จัดให้มีการประเมินหลักสูตรจากศิษย์เก่าและผู้ใช้บัณฑิตอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มรูปแบบ วิธีการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
  • นำผลจากการระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการบริหารวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา มาปรับปรุงการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

2.8 กระบวนการเรียนการสอน

จุดอ่อน

  • การจัดทำฐานข้อมูลประมวลรายวิชาของกระบวนวิชาทั้งหมดที่เปิดสอนยังไม่เป็นระบบ
  • นักศึกษาเข้ามาใช้ระบบประเมินการสอนแบบออนไลน์ยังมีจำนวนไม่มาก


วิธีแก้ไข

  • จัดทำฐานข้อมูลประมวลรายวิชาของกระบวนวิชาทั้งหมดที่เปิดสอนให้เป็นระบบ และมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และสร้างกลไกเพื่อให้นักศึกษาเข้ามาประเมินการสอนในระบบออนไลน์ให้มากขึ้

จุดแข็ง

  • มีการประเมินการสอนของอาจารย์โดย นักศึกษา ทั้งกระบวนวิชาบรรยายและปฏิบัติการ
  • มีการพัฒนาระบบประเมินการสอนแบบออนไลน์ อย่างต่อเนื่อง
  • มีระบบนักศึกษาช่วยสอน หลายรูปแบบ ทั้งแบบจ้างคุมปฏิบัติการและทบทวนบทเรียนเป็นรายชั่วโมง และแบบให้ทุนเป็นรายภาคการศึกษา
  • มีการสนับสนุนให้มีการนำ E-Learning มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • เน้นให้คณาจารย์เห็นความสำคัญของการประเมินการสอนและให้มีการประเมินการสอนให้ครบทุกกระบวนวิชา
  • ปรับปรุงระบบการรายงานผลการประเมินการสอนแบบออนไลน์ให้รายงานข้อมูลที่เป้นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการส
  • นำผลที่ได้จากการประเมินการสอนของอาจารย์มากำหนดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
  • ติดตามและประเมินผลระบบนักศึกษาช่วยสอน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • กระตุ้นให้เกิดกระบวนวิชาที่ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอนให้เพิ่มมากขึ้น

2.9 การวัดผลและประเมินผลการเรียน

 

จุดอ่อน

  • ยังไม่มีระบบวิเคราะห์ข้อสอบที่ชัดเจน
  • ยังไม่มีการประเมินการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม
  • อาจารย์ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธี วัดผลและประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ข้อสอบ

วิธีแก้ไข

  • จัดให้มีระบบการวิเคราะห์ข้อสอบ
  • ให้มีการประเมินการวัดผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงการวัดผล
  • จัดการอบรม/ สัมมนาอาจารย์เพื่อเพิ่มทักษะเกี่ยวกับวิธีวัดผลและประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ข้อสอบ
  • วางแผนดำเนินการเพื่อให้เกิดการนำผลที่ได้จากการประชุม/สัมมนา

จุดแข็ง

  • มีการกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์และแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า
  • มีการจัดทำแบบรายงานการวัดและประเมินผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงการวัดผลในแต่ละกระบวนวิชา


วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยระบุในแผนการสอนให้ครบทุกวิชา
  • กระตุ้นให้ภาควิชานำผลที่ได้จากแบบรายงานการวัดและประเมินผล มาปรับปรุงการ วัดผลอย่างเป็นรูปธรรม

2.10 บัณฑิต

-

จุดแข็ง

  • มีการติดตามภาวะการหางานทำของบัณฑิตและติดตามคุณภาพบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง
  • มีการจัดตั้งชมรมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นองค์กรประสานงานและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า กับคณะวิทยาศาสตร์

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • พัฒนาวิธีการติดตามคุณภาพบัณฑิต โดยเพิ่มรายละเอียดให้มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น
  • จัดกิจกรรมเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า กับคณะวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงระบบฐานข้อมูลทะเบียนประวัติศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3. การพัฒนาและสนับสนุนนักศึกษา

จุดอ่อน

  • จำนวนทุนการศึกษาที่จัดสรรไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่สมัครขอรับทุน




วิธีแก้ไข
  • มีการปรับเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรทุนให้รัดกุมยิ่งขึ้

