1. ชื่อห้องปฏิบัติการ

เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Postharvest Technology)

ภาควิชา

ชีววิทยา

2. สมาชิก

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร

ผู้ประสานงาน

2) รองศาสตราจารย์ ดร.จินดา ศรศรีวิชัย

3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบเกียรติ แสงนิล

4) นางสาวศิริรัตน์ เตปินยะ

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล :

แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหารของพลโลกในอนาคต โดยการเพิ่มผลผลิตคงจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากพื้นที่ในการผลิตนั้นลดลงและ/หรือถูกแทนที่ด้วยที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ในการผลิตอื่น ๆ เช่น เงินทุน น้ำ และปุ๋ยก็มีจำกัด ดังนั้นจึงต้องหันมาเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเอาผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ผลผลิตมีจำกัดหรือมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และเก็บรักษาผลผลิตเอาไว้ในขณะที่ผลผลิตมีปริมาณมากเกินความต้องการของตลาดหรือพัฒนาให้ผลผลิตอยู่ในรูปที่จูงใจผู้ซื้อและมีมูลค่าต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเพื่อการค้าขาย

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งยังต้องพึ่งพารายได้ของภาคการเกษตรอยู่ ดังนั้นจึงพบปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตเสมอ โดยในบางปีผลผลิตมีมาก แต่ในบางปีผลผลิตมีน้อย ซึ่งมีผลทำให้ราคาและปริมาณของผลผลิตผันแปร นอกจากนี้ผลผลิตบางชนิดที่เน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (postharvest technology) เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น จึงเป็นงานช่วยเหลือแก่เกษตรกร (ผู้ผลิต) ปัจจุบันงานวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้ได้เข้ามามีส่วนพ่อค้าคนกลาง และผู้บริโภคอย่างมากทีเดียว ไม่ว่าจะในแง่การผลิต การตลาด และการใช้ผลผลิตต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ต่างให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพร้อมกับพยายามหาวิธีที่จะลดการสูญเสียผลผลิตและใช้ผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเข้าไปมีบทบาทช่วยลดการสูญเสียของผลผลิตและช่วยในการส่งออกพืชผลสดของไทยไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตามงานทางด้านนี้ยังคงต้องมีการวิจัยและพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ หลายสาขาวิชา และการร่วมมือกับนักวิจัยต่างประเทศเพื่อช่วยกันลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย :

1) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของทีมวิจัยในสายงานทางด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวของพืชและร่วมทำงานวิจัยด้วยกัน

2) เพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

3) เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินอยู่ :

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และสรีรวิทยาระหว่างการเจริญและการพัฒนาของพืชผล เพื่อหาแนวทางในการหาดัชนีการเก็บเกี่ยวพืชผล การยืดอายุการเก็บรักษาและการนำไปใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณภาพของพืชผลควบคู่กันไปด้วย

ศึกษาและวิจัยถึงผลของการปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวที่มีต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของพืชผลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังศึกษาหาวิธีป้องกันและลดการเน่าเสียของพืชผลเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยการใช้สารเคมี สารที่สกัดจากพืชและการกระตุ้นให้พืชผลสามารถสร้างสารต่าง ๆ ขึ้นมาป้องกันตัวเอง

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว :

1) Gas Chromatography (GC) with TCD and FID detectors จำนวน 2 ชุด

2) High Presssure Liquid Chromatograph (HPLC) with Pico-Tag work station

3) Chromameter and data processing system

4) Automatic Tritrator and Conductometer

5) Firmness Testers

6) Refractometers

7) UV-VIS spectrophotometer

8) Automatic Osmometer

9) UV radiometer

10) Rotary evaporator

11) High speed centrifuge

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน :

7.1 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์และที่เสนอในที่ประชุมทั้งในและต่างประเทศทุกปี ปีละ 1-3 เรื่อง

7.1.1 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ (เอกสารตามแนบ)

    1. Uthaibutra, J., Saengnil, K., Sornsrivichai, J., Kumpoun, W. and V. Sardsud. 1998. Effects of fruit postitions and preharvest calcium dips on ‘Nam Doc Mai’ mango fruit quaity. ACIAR Proceedings No.81 : 27-30.
    2. Kumpoun, W., Uthaibutra, J., Wongsheree, T., Sornsrivichai, J., Supyen, D. and V. Sardsud 1998. Effects of carbon dioxide pulsing during the postharvest period on ‘Nam Doc Mai’ mango fruit. ACIAR Proceedings No. 81 : 49-54.
    3. Ratanamarno, S., Uthaibutra. J and K. Saengnil. 1999. Towards some quality attributes of mangosteen (Garchinia mangostana L.) fruit during maturation. Songklanakarin J. Sci. Technol. 21(1) : 9-15.

7.1.2 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมนานาชาติ

    1. Uthaibutra, J., Sornsrivichai, J. and Yantarasri, T. 1999. Controlling of peel and flesh color development of mango by perforation of modified atmosphere package at different temperatures. Sixth International Mango Symposium. April 6-9, 1999. Pattaya, Thailand.

7.2 ความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันวิจัยอื่นๆ

คณาจารย์ในห้องปฏิบัติการ ได้ร่วมเป็นวิทยากร และร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

8. การให้บริการวิชาการ

ให้คำปรึกษาในด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้ เช่น เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ และบริษัทลานนาโปรดักส์ จำกัด (เรื่องการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวของผลกล้วยหอมทอง)

9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน

กำลังเจรจาเพื่อศึกษา วิจัยร่วมกันกับผู้ผลิตมะม่วงพันธุ์มหาชนก รวมทั้งศึกษาหาแนวทางการร่วมมือระหว่างผู้ใช้และผู้วิจัย