1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity Research Laboratory)

ภาควิชา

ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ดาวรุ่ง กังวานพงศ์ (Assoc. Prof. Dr. Daoroong Kangwanpong)

ผู้ประสานงาน

2. รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพย์มณี ภะระตะศิลปิน (Assoc. Prof. Dr. Thipmani Paratasilpin)

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริศนา จริยวิทยาวัฒน์ (Assist. Prof. Prisna Chariyavidhayawat)

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัทยา กาวีวงศ์ (Assist. Prof. Hattaya Kawewong)

5. รองศาสตราจารย์ ดร. อารยา จาติเสถียร (Assoc. Prof. Dr. Araya Jatisatienr)

6. อาจารย์ ดร.ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา (Dr. Srisulak Dheeranupattana)

3. หลักการและเหตุผล

ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา โดยมุ่งเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ เราได้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบถึงการสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดาย การศึกษาสภาพความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้เริ่มมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของชนิดหรือสปีซีส์ของสิ่งมีชีวิตทั้ง สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ หรือความหลากหลายทางนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว แต่ยังขาดการศึกษาด้านความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตในการเตรียมพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัว อันจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ และเผ่าพันธุ์อยู่รอดได้ภายใต้พลังขับดันทางวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงประสงค์ที่จะทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของทั้งสัตว์ พืช และมนุษย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีประชากรหลายเผ่าพันธุ์ เพื่อศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรม ตลอดจนความผันแปรของอัลลีลซึ่งเกิดจากพลังขับดันตามธรรมชาติหลาย ๆ รูปแบบ นอกจากนั้นข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว ยังสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอันจะเป็นประโยชน์ในด้านการแพทย์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม อีกด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของทั้งสัตว์ พืช และมนุษย์ ตลอดจนความผันแปรของอัลลีล อันทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

5. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่

    1. ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของช้างไทยในระดับเซลล์พันธุศาสตร์ ได้แก่ G-banding, Q-banding และระดับอณูพันธุศาสตร์ ได้แก่ การค้นหาตำแหน่งที่มีความแปรผันใน mitochondrial D-loop DNA
    2. ศึกษาพันธุศาสตร์ประชากร เพื่อดูอิทธิพลของการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยต่อความถี่ของอัลลีลบางอัลลีล ในชาวเขา 6 เผ่า จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้แก่ กะเหรี่ยง เย้า อีก้อ มูเซอ ลีซอ และ แม้ว
    3. ศึกษาโครโมโซมของปลาจากลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่
    4. ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชบนที่สูง เช่น ข้าว พืชผักพื้นเมือง และพืชหายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ในเขตป่าภาคเหนือ และพืชสมุนไพรบางชนิด

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว

6.1 ตู้ทำงานปลอดเชื้อและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

6.2 ตู้เลี้ยงเซลล์พร้อมระบบจ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

6.3 กล้องจุลทรรศน์ – ชนิดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดเลนส์ประกอบ ชนิดเลนส์วัตถุอยู่ด้านล่าง

6.4 เครื่องวิเคราะห์ดีเอ็นเอ พร้อมอุปกรณ์ถ่ายภาพ

6.5 เครื่องเพิ่มปริมาณ DNA

6.6 เครื่องปั่นตกตะกอนสาร

6.7 ตู้เย็น และ ตู้แช่แข็ง

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม 2541 ถึงกันยายน 2542

7.1 การสำรวจสถานภาพช้างไทย มีผลงานตีพิมพ์ 2 เรื่อง

7.1.1 Lungka G, Siriaroonrat B, Kangwanpong D, Masuda R. Activities and status of the elephant conservation center of Lampang, Thailand. Jpn J Zoo Wildl Med 1999;4(1):39-43.

7.1.2 Siriaroonrat B, Angkawanish T, Kangwanpong D, Masuda R. A survey report on wild elephants at Huay Poo Ling, Mae Hong Son Province, Thailand with notes on their status. Jpn J Zoo Wildl Med 1999;4(1):65-71.

7.2 ศึกษาโครโมโซม และลำดับเบสของ mitochondrial D-loop DNA ของช้างไทยในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ลำปาง มีผลงานตีพิมพ์ 1 เรื่อง เป็นบทคัดย่อในการสัมมนาวิชาการ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียม manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

7.2.1 Srikummool M, Kangwanpong D, Rangsiyanan J, Parinyapattanaboot T, Pruksakorn S, Mahasavangkun S, Siriaroonrat B. Karyotypes and mitochondrial D-loop DNA sequences in captive Asian elephants (Elephas maximus). Abstract of the 11st National Genetics Congress. Nakornrachasrima, October, 1999.

7.3 ศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรในชาวเขา 6 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง เย้า อีก้อ มูเซอ ลีซอ และแม้ว โดยใช้ Y-microsatellites เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท 2 คน ภายใต้ชื่อเรื่อง

7.3.1 Analysis of Y Haplotypes in Karen and Hmong Based on Microsatellites.

7.3.2 Analysis of Y Haplotypes in Yao and Lahu Based on Microsatellites.

มีความสำเร็จของงานวิจัย 70% คือ ทราบความถี่ของอัลลีลที่ microsatellite 2 ตำแหน่งในทั้ง 6 ประชากร สามารถคำนวณหา genetic distance และหาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรได้

8. การให้บริการวิชาการ

มีโครงการนำร่องชื่อ “การตอบสนองทางเซลล์พันธุศาสตร์ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด chronic myelogenous leukemia ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยา alpha-interferon” เพื่อประเมินว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ในการที่จะเปิดบริการวิเคราะห์โครโมโซมในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดโลหิตขาว ซึ่งเป็นการให้บริการวินิจฉัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่สามารถทำรายได้ให้แก่ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

โครงการดังกล่าวได้รับทุนวิจัยจากเงินดอกผลกองทุนคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2541 ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมรายงานขั้นสุดท้าย

สืบเนื่องจากโครงการนี้ มีผลงานตีพิมพ์ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่อง 1 เรื่อง

8.1 ดาวรุ่ง กังวานพงศ์, วิชัย อติชาตการ, แสงสุรีย์ จูฑา, สุนทรี อภิบาล, วรภา หีบจันทร์ตรี, พัชรินทร์ เอื้อวิวัฒน์สกุล. โครโมโซมผิดปกติและการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชาวไทย. ใน: ไพศาล เหล่าสุวรรณ, บรรณาธิการ. รวมผลงานสัมมนาวิชาการพันธุศาสตร์ ครั้งที่ 11. นครราชสีมา, 2542, (in press).

9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน

มีศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยเพื่อให้บริการการทดสอบ และให้คำปรึกษาด้านเวชพันธุศาสตร์ หากมีโรงพยาบาลเอกชนสนใจ (ถ้าสามารถสร้างความร่วมมือในระดับนโยบายกับคณะแพทยศาสตร์ได้ จะมีศักยภาพสูงขึ้นในการดำเนินงาน)