จุดแข็ง

  • มีหน่วยกิจการนักศึกษาที่เอาใจใส่ และ รับผิดชอบงานพัฒนานักศึกษา ตลอดจน มีระบบที่ปรึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษาระดับภาควิชา/คณะ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมต่างๆ
  • มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนนักศึกษาโดยการให้ทุนในรูปแบบการช่วยทำงานในภาควิชาและสำนักงานเลขานุการ
  • มีการปรับระบบอาจารย์ที่ปรึกษาโดยการจัดเป็นทีมอาจารย์ที่ปรึกษา
  • มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัด กิจกรรมด้านวิชาการสำหรับนักศึกษา
  • มีการสัมมนากิจกรรมนักศึกษาทุกปี เพื่อ หาแนวทางจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
  • มีการจัดทำ Website ของหน่วยกิจการ นักศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมนักศึกษา แหล่งงาน/ศึกษาต่อ ฯลฯ

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • มีการประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์มาร่วมเป็นที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษามากขึ้น และให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา
  • ติดตามและประเมินผลระบบอาจารย์ที่ปรึกษาโดยการจัดเป็นทีมอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา
  • พิจารณา ติดตามและประเมินผลการจัด กิจกรรมด้านวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาด้านวิชาการของนักศึกษา
  • จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีประโยชน์ เช่น กิจกรรมเสริมด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปรับปรุง Website ของหน่วยกิจการนักศึกษาให้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา และข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

4. การวิจัย
4.1 กลุ่มวิจัย

 


จุดอ่อน

  • ยังไม่มีการนำผลการประเมินมาพัฒนากลุ่มวิจัยอย่างเป็นระบบ

วิธีแก้ไข

  • จัดให้มีระบบการประเมินผลตนเองของกลุ่มวิจัยเพื่อการพัฒนาไปสู่ Centre of Excellent ในอนาคต


จุดแข็ง

  • มีกลุ่มวิจัยที่หลากหลายในทุกสาขาวิชากลุ่มวิจัยบางสาขามีความเข้มแข็งทางวิชาการเป็น ที่ยอมรับในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
  • มีการจัดตั้งกลุ่มวิจัยอย่างเป็นปึกแผ่น

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • สนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกลุ่มวิจัยกับสถาบันที่มีความเป็นเลิศในระดับสาก

4.2 ผู้วิจัย

 

 

 

 

จุดอ่อน

  • ยังไม่มีการนำหลักเกณฑ์การกำหนดภาระงานวิจัยของอาจารย์มาใช้อย่างเป็นทางการ
  • อาจารย์รุ่นใหม่ไม่มีเวลาว่างพอสำหรับงานวิจัยเนื่องจากมีภาระงานสอน / งาน คุมปฏิบัติการมาก
  • ขาดการดำเนินการอย่างเป็นระบบในการประเมินงานวิจัยและการนำผลการประเมินมาพัฒนาทักษะและความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์

วิธีแก้ไข

  • ให้มีการกำหนดและบังคับใช้เกณฑ์ภาระงานวิจัยที่เหมาะสมแก่บุคลากรทุกระดับ
  • ให้มีการจัดสรรผู้ช่วยสอนให้แก่อาจารย์ใหม่ที่รับทุนวิจัย
  • ให้มีการประเมินผลงานวิจัยของอาจารย์อย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงการเผยแพร่ การนำไปใช้ประโยชน์ อย่างเป็นเป็นรูปธรรม

จุดแข็ง

  • มีการดำเนินการวิจัยของอาจารย์อย่างกว้างขวางทุกสาขาวิชา
  • มีการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านวิจัยของอาจารย์โดยการอบรมสัมมนา
  • คณาจารย์นักวิจัยบางสาขาวิชาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านวิจัยจากหน่วยงานระดับประเทศและระดับนานาชาติ
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • สนับสนุนการรวมกลุ่มของนักวิจัยต่างสาขาวิชาแต่มีจุดสนใจร่วม เพื่อดำเนินการวิจัยที่เป็นชุดโครงการใหญ่ในลักษณะพหุสาขาวิชา ภายใต้ทิศทาง/นโยบายด้านวิจัยของชาติ
  • จัดระบบและกลไกในการสืบทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านวิจัยจากบรรดานักวิจัยอาวุโส แก่นักวิจัยรุ่นใหม่

4.3 บุคลากรสนับสนุนการวิจัย

จุดอ่อน

  • ยังไม่มีการนำหลักเกณฑ์การกำหนดภาระงานวิจัยของบุคลากรสนับสนุนการวิจัยมาใช้อย่างเป็นทางการ

