1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ความหลากหลายทางชีวภาพในภาคเหนือของประเทศไทย

Biodiversity in Northern Thailand

ภาควิชา

ชีววิทยา

2. รายชื่อสมาชิก

1. ผศ. ดร.นริทธิ์ สีตะสุวรรณ (Dr. Narit Sitasuwan)

ผู้ประสานงาน

2. ผศ. ปริทรรศน์ ไตรสนธิ (Mr. Paritat Trisonthi)

3. อ. ดร. ชูศรี ไตรสนธิ (Dr. Chusie Trisonthi)

4. ผศ. ปริศนา จริยวิทยาวัฒน์ (Ms. Prisna Chariyavidhayawat)

5. อ. ดร. จิระประภา รังสิยานนท์ (Dr. Jiraprapa Rungsiyanond)

6. อ. สิริวดี ชมเดช (Ms. Siriwadee Chomdej)

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพกำลังเป็นที่สนใจอย่างยิ่งทั่วโลก โดยเฉพาะข้อมูลใหม่ ๆ จากซีกโลกตะวันออก เช่นในประเทศไทย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีการค้นหาวัตถุดิบใหม่ ๆ จากสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติเพื่อนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรมและพัฒนาความเจริญของประเทศ ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม อาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดในท้องถิ่นต่าง ๆ สูญพันธุ์ไป รวมทั้งประเทศไทยที่จัดว่าเป็นแหล่งทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก การสำรวจและการศึกษาความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการวิจัยด้านต่าง ๆ ที่จะดำเนินต่อไป ทั้งเพื่อการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์และเพื่อการอนุรักษ์ตลอดจนเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสมดุลของสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม คณะผู้วิจัยมีความสนใจเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในเขตภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีงานวิจัยที่สนใจรองรับอยู่ส่วนหนึ่ง การที่จัดตั้งเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยจึงเป็นประโยชน์ในการรวบรวมข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพต่อไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อศึกษาและรวบรวมความหลากหลายของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

    1. พืชที่ประชากรในภาคเหนือใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและวิธีการใช้ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
    2. ความหลากหลายของพรรณพืชในเขตการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ในภาคเหนือ
    3. การสำรวจชนิดของนกในภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
    4. การสื่อสารด้วยเสียงของนกชนิดต่าง ๆ
    5. การศึกษาพฤติกรรมและพันธุกรรมของช้าง

6. อุปกรณ์และเครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

    1. อุปกรณ์การเก็บตัวอย่างพืชและสัตว์
    2. กล้องถ่ายภาพพร้อมอุปกรณ์
    3. เครื่องบันทึกเสียง
    4. กล้องส่องทางไกลแบบสองตาและ telescope
    5. กล้องถ่ายวิดีทรรศน์
    6. กล้องจุลทรรศน์

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม 2541 ถึงกันยายน 2542

1. นริทธิ์ สีตะสุวรรณ และ สิริวดี ชมเดช. 2541 และ 2542. การสำรวจชนิดของนกและการพัฒนาศักยภาพของชุมชนตัวอย่างเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การประชุมวิชาการประจำปี โครงการ BRT ครั้งที่ 2 จังหวัดขอนแก่น และครั้งที่ 3 หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ชูศรี ไตรสนธิ วิทยา หงส์เวียงจันทร์ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ ไพบูลย์ สุทธิสุภา ฐานิศวร์ วงศ์ประเสริฐ และสมเจตน์ วิมลเกษม . 2541. ความหลากหลายของพรรณพืชและการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวถิ่นและลัวะ ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน การประชุมวิชาการประจำปี โครงการ BRT ครั้งที่ 2 จังหวัดขอนแก่น

3. ชูศรี ไตรสนธิ ทัศนีเวศ ยะโส พรอนันต์ บุญก่อน จิตติพร ทรรศนียากร และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ. 2541. การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอดำ หมู่บ้านห้วยโป่ง ชาวเขาเผ่าลีซอ หมู่บ้านสามกุลา และชาวเขาเผ่าอาข่า หมู่บ้านดอยสะโงะ จังหวัดเชียงราย. วทท. 24. กรุงเทพฯ

4. ปริทรรศน์ ไตรสนธิ บรรณารักษ์ ปันทะรส อรุโณทัย จำปีทอง และชูศรี ไตรสนธิ. 2541. ความหลากหลายของพรรณพืชบริเวณทางเดินธรรมชาติศึกษา สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่. วทท. 24. กรุงเทพฯ

5. ชูศรี ไตรสนธิและเด่น เครือสาร. 2541. ความหลากหลายของพืชป่าบริเวณห้วยตุ่นและการใช้ประโยชน์ของคนพื้นเมืองในตำบลตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วทท. 24. กรุงเทพฯ

6. ชูศรี ไตรสนธิ. 2542. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านดอยภูคา จังหวัดน่าน. การประชุมวิชาการ โครงการ BRT ครั้งที่ 3 หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

7. ปริทรรศน์ ไตรสนธิ รัชชุพร สภานุชาติ และ ชูศรี ไตรสนธิ. 2542. ความหลากหลายของพรรณพืชบริเวณที่ทำการอุทยานดอยภูคา จังหวัดน่าน. วทท. 25 พิษณุโลก

8. Chusie Trisonthi and Paritat Trisonthi. 1999. An Ethnobatanical Study of the Minorities on Doi Maesalong in Chiangrai Province, Thailand. Flora of Thailand Meeting, Leiden, The Netherland.

9. Chusie Trisonthi and Paritat Trisonthi. 1999. Note on Kadsura ananosma Kerr (Schizandraceae), a collection from Maesalong. Flora of Thailand Meeting, Leiden, The Netherland.

8. การให้บริการวิชาการของห้องปฏิบัติการวิจัยในด้านต่าง ๆ

1. ร่วมมือให้ความรู้เรื่องนกแก่ชมรมดูนก คณะวิทยาศาสตร์และชมรมดูนกล้านนา ในการเป็นวิทยากร และจัดอบรมการดูนก

2. จัดประชุมวิชาการ ความหลากหลายทางชีวภาพและพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน วันที่ 18-19 สิงหาคม 2542 ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน

มีศักยภาพอย่างเพียงพอที่จะร่วมมือวิจัยกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืชและสัตว์