1. ห้องปฏิบัติการวิจัย : ความหลากหลายของจุลินทรีย์

Microbial Diversity Research Unit

ภาควิชาชีววิทยา

2. สมาชิก

(1) รศ. ดร. สายสมร ลำยอง ผู้ประสานงาน

(2) ผศ. มรกต สุกโชติรัตน์ สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพกำลังเป็นแนวทางการศึกษา ที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศไทย รวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีทรัพยากรทางด้านนี้อยู่และกำลังอยู่ในระหว่างการรอเซ็นสัญญาภาคีชีวภาพ (Agenda 2000) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตพวกพืช สัตว์และจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติในพื้นที่ของแต่ละประเทศ ข้อมูลพื้นฐานนี้โดยเฉพาะทางด้านจุลินทรีย์ยังขาดอยู่มาก ทั้งที่เป็น microscopic และ macroscropic microorganism ซึ่งรวมทั้งชนิดและจำนวน การกระจายในแต่ละถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถที่จะประเมินความสำคัญ บทบาทในธรรมชาติและความเสี่ยงในสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการมีอยู่หรือหายไปของจุลินทรีย์เหล่านี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เรายังมีความจำเป็นที่จะต้องสำรวจและเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ไว้เพื่อนำไปพัฒนาที่จะใช้ประโยชน์ต่อไป

4. วัตุถุประสงค์และเป้าหมาย

1. เพื่อสำรวจความหลากหลายของจุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ เช่นฟังไจ แบคทีเรีย และแอกติโนมายซีส ที่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ทั้งชนิด และปริมาณ

2. เพื่อศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์กลุ่มที่สำคัญ

3.เพื่อศึกษาถีงความเป็นไปได้ที่จะนำจุลินทรีย์ที่ได้เก็บรวบรวมและผ่านการคัดเลือกแล้วไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและทางการเกษตร

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินอยู่

1. การสำรวจการกระจายของจุลินทรีย์ ที่อาศัยในต้นพืช (endophytic microbe)

2. การประเมินการเก็บรักษาจุลินทรีย์ผสมในดิน โดยวิธีการทำแห้ง (liquid dry) และทำแห้งแบบแช่แข็ง (lyophilization) การเก็บแอกติโนมายซีสในกลีเซอรอล เก็บที่ -20 องศาเซลเซียส การเก็บฟังไจในน้ำกลั่นฆ่าเชื้อที่ 4 องศาเซลเซียส

3. การสำรวจหาจุลินทรีย์ที่สร้างเอนไซม์ที่สลายและหรือสังเคราะห์โพลี่แซคคาไรด์บางชนิด

4. การสำรวจแบคทีเรียกลุ่มแลคติคเพื่อการสร้างกรดแลคติคจากแป้งและน้ำตาล

5. การสำรวจและเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ที่สร้าง secondary metabolite เพื่อต่อต้านราหรือแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคพืชและโรคคน

6. อุปกรณ์ เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. หม้อนึ่งอัดไอ

2. ตู้บ่มเชื้อที่ปรับอุณหภูมิได้

3. ตู้ถ่ายเชื้อ

4. เครื่องบ่มเชื้อที่เขย่าได้และปรับอุณหภูมิได้

5. เครื่องเขย่า

6. อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ

7. เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง

8. เครื่องเหวี่ยงที่รอบสูงๆ

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ 2540 (มิย 40- มิย 41)

7.1. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย

1.1 ทุนจากสภาวิจัยแห่งชาติสนับสนุนการทำวิจัยเรื่อง การผลิตกรดแลคติคจากแบคทีเรียแลคติคที่ใช้แป้ง (II) ปีงบประมาณ 2540-41

1.2 ได้รับทุนจาก สภาวิจัยแห่งชาติภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สนับสนุนการเวิจัยเรื่องการพัฒนาวิธีการในการคัดเลือกและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่อาศัยในต้นพืช ซึ่งผลิตกรดอินทรีย์และโอลิโกแซคคาไรด์ ประจำปีงบประมาณ2539-42 เป็นเวลา 3 ปี (พค40-เมษา43).

1.3 ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก รุ่นที่ 1

1. Kevin D Hyde, S.W. Wong, Saisamorn Lumyong and Pipob Lumyong. 1997. Apiosordaria striatispora, an endophyte of Mesua ferrea and Prunus arborea from Thailand. Mycoscience 38: 437-439.

2. สายสมร ลำยอง และ นิตยา บุญทิม 1998. วิธีการคัดเลือกเชื้อแอกติโนมายซีสซึ่งผลิตเอนไซม์ไคติเนสอย่างง่าย J.Sci.Fac.CMU 25(1) 71-77.

7.2 การเสนอผลงานในการประชุม

1. การประชุมนานาชาติ

1.1 Lumyong, S., P. Lumyong, S. Pongsomboon and K. Hyde. 1997. Endophytic fungi from indigenous dicotyledonous plants at Doi Suthep-Pui Area, Thailand. International Conference on Biodiversity and Bioresources-Conservation and Utilization. 23-27 Nov. Phuket, Thailand.

1.2 Sasaki, H., S. Lumyong, M. Suto, A. Yokota and F. Tomita. 1997. Cellulose-producing bacteria isolated from fruits samples in Thailand and Japan. Th 9 th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology and the 2nd JSPS-NRCT-DOST-LIPI-VCC. Seminar. 19-22 Nov. Nakhon Ratchasima, Thailand .

1.3 Lumyong, S., P. Lumyong, P. Niumsup, D. Ponputtachart and F. Tomita. 1997. Endophytic fungi from Thailand; Distribution and screening of organic acid and enzyme production. “---”.

1.4 Charoemark,W., S. Lumyong, H. Sakurai, A. Yokota and F. Tomita. 1997. Carboxymethyl cellulose (CMCase) from a thermophilic filamentous fungus, Thermoascus sp.SL16W. “---------------”.

1.5 Lumyong, S. N. Boontim and T. Kanagawa. 1997. Evaluation of drying method as a simple preservation method for mixed soil bacterial population. “---------------------”.

1.6 Niamsup, P. and S. Lumyong. 1997. Screening of endophytic fungi capable of producing malic acid. ‘--------------------”.

2)การประชุมวทท ครั้งที่ 23 : 20-22 October ที่โรงแรมปางสวนแก้ว เชียงใหม่

2.1 Lumyong, S. and N. Boontim. 1997. Screening and isolation of endophytic bacteria capable producing important secondary matabolite against plant and human pathogen. (B103).

7.3. มีความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์กับบุคคลในสถาบันต่างประเทศ เพิ่มจากรายงานปี 2539 คือ

1. Associate Professor Dr. Kevin Hyde. Department of Ecology and Biodiversity. The University of Hong Kong เป็นที่ปรึกษาร่วมในโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก รุ่นที่ 1 (2541-2545)

2. Prof. Fusao Tomita Lab of Applied Microbiology, faculty of Agriculture, Hokkaido University, Japan ทำวิจัยร่วมในโครงการ Large Scale cooperation JSPS-NRCT (2540-2542) และเป็นที่ปรึกษาร่วมในโครงการปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยฮอกไกโด

3. Prof. Roy Watling, Royal Botanical Garden, Scotland UK (Basidiomycetes)