วิธีแก้ไข

  • ให้มีการกำหนดและบังคับใช้เกณฑ์ภาระงานวิจัยที่เหมาะสมแก่บุคลากรทุกระดับ

จุดแข็ง

  • มีหน่วยงาน บุคลากร และคณะกรรมการ ดูแลด้านวิจัยอย่างเหมาะสม
  • มีการสนับสนุนงานวิจัยของบุคลากรสนับสนุนการวิจัย
  • มีการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านการวิจัยของบุคลากรสนับสนุนการวิจัย
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • สนับสนุนการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านการวิจัยของบุคลากรสนับสนุนการวิจัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

4.4 ปัจจัยเกื้อหนุนการวิจัย

 

 

-

จุดแข็ง

  • มีการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการวิจัย
  • มีการแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งภายนอก
  • มีห้องปฏิบัติการและครุภัณฑ์วิจัยขั้นสูง
  • มีงบประมาณสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่
  • มีระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนและการบริหารงานวิจัย

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • จัดสรรและบำรุงรักษาปัจจัยเกื้อหนุนการวิจัยให้สอดคล้องต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

4.5 การบริหารและกระบวนการวิจัย

จุดอ่อน

  • การวิจัยเชิงนโยบายยังมีไม่มากนักและ ไม่ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัย



วิธีแก้ไข

  • ส่งเสริมการวิจัยเชิงนโยบายให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาการบริหารงานวิจั

จุดแข็ง

  • มีการกำหนดทิศทางและวางแผนการวิจัย
  • มีการดำเนินงานวิจัยตามทิศทางและแผนที่กำหนด
  • มีการเชื่อมโยงการวิจัยกับการเรียนการสอน
  • มีการประเมินการบริหารงานวิจัย
  • มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนวิจัย

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ให้มีการประเมินผลการบริหารงานวิจัยโดย ผู้ใช้บริการ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนการบริหารงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม

5. การบริการวิชาการแก่ชุมชน
5.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน



จุดอ่อน

  • การกำหนดภาระงานของอาจารย์ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน และ การมอบหมายภาระงานของบุคลากรสนับสนุนการบริการวิชาการยังขาดเอกภาพและความชัดเจน

วิธีแก้ไข

  • ให้มีการกำหนดและบังคับใช้เกณฑ์ภาระงานบริการวิชาการที่เหมาะสมแก่บุคลากรทุกระดับ



จุดแข็ง

  • มีบุคลากร หน่วยงาน และคณะกรรมการ ดูแลด้านบริการวิชาการชุมชนที่เหมาะสม
  • มีการดำเนินการด้านการบริการวิชาการอย่างหลากหลาย ของอาจารย์และบุคลากรสนับสนุนการบริการวิชาการ
  • มีการพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากรสนับสนุนการบริการวิชาการแก่ชุมชน

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ให้มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการวิชาการทุกประเภทอย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้ใช้บริการสามารถให้ข้อร้องเรียน และ/หรือ ข้อเสนอแนะต่าง

5.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการบริการวิชาการแก่ชุมชน

จุดอ่อน

  • ระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการบริการวิชาการแก่ชุมชนในระดับภาควิชา สาขาวิชา และ กลุ่มวิจัยต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

วิธีแก้ไข

  • ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการบริการวิชาการแก่ชุมชนให้กว้างขวางครอบคลุมยิ่งขึ้

จุดแข็ง

  • มีปัจจัยเกื้อหนุนการบริการวิชาการแก่ ชุมชนอย่างครบถ้วน

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ให้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการ และ จัดหา ครุภัณฑ์การบริการวิชาการแก่ชุมชน ในส่วน ที่ยังขาดเพิ่มเติม

5.3 การบริหารและกระบวนการบริการวิชาการแก่ชุมชน

 

 

-

จุดแข็ง

  • มีการบริการวิชาการที่เอื้อประโยชน์ต่อการปฏิรูปการศึกษาและความต้องการของชุมชน

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้ บริการวิชาการแก่ชุมชนเข้าสู่มาตรฐานสากล อาทิ ISO 9001-2000

6.การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จุดอ่อน

  • การร่วมกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากรยังมีจำนวนน้อย

วิธีแก้ไข

  • ปรับปรุงรูปแบบ วิธีการประชาสัมพันธ์ ให้มีผู้ร่วมกิจกรรมมากขึ้น

จุดแข็ง

  • มีคณาจารย์/นักศึกษาทำงานวิจัยเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ธรรมชาติให้ แพร่หลาย และสนับสนุนให้มีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง

