1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย : ต่อมไร้ท่อวิทยา

Endocrinology Research Laboratory

ภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. สมาชิก

1. ผศ.ดร.ทิพวรรณ สิงห์ไตรภพ

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

2. อาจารย์บุญเกตุ ฟองแก้ว

สมาชิก

3. อาจารย์ระวิวรรณ ลาชโรจน์

สมาชิก

4. รศ.สมศักดิ์ วนิชาชีวะ

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ระบบสรีรวิทยาภายในร่างกาย สามารถทำงานได้โดยอาศัยการประสานงานติดต่อและควบคุมโดยระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หรือฮอร์โมนนั่นเอง นอกจากนั้น การทำงานของฮอร์โมนยังควบคุมไปถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม และการเจริญของสัตว์ ในปัจจุบันงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนในสัตว์จะเป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านปศุสัตว์และการเกษตร ยิ่งไปกว่านั้นผลจากการทดลองในสัตว์จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์อีกด้วย ดังนั้นห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาและชีววิทยาของพฤติกรรมนี้จึงจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการแขนงนี้ และงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ห้องปฏิบัติการนี้ เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในการทำวิจัยและค้นคว้าทางสรีรวิทยาของอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา และเพื่อเป็นการกระตุ้นและพัฒนาการทำวิจัยของบุคลากรในภาควิชา ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. เพื่อผลิตผลงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาที่มีคุณภาพ

2. เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของงานวิจัยทางต่อมไร้ท่อวิทยา

3. เพื่อเป็นหน่วยประสานงานการวิจัยทางสรีรวิทยาของอาจารย์และนักศึกษา

4. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันภายในประเทศและต่างประเทศ

แนวทางการดำเนินการ

1. ออกสำรวจและเยี่ยมชมหน่วยวิจัยหรือห้องปฏิบัติการวิจัย รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ทางต่อม ไร้ท่อวิทยา ของมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาห้องวิจัย

2. จัดหาเงินทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับงานวิจัยทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยา เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของ นักศึกษาและอาจารย์

3. จัดหาทุนสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

4. ส่งเสริมงานวิจัยค้นคว้าทางด้านต่อมไร้ท่อวิทยาของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา

5. ร่วมดำเนินงานวิจัยกับหน่วยวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสรีรวิทยาในประเทศและต่างประเทศ

6. เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่คือ

1. การศึกษาความหลากหลายของหนอนเยื่อไผ่ (Omphisa sp.) โดยใช้ DNA Finger printing technique

(Study of the Variation of the Bamboo Borer by Finger Printing Technique)

2. การศึกษาผลของ juvenile hormone ต่อกระบวนการสิ้นสุดระยะไดอะพอสของหนอนเยื่อไผ่ (Effects of Juvenile Hormone on the Termination of the Bamboo Borer Larval Diapause, Omphisa sp.)

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. Microscope

2. Micropipette

3. Pipette aids

4. Centrifuge

5. pH meter

6. Incubator

7. Hot plate & stirrer

8. Vortex mixer

9. Deep freezer

10. Balance measurement

11. Water-bath

12. Refrigerator

13. Homogenizer

14. Electrophoresis equipments

15. Glasswares

16. Plasticwares & Chemicals

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

ห้องปฏิบัติการนี้ได้เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยได้รับบริจาคเครื่องมือจากกองทุนฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น และเครื่องมือบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาชีวิทยา จนถึงปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก

1. ทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นรายปีๆ ละ ประมาณ 10,000-15,000 บาท

2. ทุนวิจัยฮิตาชิ ( Hitachi Research Grant ) จากบริษัทฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 2 ปี ( พ.ศ. 2538-2539)

ชื่อโครงการวิจัย คือ ( Study of Morphology, Nutrient Contents and Physiological Characteristics of the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson) ซึ่งได้ทําเสร็จเรียบร้อยแล้ว และกําลังจะตีพิมพ์

3. ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2540-2541)

ชื่อโครงการวิจัยคือ การศึกษาความหลากหลายของหนอนเยื่อไผ่ (Omphisa sp.) โดยใช้ DNA Finger printing technique

4.ทุนวิจัยฮิตาชิ ( Hitachi Research Grant ) จากบริษัทฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 3 ปี ( พ.ศ. 2541-2543) กําลังรอการพิจาราณา

ชื่อโครงการวิจัยคือ Physiology of the Larval Diapause of the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson

8. ผลสัมฤทธิ์ที่จะขอต่อหรือจัดตั้งห้องปฎิบัติการวิจัย

ผลงานวิจัยที่เสนอในการประชุมระดับชาติ

1. การประชุม วทท. ครั้งที่ 23 วันที่ 19-22 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ที่ โรงแรม โลตัส ปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่

หัวข้อ 1.1 การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหนอนเยื่อไผ่ (Omphisa fuscidentalis Hampson) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอและกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนแบบส่องกราด ( SEM)

หัวข้อ 1.2 ผลของเหล้าดองสมุนไพรและน้ำต้มสมุนไพรที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของหนูเพผู้

2. การประชุม วทท. ครั้งที่ 24 วันที่ 19-22 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสวนสิริกิต

หัวข้อ 1.1 การศึกษาผลของ juvenile hormone ต่อกระบวนการสิ้นสุดระยะไดอะพอสของหนอนเยื่อไผ่

หัวข้อ 1.2 อิทธิพลของสารสะกัดจากเมล็ดหงอนไก่ (Celosia argentea Linn.) ต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูตัวผู้พันธุ์ Wistar (Rattus norvegicus)

ผลงานวิจัยที่เสนอในการประชุมระดับนานาชาติ

1. การประชุม The 13th International Congress of Comparative Endocrinology, Japan, (November 16-21, 1997)

หัวข้อ Physiological of Lavar Diapause in the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson

2. การประชุม The AnualConference of Japan Zoological Society, Hiroshima, Japan (September 26-28, 1998)

หัวข้อ Larval Diapause of the Bamboo Borer, Omphisa fuscidentalis Hampson