1. ชื่อหน่วยวิจัย : โปรโตซัว

Protozoology

ภาควิชา ชีววิทยา

2. สมาชิก

2.1 อาจารย์ดร.อำนาจ โรจนไพบูลย์

ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2.2 นายธนู มะระยงค์

สมาชิก

2.3. นายสบชัย สุวัฒนคุปต์

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

โปรโตซัวเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็ก ปรากฏอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำต่างๆ ทั้ง สภาพน้ำนิ่ง และ/หรือสภาพน้ำไหล ชนิดของโปรโตซัวเหมือนกันหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาวะเคมี และ/หรือฟิสิกส์ของแหล่งน้ำนั้น Farmer (1980) กล่าวว่าโปรโตซัวบางชนิดเป็นดัชนีบ่งชี้ในการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำ การศึกษาการกระจายของโปรโตซัว ทำให้ทราบชนิด ปริมาณ การดำรงชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำซึ่งจะเป็นแนวทางการวิจัยที่จะใช้โปรโตซัวเป็นดัชนีบอกคุณภาพน้ำและ/หรือบำบัดน้ำเสีย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

ศึกษาความหลากหลายของชนิด ปริมาณ การดำรงชีวิตของโปรโตซัวจากแหล่งน้ำในเขตภาคเหนือ ตลอดจนความสัมพันธ์ของโปรโตซัวกับคุณภาพน้ำเพื่อหาแนวทางใช้โปรโตซัว เป็นดัชนีชีวภาพ (bioindicator) ของแหล่งน้ำและเผยแพร่ผลงานวิจัยให้เป็นที่รู้จักและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

5.1 ศึกษาความหลากหลายของโปรโตซัวจากบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหยวก จังหวัดเชียงใหม่

5.2 ศึกษาการสำรวจโปรโตซัวบริเวณน้ำตกแม่สา บนดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่

5.3 ศึกษาการสำรวจโปรโตซัวจากบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองฮ่อ จังหวัดเชียงใหม่

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว

6.1 กล้อง stereo และ compound microscope พร้อมอุปกรณ์วาดรูป ถ่ายรูป

6.2 อุปกรณ์เครื่องแก้ว

6.3 เครื่องมือวิเคราะห์น้ำแบบตั้งโต๊ะและแบบกระเป๋าหิ้ว

6.4 อุปกรณ์เก็บตัวอย่างน้ำ

7.ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 Rojanapaibul, A.,C. Wongsawad and T. Marayong.1997. Biodiversity of Protozoa in Phumipol reseroir 23rd Con. of Sci. and Tech. of Thailand. 802 – 803.

7.2 Marayong, T., A. Rojanapaibul and S. suwattanakupt.1997. Survey protozoa in some areas of Mae – Ping rever of Amphur Pa –Sang Lumphun. 23rd Con. of Sci. and Tech. of Thailand. 804 – 805.

7.3 Suwattanakupt, S.,T. Marayong, A. Rojanapaibul and P. Tasanasri. 1997. Surveyof protozoa in some areas of Li rever from Amphur Li Lumphun. 23rd Con. of Sci. and Tech. of Thailand. 800 – 801