7.การบริหารและการจัดการ

จุดอ่อน

  • ผู้บริหารมีภาระงานหลายด้านทั้งด้านงานสอนและอื่น ๆ จึงไม่สามารถบริหารงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุด

วิธีแก้ไข

  • ผู้บริหารที่จะมาดำรงตำแหน่งต้องมี เวลาเพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหาร
  • ควรมีการจัดภาระงานสอนของผู้บริหาร ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดอย่าง จริงจัง เพื่อจะให้มีเวลาในการบริหาร งานอย่างเต็มที

จุดแข็ง

  • ความเป็นบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ ผู้บริหารทำงานด้วยเหตุผลและอย่างมีระบบ
  • มีแผนพัฒนาผู้บริหาร โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา
  • มีโครงการประชุมผู้บริหารสัญจรอย่าง ต่อเนื่อง
  • มีแผนพัฒนาบุคลากรและตั้งงบประมาณ รองรับ

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ส่งเสริม สนับสนุนให้มีโครงการพัฒนา ผู้บริหาร และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

8. การเงินและงบประมาณ

จุดอ่อน

  • ระบบฐานข้อมูลด้านการใช้จ่าย งบประมาณยังไม่สมบูรณ์

วิธีแก้ไข

  • สร้างระบบฐานข้อมูลด้านบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภา

จุดแข็ง

  • มีระบบการจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อให้ภาควิชานำไปบริหารจัดการได้อย่างเป็นอิสระ ได้ เช่น ค่าวัสดุ ค่าเดินทาง ฯลฯ

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ควรมีการติดตามและประเมินผลการบริหารงบประมาณของภาควิชาเพื่อนำมาปรับปรุงการจัดสรรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

9. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

 

จุดอ่อน

  • ผู้ประสานงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะ ยังมีจำนวนไม่เพียงพอกับแผนและกิจกรรมการประกันคุณภาพที่คณะกำหนดเป้าหมายไว้
  • แผนการปฏิบัติการย่อยของกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา บางด้านยังไม่ชัดเจน
  • การวางแนวปฏิบัติ และจัดกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับภาควิชายังไม่ชัดเจน
  • นักศึกษา และบุคลากรยังมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ไม่เพียงพอ




วิธีแก้ไข

  • เพิ่มจำนวนผู้ประสานงานด้านการประกันคุณ ภาพของคณะ โดยพัฒนาบุคลากรในส่วนอื่นๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้ประสานงานให้มากขึ้น
  • จัดทำแผนปฏิบัติการย่อยของกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาให้ครบทุกด้าน
  • สนับสนุน ส่งเสริม และกระตุ้นให้ภาควิชากำหนดแนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้นและมีการติดตาม/ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  • ปรับปรุงรูปแบบ วิธีการ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาไปสู่นักศึกษา และบุคลากรทั้งระดับภาควิชาและสำนักงานเลขานุการ โดยเน้นการจัด กิจกรรมให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น

จุดแข็ง

  • คณะมีการวางระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • มีบุคลากร/หน่วยงาน/คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการฯ รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจน
  • มีการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ แผนปฏิบัติการในการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะ โดยมีผู้บริหารติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
  • มีการตรวจเยี่ยมภาควิชา/สำนักงานเลขานุการ เป็นการภายในเพื่อเป็นการติดตาม/ประเมินผลการจัดกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
  • มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลภายในอย่างเป็นรูปธรรมและมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับทุกภาควิชา
  • มีการประชาสัมพันธ์และรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษา และผลการดำเนินงานทาง Website และจุลสารของคณะฯ
  • มีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพไปสู่ระบบการประเมินคุณภาพ
  • มีการประชุมบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะอย่างต่อเนื่อง

วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง

  • ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการวางระบบและ กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับภาควิชาให้มากยิ่งขึ้น
  • ปรับปรุงแนวปฏิบัติ โดยประเมินผลการดำเนินการ และปรับแผนเป็นระยะๆ
  • กำหนดกิจกรรม มาตรฐานของกิจกรรมและเงื่อนไขของเวลา ให้ครบทุกด้านและมีการประเมินผลแต่ละกิจกรรมให้เป็นไปตาม เงื่อนไขของเวลาที่กำหนด
  • จัดให้มีการตรวจเยี่ยมภาควิชาอย่างต่อเนื่อง
  • ปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัย รายงานผลตลอดจนประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อ