ผลการดำเนินงานของภาควิชา ปี 2547
ภาควิชาฟิสิกส์

   


ประมวลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ โดยสรุป

ด้านการผลิตบัณฑิต
จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในช่วงปีงบประมาณ 2547 จำนวน 111 คน แยกได้เป็น
ระดับปริญญาตรี
ฟิสิกส์ จำนวน 28 คน
วัสดุศาสตร์ จำนวน 39 คน
ระดับปริญญาโท
ฟิสิกส์ จำนวน 4 คน
การสอนฟิสิกส์ จำนวน 2 คน
ฟิสิกส์ประยุกต์ จำนวน 10 คน
ธรณีฟิสิกส์ประยุกต์ จำนวน 2 คน
วัสดุศาสตร์ จำนวน 20 คน
ระดับปริญญาเอก
ฟิสิกส์ จำนวน 2 คน
วัสดุศาสตร์ จำนวน 4 คน

ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
- การพานักศึกษาระดับปี 3-4 ไปดูงานในโรงงานอุตสาหกรรม
- การจัดสัมมนาระดมความคิดเพื่อพัฒนาปฏิบัติการพื้นฐาน
- การจัดสัมมนาเพื่อร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน
- งานฟิสิกส์สัมพันธ์
- การจัดปฐมนิเทศนักศึกษาวิชาเอก

ด้านการวิจัย
ภาควิชามีนโยบายเพื่อตอบสนองต่อการมุ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นให้นำไปสู่การวิจัยเชิงบูรณาการ อันจะเป็นการพัฒนางานด้านการวิจัยของภาควิชา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและทิศทางของมหาวิทยาลัย ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ และเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
ภาควิชามีโครงการได้รับทุนสนับสนุน ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
จำนวน 23 โครงการ เป็นเงินจำนวน 28,102,397 บาท และมีกลุ่มวิจัย และห้องปฏิบัติการวิจัยที่จดทะเบียน กับคณะวิทยาศาสตร์ และ สถาบันวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ จำนวน 14 หน่วย
คณาจารย์ของภาควิชาได้รางวัลต่าง ๆ ดังนี้
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพล อนันตา ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ รุ่นใหม่ ประจำปี 2547
2. ศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง และ คณะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม ประจำปี 2547 จากสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จาก ผลงานวิจัยเรื่อง "การถ่ายฝากดีเอ็นเอ เข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย โดยการชักนำด้วย ลำไอออน" (Ion Beam-Induced Droxyribose Nucleic Acid Transfer)
และ ภาควิชายังได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ เข้าเยี่ยมชมงานวิจัยที่อาคารวิจัยนิวตรอนพลังงานสูง และ อาคารไอออนบีมเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2547

ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน
ภาควิชาได้ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนและบริการทางวิชาการต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

        • การอบรมครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อน ในหลักสูตร 2 และ 3
        • การอบรมนักเรียนในค่ายโอลิมปิกฟิสิกส์ ค่าย 1 และ 2
        • การอบรมนักเรียนในค่ายโอลิมปิกดาราศาสตร์ และเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 1
        • การจัดฝึกอบรมเรื่อง
          - เครื่องตรวจจับก๊าซพิษที่ทำด้วยสารแบบฟิล์มบางและสารขนาดนาโนที่ไม่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม
          - ซรามิกส์ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
          - การเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมเพื่อสร้างภาชนะสุญญากาศ