ความร่วมมือกับนานาชาติ

กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ

ความร่วมมือในโครงการนิวตรอนพลังงานสูง

โครงการวิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ได้มีความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศหลายสถาบัน ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา(ตุลาคม 2540 – กันยายน 2541) โครงการต่างๆ ที่ได้ริเริ่มดำเนินการในระยะต้นของทศวรรษนี้ ได้เริ่มปรากฎผลลัพธ์ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งในด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัยและพัฒนา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้.-

1. ฟิสิกส์นิวตรอน

1.1 ระบบ housing ของเครื่องกำเนิดนิวตรอนความถี่สูง ได้รับการปรับปรุงและสร้างใหม่ในลักษณะที่มีความถาวรมากขึ้นดังแสดงในรูปข้างล่างนี้ ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในตัวห้องได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้มาก อีกทั้งการทำงานของเครื่องกำเนิดนิวตรอนก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

การพัฒนาเทคนิคการตรวจวัดวัตถุระเบิด โดยใช้วิธี nanosecond pulse time-of-flight prompt gamma ray analysis ให้ผลเบื้องต้นเป็นที่น่าพึงพอใจ การทดลองโดยใช้ตัวอย่างดินระเบิดชนิด C-3 สามารถมองเห็นสัญญาณจากธาตุหลักที่เป็นองค์ประกอบของดินระเบิดอย่างชัดเจน การวิจัยยังดำเนินต่อไปเพื่อให้ได้ค่า sentivity ดีขึ้น

1.2 เทคนิคการวัดค่าสเปคตรัมของนิวตรอนที่ปลดออกมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติ่ม เพื่อลดค่า systematic uncertainty ที่เกิดขึ้นจากขนาดของธาตุตัวอย่างที่ใช้ศึกษาและผลที่เกิดจากการกระเจิงภายในระบบ collimator โปรแกรมคำนวณ Monte Carlo Transport of Neutron and Photon (MCNP) ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย Los Alamos สหรัฐอเมริกา ได้นำมาใช้ในการคำนวณและจำลองการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์

งานทางด้านฟิสิกส์นิวตรอนทั้งทางด้านพื้นฐานและการประยุกต์ ได้ดำเนินร่วมกับ มหาวิทยาลัย Wuppertal ประเทศเยอรมันนี และ มหาวิทยาลัย Uppsala มีนักศึกษาปริญญาเอกในโครงการ 2 คน และ นักศึกษาปริญญาโท 4 คน

2. ไอออน-พลาสมา

2.1 เครื่องฝังไอออน(ion implanter) ขนาด 150 kV ทั้งเครื่องที่ใช้วิจัยและเครื่องสำหรับงานบริการได้รับการติดตั้งใช้งานในอาคารเทคโนโลยีไอออนบีมเรียบร้อยแล้วดังรูป

ภาคไฟฟ้าแรงสูงของเครื่องฝังไอออนทั้งสองเครื่อง ติดตั้งไว้ภายในห้องควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ ทำให้สามารถเดินเครื่องได้สูงกว่า 100,000 โวลต์โดยไม่เกิดการ spark ปัจจุบันเครื่องทั้งสองพร้อมที่จะเปิดให้ใช้งานทั้งด้านวิจัยและบริการตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นไป

2.2 การใช้ไอออนบีมชนิดต่างๆ (B, C, N, O, Ar) ในช่วงเวลาที่ผ่านมาทั้งการฝังไอออนเดี่ยว, การฝังไอออนเชิงซ้อนและการฝังไอออนหมุนเวียน กับวัสดุชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็น metal, insulator และ plant cell ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเริ่มปรากฏผลออกมาให้เห็น เช่น การฝัง tool steel แบบหมุนเวียนด้วยไอออน N+B ทำให้ผิวของเหล็กกล้าแข็งขึ้นกว่าเดิม 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับการฝังด้วยไอออนไนโตรเจนแต่เพียงอย่างเดียว ผลงานนี้ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมนานาชาติ เรื่อง Ion Beam Modification of Materials ที่กรุง Amsterdam เมื่อเดือนกันยายน 2541 ว่าเป็นผลงานที่ original มาก และได้รับให้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Nuclear Instrument and Method Series B การฝังไอออนลงบนเซลล์พืชและสัตว์ ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการวิจัยใหม่ในการใช้ไอออนบีมกับเทคโนโลยีชีวภาพ งานทางด้าน focussed ion beam ก็ได้เริ่มขึ้นโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

โปรแกรมการวิจัยทางด้านไอออนพลาสมาได้ทำร่วมกับนักวิจัยจาก Lawrence Berkeley National Laboratory, Australian Nuclear Science and Technology Organization, Tsinghua University ปัจจุบันมีนักศึกษาในโปรแกรมซึ่งประกอบด้วย นักศึกษาปริญญาเอก 2 คน ปริญญาโท 3 คน

3. Coherent Light Source

โครงการพัฒนา Far Infrared Coherent Light Source ความเข้มสูงได้เริ่มเปิดดำเนินการอย่างจริงจังแล้ว โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Stanford เป็นที่คาดว่าโครงการนี้จะมีความร่วมมือกับสถาบันในประเทศสวีเดน บราซิล และไต้หวัน ปัจจุบันมีนักศึกษาในโครงการดังนี้ คือ ปริญญาเอก 1 คน ปริญญาโท 2 คน

4. ในห้วงปีที่ผ่านมาศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารนานาชาติ ดังนี้คือ

5. บุคลากรของศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ได้ไปเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมนานาชาติ ดังนี้คือ

6. รางวัลหน่วยงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2540 จากมูลนิธิโทเรเพื่องานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้คือ