1. ชื่อหน่วยวิจัย : การประยุกต์ใช้เรดอนในทางธรณีฟิสิกส์

Application of Radon in Geophysics

ภาควิชา ฟิสิกส์

2. สมาชิก

1. ศ.ดร. กิตติชัย วัฒนานิกร

ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2. ผศ. สดชื่น วิบูลยเสข

สมาชิก

3. นายจีรพงษ์ สังข์คุ้ม

สมาชิก

3.หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีการนำเอาการวัดปริมาณก๊าซเรดอนที่ผิวดินมาใช้ในทางธรณีฟิสิกส์อยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการสำรวจแร่ยูเรเนียม การศึกษาสภาวะแวดล้อมอันเป็นผลเนื่องมาจากก๊าซเรดอนในดิน การใช้ก๊าซเรดอนในการทำนายแผ่นดินไหว เป็นต้น ทั้งนี้ก็ด้วยสาเหตุที่ว่า ก๊าซเรดอนเป็นก๊าซกัมมันรังสีที่มีต้นกำเนิดจากธาตุยูเรเนียม ซึ่งเป็นธาตุที่นอกจากจะมีมากในแหล่งยูเรเนียมแล้ว ยังเป็นธาตุที่มีอยู่ในหินตามธรรมชาติ โดยเฉพาะหินแกรนิต เมื่อเรดอนเป็นก๊าซจึงฟุ้งกระจายออกไปจากต้นกำเนิดผ่านตามรอยแตกรอยแยก รูพรุนในหินและดินขึ้นมายังผิวโลก โดยกระบวนการหลักสองอย่างคือ diffusion และ gas flow โดยที่ครึ่งชีวิตของเรดอนค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับก๊าซกัมมันตรังสีอื่น ก๊าซนี้จึงเดินทางได้เป็นระยะทางไกลจากแหล่งกำเนิด การวัดปริมาณเรดอนจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางธรณีฟิสิกส์ ตามที่กล่าวข้างต้นได้

อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องศึกษาอีกมากในการประยุกต์ใช้การวัดก๊าซเรดอนในทางธรณีฟิสิกส์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นในด้านทฤษฏี diffusion และ gas flow ของเรดอนในดิน เทคนิคการตรวจวัดก๊าซเรดอน หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณก๊าซเรดอนกับการเกิดแผ่นดินไหว

4.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

( 1 ) ศึกษาทฤษฏีการเคลื่อนตัวของก๊าซเรดอนใต้ผิวโลก

( 2 ) พัฒนาเทคนิคการวัดก๊าซเรดอนที่ผิวดิน

( 3 ) ประยุกต์ใช้การวัดก๊าซเรดอนในทางธรณีฟิสิกส์ ได้แก่

( 3.1 ) การสำรวจแร่ยูเรเนียม

( 3.2 ) การหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณก๊าซเรดอนกับการเกิดแผ่นดินไหว

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการ

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างก๊าซเรดอน สภาพภูมิอากาศและแผ่นดินไหว โดยเลือกศึกษาที่ บ้านร่มเกล้า หมู่ที่ 10 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

6. วัสดุอุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

( 1 ) วัสดุ / อุปกรณ์ภาคสนาม เช่น Portable Gamma Ray Spectrometer, Cellulose Nitrate Film Detectors,Anti-Thoron Membrane, ท่อฝัง Detector ฯลฯ

( 2 ) วัสดุ / อุปกรณ์ สำหรับกัดขยายรังสีอัลฟาใน Detector เช่น NaOH ,Thermomix 1442D, มอเตอร์กวนสารละลาย ฯลฯ

( 3 ) อุปกรณ์นับรอยรังสีอัลฟา เช่น Jumping Spark Counter , กล้องจุลทรรศน์ , Video Monitor (สองชิ้นหลังอยู่ที่ภาคธรณีวิทยา)

7.ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

(1) Wattananikorn,K.,Kanaree,M.and Wiboolsake, S.,1998, Soil gas radon as an earthquake precursor : some consideration on data improvement, Radiation Measurements, vol.29, p.69-74.

(2) Techakosit, S.and Sungkoom, J., 1997, Uranium Exploration by Measuring Radon at Two Different Depths,Presented at 1 st National Conferance on “ Geophysics in Prospection for Natural Resources, Engineering and Envioronmental Problems” , Hatyai, Thailand 31 March - 1 April 1997.

(3) Wattananikorn, K., Techakosit, S. and Jitaree, N., 1996 , Field and Laboratory Soil Gas Radon Measurement Technique in Uranium Exploration, presented at 30th Internation Geological Congress, Beijing,China, 4 - 14 August 1996.

(4) Wattananikorn, K., Techakosit, S. and Jitaree, N., 1995 ,A Combination of soil gas radon measurements in uranium exploration, Nucl. Geophys., Vol.9, P643-652.

(5) Wattananikorn, K., Ounchanum, P. and Vukjunt, B., 1991 Influential factors on background and threshold alpha track densities in soil-gas radon survey, Journal of Thai Geosciences , Vol.1, P65-71.

(6) Wattananikorn, K., Asnachinda, P. and Lamphunphong, S., 1990 Uranium exploration in the vicinity of abandoned fluorite mines, in northern Thailand, using cellulose nitrate films, Nucl. Geophys., Vol.4 ,P253-258.

(7) Wattananikorn, K. and Sri-Unyu, T., 1990 Seasonal variation of radon in dwellings in an area close to uraniferous fluorite mines, in northern Thailand, Nucl. Geophys., Vol.4,P289-292

(8) Wattananikorn, K. and Sri-Unyu, T., Sornsuntisook,O. And Asnachinda, P., 1988, Preliminary investigation of radon and radon daughter concentrations in dwellings close to certain fluorite mines in northern Thailand, Nucl. Tracks Radiat. Meas, Vol 15, P535-538

8.ผลสัมฤทธิ์ที่จะขอต่อหน่วยวิจัย

ผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Radiation Measurements , 1998, Vol. 29 , P. 69-74.